ไขปริศนาแห่งลูกปัดโบราณ กับ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

พุธ ๐๗ มกราคม ๒๐๐๙ ๑๗:๑๑
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) สังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะหน่วยงานที่มุ่งให้ความสำคัญกับแหล่งเรียนรู้ภายใต้รูปแบบของพิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัยกับแนวคิด “Discovery Museum” ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของพิพิธภัณฑ์ที่จุดประกายความอยากรู้ อยากเห็น หาความรู้ และเน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างนิทรรศการและผู้ชม ภายใต้แนวคิดนำสมัยผสมผสานเทคโนโลยีล้ำยุค ตอบสนองยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างปรากฏการณ์ใหม่อีกครั้งด้วยการเปิดตัวนิทรรศการหมุนเวียน เรื่อง “ปริศนาแห่งลูกปัด” ที่พร้อมเชิญให้มาร่วมค้นหาความเร้นลับของดินแดนสุวรรณภูมิในแง่มุมใหม่ๆ ผ่านลูกปัดโบราณหายากนับพัน รวบรวมจัดแสดงเป็นครั้งแรกเพียง 6 เดือนเท่านั้น

พลเรือเอกฐนิธ กิตติอำพน ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) เปิดเผยว่า สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ พยายามที่จะสรรค์สร้างสิ่งใหม่ๆ รวมทั้งความรู้ใหม่ๆสู่เยาวชน และบุคคลทั่วไปให้ได้เข้าใจถึงประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของประเทศไทยที่มีมานานเกือบพันปี โดยผ่านสื่อต่างๆที่สามารถสร้างเสริมประสบการณ์เชิงค้นหาให้แก่ผู้ที่สนใจ ดังนั้น ทางสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ จึงคิดหาเรื่องราวต่างๆที่เป็นผลสืบเนื่องจากนิทรรศการถาวรเรื่อง “เรียงความประเทศไทย” ที่มีขึ้นอยู่แล้ว และด้วยเหตุนี้เองจึงเกิด โครงการนิทรรศการหมุนเวียน เรื่อง “ปริศนาแห่งลูกปัด” โดยการบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แห่งโลกการค้าเชิงลึกผ่านลูกปัด

พล.ร.อ. ฐนิธ กล่าวต่อว่า “การค้นพบลูกปัดตามแหล่งโบราณคดี คนทั่วไปอาจมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ความจริงแล้ว นี่คือหลักฐานสำคัญ ที่บอกเล่าเรื่องราวเส้นทางการค้าโบราณ ทำให้เรารู้ว่า ในอดีตนั้นเส้นทางการค้าโบราณ เชื่อมโยงกันมานับตั้งแต่โรมัน อันเดีย เวียดนาม และจีน เช่นการค้นพบลูกปัดหน้าผู้หญิงโรมัน อาจไม่ได้หมายความว่าคนโรมันมาที่นี่ แต่เป็นเพราะในยุคโบราณนั้น อินเดียใต้เป็นเมืองท่าการค้าของโรมัน และคนอินเดียที่มักเดินทางมาเยือนภาคใต้ อาจเป็นผู้นำลูกปัดรูปผู้หญิงโรมันมาก็ได้”

“ลูกปัดมีขึ้นในทุกๆทวีป ไม่ว่าจะเป็นยุโรป แอฟริกา หรือเอเชียตั้งแต่สมัยโบราณ โดยลูกปัดในสมัยนั้นทำจากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ซึ่งแตกต่างกันออกไป สำหรับในประเทศไทยลูกปัดเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงอารยธรรมโบราณตั้งแต่สมัยทวารวดี และสุโขทัย ซึ่งถือได้ว่าลูกปัดเป็นหนึ่งในสินค้าสำคัญที่เชื่อมโยงยุคสมัย และเปิดมุมมองมูลค่าด้านการสร้างสรรค์ศิลปะที่ส่งผลถึงโลกในยุคปัจจุบันได้ รวมทั้งเป็นการขยายขอบเขต การจัดการองค์ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับลูกปัด ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การผลิต การค้า และผู้คน สำหรับเผยแพร่แก่สาธารณชนวงกว้างต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มมุมมองและสร้างความเข้าใจร่วมกันอย่างน่าสนใจและสร้างสรรค์ในเรื่องของลูกปัด ผลิตภัณฑ์ที่อยู่เคียงข้างกับโลกมาช้านาน แต่อาจไม่เคยได้รับความสนใจมาก่อน ทั้งนี้โครงการนิทรรศการหมุนเวียนเรื่อง “ปริศนาแห่งลูกปัด” ยังจะช่วยกระตุ้นให้เกิดความตระหนักถึงคุณค่ามรดกของประเทศและมนุษยชาติ ที่จะสามารถนำความรอบรู้ของผู้คนในอดีตมาปรับใช้ขยายผลสู่การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคมแก่สาธารณชนทั่วไปอีกด้วย

นิทรรศการหมุนเวียน เรื่อง “ปริศนาแห่งลูกปัด” เข้าชมฟรี และจัดแสดงอยู่ที่ อาคารนิทรรศการหมุนเวียน สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2551 - 28 มิถุนายน 2552 เวลา 10.00 — 18.00 น. ทุกวันอังคาร-อาทิตย์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-225-2777 หรือ www.ndmi.or.th

ที่ใดที่มี"ลูกปัด"…ที่นั่นย่อมมีมนุษย์ และที่แห่งใดมีมนุษย์.... ที่แห่งนั้นย่อมมีวัฒนธรรม....ร่วมอยู่ด้วยเสมอ

จี คอมมิวนิเคชั่น

เบอร์โทรศัพท์ : 0-2667-0174-6

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ