1. ภายหลังการปิดรับการจดทะเบียนสารเคมีล่วงหน้า พบว่า มีบริษัทยื่นจดทะเบียนฯ ผ่านบริษัทใน EU ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำเข้า, Subsidiary, หรือ OR มีจำนวนมากกว่า 65,000 บริษัท โดยครอบคลุมสารเคมีประมาณ 150,000 รายการ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลภายใต้แผนงาน Substance Information Exchange Forum หรือ SIEFs อาจจะมีมากถึง 150,000 SIEFs ดังนั้นการจดทะเบียนสารเคมีร่วมกันอาจยากต่อการปฏิบัติ และสำหรับรายชื่อสารเคมีที่ได้ประกาศเมื่อ 19 ธันวาคม 2551 เป็นเพียง Preliminary List เท่านั้น ส่วนฉบับสมบูรณ์จะประกาศอีกครั้งภายหลังได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว
2. ข้อยกเว้นในการจดทะเบียนสารเคมีทั้ง 4 กรณีได้แก่ (1.) Reimported Substance ตามมาตรา 2.7.c (2.) Recovered Substances ตามมาตรา 2.7.d (3.) โมโนโพลิเมอร์ ตามมาตรา 6.3 และ (4.) สารเคมีในตัวสินค้า ตามมาตรา 7.6 ซึ่งหน่วยงาน ECHA ได้ตีความข้อกำหนดในเรื่องนี้ว่า ข้อยกเว้นดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้กับกรณีการจดทะเบียนสารเคมีล่วงหน้า แต่ใช้กับการไม่จดทะเบียนสารนั้น นอกจากนี้บริษัทที่ได้ดำเนินการจดทะเบียนล่วงหน้าไปแล้ว และมีความไม่แน่ใจว่าสารเคมีนั้นได้จดทะเบียนภายในกำหนดหรือไม่ จึงทำให้มีจำนวนการจดทะเบียนสารเคมีล่วงหน้าผ่าน Supply Chain เพิ่มขึ้นมาก (Double Pre-Registration) และในกรณีของเครื่องสำอางที่ใช้สารเคมีชนิดใหม่นั้นยังเป็นสินค้าที่มีข้อสับสนและยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดในการจดทะเบียนสารเคมีดังกล่าว
3. รายชื่อสารเคมีที่อยู่ใน Candidate List ชุดแรกที่ได้ประกาศไปแล้ว เมื่อ 28 ตุลาคม 2551 จำนวน 15 รายการจัดเป็นสารที่มีความน่าเป็นกังวลอย่างมาก จะต้องผ่านขั้นตอนการจัดเตรียมข้อเสนอเพื่อบรรจุใน Annex XIV เพื่อให้มีสถานะเป็น Authorization List ซึ่งต้องรอการพิจารณาให้ความเห็นของประเทศสมาชิก EU ภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่ 14 มกราคม 2552 นอกจากนี้คณะกรรมาธิการฯ ได้ขอให้ ECHA จัดเตรียมข้อมูลเอกสาร Annex XV Dossiers 5 รายการ เพื่อจะได้พิจารณาร่วมกับแฟ้มข้อมูลที่ส่งเข้ามาใหม่ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 และหากเข้าข่ายสารที่มีความน่ากังวลสูง (SVHCs) ก็จะรวมไว้ในรายชื่อสาร Candidate List ชุดต่อไปในเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียสามารถส่งข้อคิดเห็นไปที่ Jack DE [email protected]
4. คณะกรรมาธิการฯ จะนำข้อกำหนดการลงโทษกรณีการไม่ปฏิบัติตามระเบียบ REACH ได้ทัน 1 ธันวาคม 2551 โดยจะนำข้อกำหนดของประเทศสมาชิก EU ทั้ง 15 ประเทศมาศึกษา เปรียบ เทียบและจะนำเสนอผลการศึกษาในการประชุม CA ประมาณเดือนมิถุนายน 2552 และคาดว่าจะทำรายงานฉบับสมบูรณ์เสร็จราวสิ้นปี 2552
5. คณะกรรมาธิการฯ ได้มีการปรับคู่มือในหัวข้อ OR และได้จัดพิมพ์ร่างคู่มือสำหรับ Annex V เรื่อง Exemptions from Registration และเรื่อง Waste and Recovered Substances โดยได้เผยแพร่ทางเว็บไซท์ไปแล้ว นอกจากนี้ยังได้จัดทำโครงการเพื่อทบทวนคู่มือเรื่องสารเคมีที่อยู่ในสินค้า (Substance in Articles) ซึ่งจะเน้นสินค้าชิ้นส่วนอะไหล่และสินค้าที่มีความซับซ้อน (Spare Parts and Complex Articles) ในเดือนมกราคมและคาดว่าจะสิ้นสุดเดือนตุลาคม 2552 หลังจากนั้นจะเผยแพร่คู่มือเรื่องนี้อย่างย่อในเว็บไซท์ของ ECHA ก่อนในช่วงต้นปี 2552 ขณะนี้คณะกรรมการ REACH CA ได้เห็นชอบเอกสาร “ Nanomaterials in REACH ” ซึ่งได้อธิบายการใช้ระเบียบ REACH กับวัสดุนาโนและจะนำมาเผยแพร่ทางเว็บไซท์ต่อไป
6. ระเบียบใหม่ว่าด้วยการจัดจำแนกและปิดฉลากสารเคมีและบรรจุหีบห่อสารเคมี (CLP Regulation) จะมีผลบังคับใช้หลังประกาศ 20 วัน โดยได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดสำหรับการจัดจำแนกสารเคมีภายใน 1 ธันวาคม 2553 และภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2558 สำหรับการจำแนก Preparations นอกจากนี้การปรับแก้ไขระเบียบใหม่ตามความก้าวหน้าทางเทคนิคครั้งแรก (1st APT: Adaption to Technical Progress) จะประกาศได้ในเดือนมีนาคม 2552 โดยจะรวบรวมสารเคมีทั้งหมดตามประกาศ ATP ครั้งที่ 30 และ 31 ของคำสั่งว่าด้วยสารเคมีอันตราย (Dangerous Substance Directive: DSD)
ทั้งนี้ หน่วยงาน ECHA ได้แต่งตั้งนาย Andreas Herdina เป็น Director of Cooperation มีหน้าที่รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยสามารถติดต่อได้ที่ [email protected] สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องและสนใจสามารถศึกษารายละเอียดระเบียบ CLP ได้ที่เว็บไซท์: http://eur-lex- europa.eu/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2008:353:0001:1355:EN:PDF และ http://eur-lex- europa.eu/ LexUriServ.do?uri=OJ:L:2008:354:0060:0061:EN:PDF