“สิ่งที่จะช่วยเหลือซีเอฟโอได้ คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์จริงขององค์กรต่างๆ ดังนั้น ที่ผ่านมาโครงการสร้าง “CFO มืออาชีพ” ทั้งรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ได้ยึดแนวทางดังกล่าวในการให้ความรู้กับผู้เข้าอบรม ทำให้ผู้อบรมได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจากบรรดาซีเอฟโอมืออาชีพในหลายๆ ธุรกิจ ทั้งจากภาคอุตสาหกรรม ภาคการเงิน ภาคบริการ การท่องเที่ยว ในการถ่ายทอดประสบการณ์จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดกับอุตสาหกรรม ตลอดจนแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ซีเอฟโอได้เรียนรู้และสามารถหาทางป้องกันวิกฤติที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรของตัวเอง” ประธานที่ปรึกษาโครงการสร้าง “CFO มืออาชีพ” กล่าว
ด้านนายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังขาดผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านการเงินอีกจำนวนมาก ทั้งในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ที่ยังมีความต้องการผู้ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทางด้านการเงินมาดำรงตำแหน่งซีเอฟโอ เนื่องจากในตำแหน่งดังกล่าว ถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรธุรกิจในปัจจุบัน ที่ต้องหาเครื่องมือต่างๆ ทางการเงิน เพื่อลดต้นทุนทางการเงินของบริษัท
ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงต้องการส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาในการพัฒนาบุคลากรของไทยให้มีความเข้าใจในเรื่องของการเงินให้มากขึ้น เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการออกเครื่องมือทางการเงินหรือผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้มูลค่าตลาดทุนไทยมีขนาดใหญ่ขึ้น และยังเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจมีความเข้มแข็งต่อการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น
“เราต้องรีบเร่งผลิตบุคลากรทางด้านการเงินให้เพิ่มขึ้น เพราะในประเทศไทยตำแหน่งซีเอฟโอยังขาดแคลนเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นตำแหน่งบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ในโลกของการแข่งขันของธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งหากปล่อยละเลยต่อไป เราอาจจำเป็นต้องจ้างชาวต่างชาติเข้ามาเป็นซีเอฟโอเข้ามาช่วยดูแลแทน” นายประพันธ์ กล่าว
ขณะที่ ผศ.ดร.อนุกัลยณ์ จีระลักษณกุล ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางธุรกิจ NIDA Business School กล่าวว่า ในภาวะวิกฤติ นอกจากซีเอฟโอจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในเรื่องการวางแผนทางการเงินแล้ว ยังต้องเพิ่มเติมเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุนและการบริหารความเสี่ยง ซึ่งในขณะนี้ถือเป็นโอกาสดีที่ซีเอฟโอของไทยจะได้เรียนรู้จากหลายๆ องค์กรในต่างประเทศที่ประสบปัญหาและผ่าตัดธุรกิจจนผ่านพ้นวิกฤติมาได้ ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ในปัจจุบัน องค์กรธุรกิจของไทยมีความตื่นตัวในเรื่องบทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารด้านการเงินมากขึ้น โดยพิจารณาได้จากการเข้าร่วมในโครงการสร้าง “CFO มืออาชีพ” ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง
“นอกจากความพยายามในการสร้างซีเอฟโอมืออาชีพแล้ว เรายังมีเป้าหมายที่จะทำให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันซีเอฟโอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับซีเอฟโอในการสร้างเครือข่าย การแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างกันและกันอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยให้องค์กรธุรกิจมีความเข้มแข็งและจะสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศในที่สุด” ผศ.ดร.อนุกัลยณ์กล่าว
ทั้งนี้ ศูนย์นวัตกรรมทางธุรกิจ NIDA Business School ยังได้ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ จัดงานสัมมนาใหญ่ประจำปีในหัวข้อ “CFO มืออาชีพ...เส้นทางความอยู่รอดหรือรุ่งโรจน์ขององค์กร” เพื่อหาทางออกและระดมความคิดเห็นจากซีเอฟโอในองค์กรธุรกิจที่มีความหลากหลาย ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์นี้ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.โอฬาร ไชยประวัติ กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจการเงินไทย” ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นโอกาสที่ผู้บริหารด้านการเงินและผู้สนใจจะได้รับข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจดำเนินธุรกิจในภาวะวิกฤติต่อไป
เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดยบริษัทมาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (ในนาม NIDA Business School)
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : พิภพ ฆ้องวง (ท๊อป)
โทร. 0-2248-7967-8 ต่อ 14 หรือ 08-1929-8864
e-mail address : [email protected]