รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เร่งทุกฝ่ายร่วมดูแลสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว 4.5 ล้านคน

จันทร์ ๑๙ มกราคม ๒๐๐๙ ๐๙:๓๙
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เร่งทุกฝ่ายร่วมดูแลสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว 4.5 ล้านคน เพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการ ลดการรั่วไหล นำงบประมาณที่ประหยัดได้เพิ่มสิทธิรักษาพยาบาลช่วยข้าราชการและครอบครัวให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดการประชุมชี้แจงผู้บริหารโรงพยาบาลของรัฐทั้งประเทศ เน้นนโยบายการเบิกจ่ายค่ารักษาตามระบบ DRG ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และขอความร่วมมือทุกฝ่ายดูแลระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยและโรงพยาบาลให้มากที่สุด

นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงผู้บริหารโรงพยาบาลของรัฐ ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ วันที่ 19 มกราคม 2552 เวลา 09.30 น. ว่า ปัจจุบันการจัดสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลของรัฐ ครอบคลุมกลุ่มประชากรมากที่สุดถึงกว่า 4.5 ล้านคน ทั้งข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และบุคคลในครอบครัว ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้บุคคลมีความต้องการที่จะเข้าทำงานในรัฐมากยิ่งขึ้น เพราะรัฐจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตั้งแต่เข้ารับราชการจนออกจากราชการและจนวาระสุดท้าย และยังดูแลรวมไปถึงบุคคลในครอบครัวด้วยเช่นกัน จึงทำให้กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางในฐานะหน่วยงานกลางที่กำกับดูแลสวัสดิการด้านต่างๆ ให้กับข้าราชการ ต้องพัฒนาระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย และที่สำคัญต้องเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับเงินภาษีอากรของประชาชนที่นำมาใช้ ซึ่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้ขอตั้งงบประมาณ 63,000 ล้านบาท แต่สภาปรับลดลงเหลือ 48,500 ล้านบาทเท่านั้น และจนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ได้มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 16,889 ล้านบาท ซึ่งต้องบริหารงบนี้เพียงพอหรืออาจจะมากกว่าเล็กน้อย

นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาระบบสวัสดิการรักษาพยาบาล กรมบัญชีกลางได้มีการดำเนินการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 นี้ กระทรวงการคลังมีนโยบายที่จะควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรัฐจะได้นำงบประมาณในส่วนที่ประหยัดได้ไปเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น มีการดำเนินการตรวจสอบด้านการรักษาพยาบาลทั้งในส่วนของโรงพยาบาล และผู้ป่วย เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาการทุจริต รวมทั้งการพัฒนาระบบ DRG ของผู้ป่วยใน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย ทำให้เกิดความโปร่งใส และเป็นมาตรฐานในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ระหว่างโรงพยาบาลกับกรมบัญชีกลาง การปรับปรุงอัตราฐาน (Base Rate) ใหม่ ตามระบบ DRG จะจัดกลุ่มสถานพยาบาลที่มีอัตราค่ารักษาที่ใกล้เคียงกันก็ให้ใช้อัตราเดียว ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงค่ารักษาพยาบาลที่เหมาะสมและคิดค่ารักษาพยาบาลใกล้เคียงความเป็นจริงและเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งได้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นมา จึงมีความจำเป็นต้องเชิญผู้บริหารโรงพยาบาลของรัฐมาประชุมเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน และร่วมมือกันดูแลระบบสวัสดิการให้ดี ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตามหลักทางการแพทย์ และโรงพยาบาลมีการใช้จ่ายยาอย่างสมเหตุสมผล

ทั้งนี้ “มีความมุ่งหวังว่าจะผลักดันให้มีการพัฒนาระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการและลูกจ้างประจำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้ข้าราชการและครอบครัวชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และส่งเสริมให้มีสุขภาพพลานามัยที่ดีสมบูรณ์และแข็งแรง และจะช่วยบรรเทาปัญหาในเรื่องรายได้ ค่าครองชีพด้านสุขภาพในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันให้มากที่สุด” รมช .คลังกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ