หลังจากที่งานศิลปะสิ่งทอชิ้นนี้ให้สูญหายไปจากประเทศพม่าในปี 1970 ในโอกาสนี้ คุณไอแซคส์จะอธิบายให้ความรู้ และถ่ายทอดความชื่นชมที่มีต่อเทคนิคการทอผืนเทปจารึกข้อความด้วยการทอแบบ tablet-weaving เพื่อการมัดรวมกันเป็นมัด ที่เรียกว่า sazigyo ทั้งนี้คุณไอแซคส์จึงขอเชิญชวนผู้เข้าร่วมฟังบรรยายนำผลงานที่สะสมไว้เพื่อมาแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้
ตั้งแต่ปี 2003 คุณ ไอแซคส์ได้ติดตามชม sazigyo ทั้งในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ และจากชุดสะสมส่วนตัวมาตลอด รวมถึงได้ถ่ายภาพ หรือสแกนภาพของสิ่งทออีกด้วย คุณไอแซคส์ยังได้ถ่ายทอดอักษรและพยายามแปลความหมายของข้อความเหล่านี้ โดยที่ได้ทำความเข้าใจและเห็นคุณค่าความสวยงามของสิ่งทอชนิดนี้มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ คุณไอแซคส์มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสถ่ายทอดความเข้าใจนี้ให้กับผู้เข้าร่วมฟัง และสมาชิกของสมาคมผ้าไทย
คุณไอแซคส์มีถื่นฐานมาจากเมือง Glasgow สหราชอาณาจักร และได้จบการศึกษาจาก Gonville & Caius College Cambridge (Modern Languages and Archaeology & Anthropology); London University (PGCE); และ Essex University (MA Applied Linguistics) นอกจากนี้ ในช่วงปี 60’s และ 70’s เขาได้เป็นนักวิชาการอยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันออก โดยเก็บสะสมแมลงและเปลือกหอยหายากด้วยความรู้ลึกซึ้งแต่ชุดสะสมนั้นๆ
กิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้น ในวันเสาร์ ที่ 17 มกราคม 2552 เวลา 10.30 น. ณ ห้องบรรยาย ชั้น 4 สยาม สมาคม เลขที่ 131 ถ.สุขุมวิท 21 (ซอย อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 สามารถเดินทางด้วยรถไฟฟ้า บีทีเอส สู่สถานีอโศก หรือรถไฟฟ้าใต้ดินสู่สถานีสุขุมวิท และทุกท่านที่เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย สามารถร่วมบริจาคสมทบทุนสมาคมผ้าไทยได้ สมาชิกสมาคมผ้าไทย และสยามสมาคม มูลค่า 100 บาท และสำหรับบุคคลภายนอก 200 บาท สำรองที่นั่งและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล์ [email protected]
สมาคมผ้าไทย เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร อุทิศการทำงานเพื่อการศึกษาและอนุรักษ์คุณค่าของผ้าทอ โดยเน้นการศึกษาผ้าทอของประเทศไทยและประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ทางสมาคมมีความยินดีเปิดรับผู้ที่มีความสนใจร่วมเป็นสมาชิก โดยสามารถเยี่ยมชมรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมาคมผ้าไทยได้ที่เว็บไซต์www.thaitextilesociety.org
รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อวิมลพรรณ วิบูลย์มาบริษัท ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัดโทรศัพท์ 02 260-5820 ต่อ 124 โทรสาร 02 260-5847/8 อีเมล์ [email protected]