พูม่า (Puma) ถูกต้อง ถูกที่ ถูกคน

พุธ ๒๘ มกราคม ๒๐๐๙ ๑๕:๓๐
ภาพรวมบริษัท

คอมพิวเตอร์พกพาของบริษัท อินเตอร์เมค กลายเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยลดภาระงานหนักให้กับคลังสินค้าส่วนกลางในแถบสแกนดิเนเวียของบริษัท พูม่า

พูม่า ซึ่งเป็นหนึ่งในแบรนด์สินค้ากีฬาชั้นนำของโลก กำลังเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าส่วนกลางในแถบสแกน ดิเนเวียด้วยการนำเอาคอมพิวเตอร์พกพาของบริษัท อินเตอร์เมค เข้ามาเปลี่ยนระบบการจัดการคลังสินค้าแบบกระดาษมาเป็นแบบอัตโนมัติ ซึ่งนั่นให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจอย่างมาก โดยปัจจุบันบริษัทสามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้ถูกต้องถึง 99%

คลังสินค้าส่วนกลางในแถบสแกนดิเนเวียของบริษัท พูม่า ตั้งอยู่ในเมืองเฮลซิงเบิร์ก ทางตอนใต้ของสวีเดน โดย มีสินค้ากีฬากว่า 18,000 รายการถูกจัดเก็บไว้ในพื้นที่ขนาด 12,000 ตารางเมตรแห่งนี้ และมีพนักงานประมาณ 70 คน ซึ่งทำงานแบบสองกะ โดยจะดำเนินการจัดส่งสินค้าประมาณ 30,000 รายการต่อวัน รายการสินค้าดังกล่าวจะถูกส่งตรงไปยังผู้ค้าปลีกทั่วสวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และประเทศในแถบทะเลบอลทิค

ปริมาณสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้าแห่งนี้กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จะเห็นได้ว่ายอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 200 ล้านโครน (สกุลเงินสวีเดน: SEK) เป็น 1 พันล้านโครน ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 6 ปีเท่านั้น

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนกระทั่งเมื่อสองปีที่แล้ว การจัดการคลังสินค้าทั้งหมดดำเนินการโดยใช้กระดาษ ส่งผลให้การทำข้อมูลให้ตรงกันระหว่างที่พักสินค้ากับคลังแจกจ่ายสินค้าไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัญหาต่อการเติมสินค้าใหม่เข้าคลัง และจำนวนข้อผิดพลาดในการจัดส่งสินค้าตลอดจนเสียงร้องเรียนจากลูกค้าก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นจนไม่สามารถรับได้ การจัดการคลังสินค้าที่ไม่มีประสิทธิภาพส่งผลต่อทุกแผนกภายในบริษัท ตั้งแต่ฝ่ายบริการลูกค้าไปจนถึงฝ่ายรับสินค้าคืน

ปัจจุบันการจัดการระบบคลังสินค้าของพูม่าเป็นแบบอัตโนมัติทั้งหมด มีการนำบาร์โค้ดเข้ามาใช้กับรายการสินค้าขาเข้า ขาออก และสินค้าคงคลัง โดยคอมพิวเตอร์พกพาจะแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สายที่เชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลาง ผลลัพธ์ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ที่เห็นได้ชัดก็คือพนักงานทุกคนมีความสุขอย่างมากและ บริษัทสามารถจัดส่งสินค้าได้ถูกต้องถึง 99%

โซลูชั่นใหม่เป็นที่ต้องการ

ในปี 2549 คลังสินค้าส่วนกลางในแถบสแกนดิเนเวียของพูม่าได้รับนโยบายให้ลดการใช้กระดาษลงและต้องทำให้ระบบการจัดการคลังสินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการโซลูชั่นที่สามารถช่วยให้นโยบายดังกล่าวดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็ว

“เราต้องการให้การดำเนินงานของเรายืดหยุ่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราไม่ต้องการสิ่งที่ซับซ้อนมากจนเกินไป และสิ่งๆ นั้นจะต้องมีระบบความปลอดภัยในระดับสูงด้วย” นายจอร์เกิ้น ลาร์สัน ผู้จัดการด้านการสื่อสารและระบบความปลอดภัย บริษัท พูม่า ในแถบสแกนดิเนเวียและบอลทิค กล่าว และว่า “โซลูชั่นเครือข่ายไร้สายที่สามารถดำเนินการได้จากส่วนกลางกลายเป็นคำตอบที่สามารถตอบสนองความต้องการของเราได้ และบริษัท DataF?ngst ซัพพลายเออร์ด้านฮาร์ดแวร์ของเรา สามารถจัดการสิ่งนี้ให้กับเราได้

ก่อนหน้านี้ซัพพลายเออร์จำนวนมากได้รับเชิญให้เข้ามานำเสนอโซลูชั่นของตนแก่พูม่า แต่เมื่อคอมพิวเตอร์พกพาขนาดกะทัดรัดกลายเป็นเงื่อนไขหลักก็ทำให้ซัพพลายเออร์ส่วนใหญ่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของบริษัทได้ เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีอยู่ของซัพพลายเออร์เหล่านั้นมีขนาดใหญ่และเทอะทะเกินไป มีเพียงบริษัท DataF?ngst เท่านั้นที่สามารถตอบสนองได้ เนื่องจากเป็นคู่ค้ากับบริษัท อินเตอร์เมค ซึ่งมีคอมพิวเตอร์พกพาขนาดกะทัดรัด รุ่น CN3 ที่สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์เครือข่ายของซิสโก้ได้ ปัจจุบันพูม่าได้นำเครื่อง CN3 เข้ามาใช้งานแล้วทั้งสิ้นจำนวน 45 เครื่อง และทุกเครื่องทำงานได้โดยไม่มีข้อผิดพลาดและสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ทุกวันตั้งแต่เวลา 5.30 น. จนถึงเที่ยงคืน

“นอกเหนือจากเหตุผลข้างต้นแล้ว สาเหตุที่เราเลือกคอมพิวเตอร์พกพาของอินเตอร์เมคก็เพราะเรารับรู้ถึงชื่อเสียงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชั้นเยี่ยมของบริษัท อินเตอร์เมค มานานแล้ว” นายอัลฟ์ เจอร์เลอโบ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร และหัวหน้าฝ่ายขายบริษัท DataF?ngst กล่าว และว่า “ความร่วมมือในครั้งนี้ได้สร้างความน่าเชื่อถือและข้อดีต่างๆ มากมาย”

ระบบพร้อมตรวจสอบ

นับตั้งแต่มีการนำ CN3 เข้ามาใช้ในคลังสินค้าของพูม่า สิ่งดีๆ ก็เกิดขึ้นอย่างมากมาย เพียงแค่สัปดาห์เดียวหลังจากที่นำคอมพิวเตอร์พกพาเข้ามาใช้ เสียงร้องเรียนลดจำนวนลงอย่างมาก อีกทั้งยังลดเวลาที่ใช้ในการจัดการ ตลอดจนความผิดพลาดในการจัดส่งสินค้าก็เกิดขึ้นน้อยมาก

“เราสามารถจัดการสินค้าขาเข้าและขาออกได้ดีกว่าแต่ก่อนมาก” นายจอร์เกิ้น ลาร์สัน กล่าว และว่า “การวางแผนและการกำหนดเวลาล่วงหน้าถือเป็นสิ่งสำคัญมากในอุตสาหกรรมแห่งนี้ เนื่องจากร้านค้ามักจะมีพื้นที่จัดเก็บสินค้าที่จำกัด เราต้องทำให้ข้อมูลการส่งมอบสินค้าสอดคล้องกับความต้องการของพวกเขา และการส่งมอบนั้นจะต้องไม่เกิดขึ้นเร็วหรือล่าช้าเกินไป”

สำหรับพูม่า ซึ่งมีสัดส่วนของพนักงานชั่วคราวที่เกี่ยวข้องกับงานคลังสินค้าอยู่ในระดับสูง การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้จึงเป็นประโยชน์มาก เนื่องจากพวกเขาไม่จำเป็นต้องมีความคุ้นเคยหรือมีความรู้อย่างละเอียดเกี่ยวกับระบบ พวกเขาสามารถทำงานได้ทันทีและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันคอมพิวเตอร์พกพา CN3 ของอินเตอร์เมค สามารถระบุชั้นวางสินค้าได้อย่างถูกต้องโดยอัตโนมัติ และสามารถยืนยันได้ว่าสินค้าที่ได้รับการสแกนนั้นตรงกับคำสั่งซื้อหรือไม่

“CN3 ยืดหยุ่นมาก ปรับใช้ง่าย และยังเหมาะอย่างมากกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบคลังสินค้า โดยอุปกรณ์พกพาดังกล่าวสามารถจัดการกับสินค้าในปริมาณมากได้ทั้งขาเข้าและขาออก” นายเฟรดดริก ลินด์วิสต์ ผู้จัดการประจำประเทศ บริษัท อินเตอร์เมค สแกนดิเนเวีย กล่าว

นอกจากนี้ ระบบยังสามารถตรวจสอบได้ด้วยว่ามีสินค้าเพียงพอที่พร้อมจะส่งมอบให้กับลูกค้าได้ตลอดเวลาหรือไม่ ซึ่งถ้าสินค้าไม่เพียงพอ คำสั่งซื้อจะถูกส่งไปยังรถบรรทุกสินค้าเพื่อให้ดำเนินการขนส่งสินค้านั้นออกจากมาจากที่จัดเก็บโดยอัตโนมัติ ซึ่งก่อนหน้านี้ในการเติมสต็อกสินค้าใหม่และการไปขนสินค้าออกมาจากคลังเก็บนั้น พนักงานจะต้องไปแจ้งคนขับรถบรรทุกให้ทราบ และนั่งรอจนกว่าจะได้สินค้าที่ต้องการมาเติมให้กับสินค้าคงคลังที่มีอยู่

“ขณะนี้เหมือนหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว” นายจอร์เกิ้น ลาร์สัน กล่าว และว่า “ทุกสิ่งดีขึ้นมากและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น ในเรื่องสินค้าคงคลัง ก่อนหน้านี้พนักงานต้องจดจำนวนสินค้าทุกรายการด้วยตนเองซึ่งต้องใช้เวลาอย่างมาก แต่ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เข้ามาดูแลงานในส่วนนี้ได้ดีพอๆ กับการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ได้อย่างครบถ้วนด้วย”

ในบริเวณรอบๆ คลังสินค้า จะมีจุดเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายจำนวน 17 จุด ที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลางเพื่อให้พนักงานสามารถดูข้อมูลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์พกพาของตนได้ โดยเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลางจะส่งออกคำสั่งซื้อไปให้กับพนักงานตลอดเวลา

พนักงานมีส่วนช่วยในการพัฒนา

ปัจจุบันพนักงานของพูม่าจะต้องลงชื่อใช้งานคอมพิวเตอร์พกพาที่ได้รับ ซึ่งนั่นช่วยสร้างจิตสำนึกของการเป็นเจ้าของเครื่องให้กับพวกเขา และส่งผลให้ตัวเครื่องได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ผู้ใช้อุปกรณ์ยังสามารถช่วยในด้านการพัฒนาได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องแอพพลิเคชั่น ตัวเลือก และปุ่มที่สามารถปรับขยายให้ใหญ่ตามความต้องการและการกำหนดค่าใช้งานของพวกเขาเอง โดยปุ่ม ‘Dare to Ask’ (กล้าที่จะถาม) บนตัวเครื่องกลายเป็นฟังก์ชั่นที่สำคัญสำหรับพวกเขาในการทำงาน

“ก่อนหน้านี้ เมื่อมีสินค้าหล่นลงมายังพื้น พนักงานมักจะไม่สามารถหยิบสินค้านั้นกลับขึ้นไปเก็บไว้ในตำแหน่งเดิมได้” นายจอร์เกิ้น ลาร์สัน กล่าว และว่า “สิ่งนี้ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เนื่องจากปุ่ม ‘Dare to Ask’ ช่วยให้พนักงานสามารถสแกนสินค้าด้วยคอมพิวเตอร์พกพา และจากนั้นหน้าจอของคอมพิวเตอร์ก็จะแสดงตำแหน่งที่ถูกต้องของสินค้าในคลังสินค้าให้เห็น และพนักงานก็สามารถวางสินค้านั้นกลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิมได้อย่างถูกต้อง”

ขณะนี้พูม่ากำลังมองไปที่การปรับปรุงระบบให้ดียิ่งขึ้น โดยหวังว่าจะนำเอาโทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ตโปรโตคอล (IP Telephony) เข้ามาใช้งานในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพนักงานทุกคนล้วนมีความสุขกับระบบคลังสินค้าอัตโนมัติและพร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ มากขึ้น จะเห็นได้ว่ามีการใช้กระดาษในระบบน้อยมาก การหยิบสินค้าผิดพลาดไม่มีอีกแล้ว พนักงานและลูกค้าต่างมีความสุขร่วมกันทั้งสองฝ่าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์

บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร. 0-2-439-4600 ต่อ 8300, 8204

อีเมล์: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้