อินโดรามาไม่หวั่นวิกฤต เดินหน้าผุดบริษัทลูกในไทย ตั้งเป้ารายได้ 3,000 ล้านบาทปีนี้

จันทร์ ๑๙ มกราคม ๒๐๐๙ ๑๑:๔๕
อินโดรามาลุยปรับโครงสร้างธุรกิจโพลีเอสเตอร์ พร้อมตั้ง บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด ในไทย ตั้งเป้าเป็น ฮลดิ้งส์เพื่อถือหุ้นบริษัทในต่างประเทศ เมินวิกฤตเศรษฐกิจ มั่นใจสร้างรายได้ปีนี้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท

นายอาลก โลเฮีย กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทอินโดรามา โพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กลุ่มครอบครัวโลเฮีย ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทอินโดรามา โพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน) และธุรกิจอื่นในหลายประเทศ ได้จัดตั้งบริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด เพื่อเป็นบริษัทผู้ถือหุ้นในบริษัทต่างๆที่อยู่ในอุตสาหกรรมต?อเนื่องของโพลีเอสเตอร์ (Polyester Value Chain)

บริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด เป็นบริษัทในประเทศไทย โดยมีกลุ่มตระกูลโลเฮียเป็นเจ้าของ และมีผู้ถือหุ้นรายย่อยคือ ธนาคารกรุงเทพ และดีอีจี (Investitions und Entwicklungsgesellschaft GmbH หรือ DEG) ซึ่งเป็นสมาชิกของสถาบันเครดิตเพื่อการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (KfW)

อินโดรามา เวนเจอร์ส จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นผู้ถือทรัพย์สินทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างธุรกิจในกลุ่ม ด้วยการรวมจุดแข็งในธุรกิจต่างๆ ไว้ในบริษัทขนาดใหญ่เพียงบริษัทเดียว ซึ่งการปรับโครงสร้างองค์กรของกลุ่มธุรกิจได้เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปีที่ผ่านมา ด้วยความมุ่งหวังที่จะช่วยสร้างคุณค่าต่อผู้ถือหุ้นซึ่งเราก็สามารถทำสำเร็จได้ในเวลาสั้น” นายอาลก กล่าว

นายอาลก ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส ที่ก่อตั้งมาดังกล่าว จะมีรายได้ในปีนี้ มากกว่า 3,000 ล้านบาท จากธุรกิจอุตสาหกรรมต?อเนื่องของโพลีเอสเตอร์ของกลุ่มที่อยู่ในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือหลังการปรับโครงสร้าง บริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส จะมีการแบ่งธุรกิจของบริษัทออกเป็น 4 กลุ่มธุรกิจ คือ เม็ดพลาสติก (PET resins) พีทีเอ (Polyester Intermediates หรือ PTA) เส้นใยสังเคราะห์และด้ายโพลีเอสเตอร์ (Polyester Fibers & Yarns) และ ไหมพรม (Woolen Yarns) โดยกลุ่มสุดท้ายนั้นมีรายได้คิดเป็นประมาณ 2% ของรายได้ทั้งหมด

ในกลุ่มของธุรกิจเม็ดพลาสติกจะดำเนินการโดยบริษัทอินโดรามา โพลีเมอร์ส ซึ่งมีหน่วยการผลิต 8 แห่งในหลายประเทศได้แก่ ไทย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ลิธัวเนีย และ สหรัฐอเมริกา โดยมีความสามารถในการผลิตทั้งหมด 1.7 ล้านตันต่อปี และมีแผนการจะจัดตั้งบริษัทอัลฟ่าเพ็ท (AlphaPET) ในสหรัฐอเมริกา โดยเมื่อตั้งแล้วบริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส จะกลายเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรายใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก

ในกลุ่มพีทีเอ บริษัทได้มีหน่วยผลิตอยู่ในประเทศไทยและประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยได้ซื้อหุ้นจำนวน 50.60% ของบริษัททุนเท็กซ์ ปิโตรเคมีคอลส์ (ประเทศไทย) จากธนาคารกรุงเทพ ในปี 2551 ในปัจจุบันบริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 1. 6 ล้านตันต่อปี

ในกลุ่มเส้นใยสังเคราะห์และด้ายโพลีเอสเตอร์และ กลุ่มไหมพรม บริษัทมีหน่วยผลิตอยู่ในประเทศไทยกลุ่มละสองหน่วย โดยหลังจากการซื้อหุ้นของบริษัททุนเท็กซ์ เท็กซ์ไทล์ (ประเทศไทย) ในปี 2551 บริษัทได้กลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในประเทศ และชำนาญในการผลิตสินค้าเฉพาะทางต่างๆ

อินโดรามา เวนเจอร์ส จะเป็นหนึ่งในธุรกิจอุตสาหกรรมต?อเนื่องของโพลีเอสเตอร์ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีกลยุทธ์คือ ใช้ความร่วมมือกันของธุรกิจต่างๆของบริษัทเพื่อเสริมสร้างคุณค่าและลดต้นทุนลงจนในปัจจุบันถือว่าเป็นผู้ผลิตที่ใช้ต้นทุนต่ำมากเมื่อเทียบกับคู่แข่งทั่วโลก ในขณะนี้ ธุรกิจต่างๆในกลุ่มก็ได้ดำเนินการภายใต้บริษัทอินโดรามา เวนเจอร์สแล้ว จึงสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุน ทั้งทางด้านไอที โลจิสติกส์ การจัดซื้อวัตถุดิบ และอื่นๆ ซึ่งเป็นการตัดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อนของแต่ละบริษัทย่อยออกไป” นายอาลกกล่าว

นายอาลก ยืนยันว่า ธุรกิจโพลีเอสเตอร์นั้นไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกมากนัก เนื่องจากธรรมชาติของผลิตภัณฑ์และผู้ซื้อนั้นแตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่น ด้วยสาเหตุที่อินโดรามา เวนเจอร์ส นั้นเป็นหนึ่งในบริษัทที่สำคัญที่สุดในอุตสาหกรรมต?อเนื่องของโพลีเอสเตอร์ในระดับโลก จึงทำให้บริษัท ฯ สามารถทุ่มเทให้กับการพัฒนาธุรกิจในระยะยาวได้อย่างเต็มที่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

กรุณาติดต่อ คุณทศธร ครุธนะวัฒน์ 081-445-3443

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ