มกค. จับมือ 3 พันธมิตรขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ต 1.1 กิกะไบต์ รองรับนศ.ใหม่ ปี 52 ใช้ไฮบริดก้าวเป็นสถาบันการศึกษาที่มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่สุดในประเทศ

อังคาร ๐๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๙ ๑๕:๑๘
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเซ็นสัญญากับ 3 ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตชั้นนำของประเทศ สามารถ อินโฟเนต ทรู อินเทอร์เน็ต และซีเอส ล็อกซอินโฟ ขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตจากเดิม 5 เท่า เป็น 1.1 กิกะไบต์ ก้าวเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอินเตอร์เน็ตที่เร็วที่สุดในประเทศ รองรับนักศึกษาใหม่ปี 2552 ที่จะได้รับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเรียนในระบบไฮบริด (Hybrid) หลังจากลงทุนเตรียมความพร้อมด้านไอทีอื่นๆ แล้วกว่า 300 ล้านบาท

รศ.ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ตามปรัชญาและปณิธานของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่ว่า “มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านธุรกิจในเอเชีย” ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยได้ดำเนินการในหลายด้านที่สอดคล้องและต่อเนื่องกัน เพื่อให้บรรลุตามตามปรัชญาและปณิธาณดังกล่าว ซึ่งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอีกด้านหนึ่งซึ่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยมหาวิทยาลัยได้พัฒนาและลงทุนด้านระบบไอทีต่างๆ มาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

ในปีการศึกษา 2552 นี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยตัดสินใจที่จะสานต่อโครงการมอบเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คให้กับนักศึกษาใหม่ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอกอีกประมาณ 5,000 เครื่อง มูลค่าไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท พร้อมทั้งอุปกรณ์ My Choice Clicker อีก 10,000 เครื่องมูลค่าประมาณ 15 ล้านบาท เพื่อใช้ในการเรียนระบบไฮบริด

เพื่อรองรับการขยายตัวการใช้งานดังกล่าว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้ลงทุนขยายศักยภาพเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมอีกปีละ 15 ล้านบาท เซ็นสัญญากับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตชั้นนำของประเทศถึง 3 ราย ได้แก่ บริษัท สามารถ อินโฟเนต จำกัด บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) เพื่อสร้างเสถียรภาพและความน่าเชื่อของการใช้เครือข่ายสูงสุด โดยขยายความเร็วอินเทอร์เน็ตจากเดิม 210 Mbps เป็น 1.110 Gbps ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 5 เท่า ถือได้ว่ามหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นสถาบันที่มีความเร็วอินเตอร์เน็ตสูงที่สุดในประเทศไทย เมื่อเทียบกับความเร็วอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยทั้งรัฐบาลและเอกชน

แผนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นแผนการระยะยาว และได้ทยอยลงมือพัฒนาตามแผนมาแล้วกว่า 3 ปี เริ่มจากปี 2549 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้มอบคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คให้กับอาจารย์ประจำเป็นมูลค่ากว่า 15 ล้านบาท เพื่อใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร เตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบอีเลิร์นนิ่ง และในปีต่อมาได้คิดค้นหลักสูตรการศึกษาใหม่ที่ผสานระบบเรียนในห้องเรียนแบบ Face to Face กับการเรียนแบบอีเลิร์นนิ่งเป็นระบบที่เรียกว่าไฮบริด ซึ่งเป็นนวัตกรรมลิขสิทธิ์เฉพาะของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ในปีการศึกษา 2551 มหาวิทยาลัยได้เริ่มนำหลักสูตรการเรียนการสอนแบบไฮบริดมาใช้ พร้อมทั้งติดตั้งระบบ My Choice Opinion Finder มูลค่ากว่า 3 ล้านบาท เพื่อเน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอน และได้มอบคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คให้กับนักศึกษาปริญาตรี โท และเอก จำนวนทั้งสิ้น 5,200 เครื่อง รวมเป็นเงิน ประมาณ 110 ล้านบาท

เพื่อรองรับการใช้งานโน้ตบุ๊คจำนวนมากให้ได้อย่างเพียงพอ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้เปลี่ยนระบบเครือข่ายไร้สาย (WiFi) ใหม่ แบบรองรับเทคโนโลยีใหม่ IEEE 802.11 a b/g จำนวน 300 ตัว เป็นจำนวนเงินกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งมาตรฐานใหม่นี้สามารถรองรับการใช้งานจำนวนมาก และถือว่ามหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ใช้งานในระบบนี้ นอกจากนี้ยังปรับปรุงระบบเครือข่ายให้เป็นแบบ High Availability System. (HA.) เพิ่มเติมอุปกรณ์ให้มีจำนวน 2 ชุดเพื่อทำงานควบคู่กัน ทำให้ระบบเครือข่ายมีเสถียรภาพสูงสุด โดยได้ลงทุนเพิ่มเติมอุปกรณ์เราน์เตอร์ ไฟร์วอลล์ แบนด์วิธ แมนเนจเม้นท์มูลค่ากว่า 7 ล้านบาท พร้อมติดตั้งปล๊กไฟฟ้าเพื่อรองรับการใช้งานเครื่องโน้ตบุ๊คของนักศึกษาในทุกห้องเรียน และทุกพื้นที่ เช่น โต๊ะนั่งพักผ่อนใต้อาคารเรียนทั่วทั้งมหาวิทยาลัย จำนวน 3,000 จุด เป็นเงินมูลค่ากว่า 5 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังเริ่มโครงการ UTCC’s ADSL Research @ HOME ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงกับอาจารย์ทุกคนที่บ้าน เพื่อทำงานวิจัยและการเรียนการสอน คิดเป็นมูลค่าการลงทุนปีละ 3 ล้านบาท จนถึงวันนี้สามารถกล่าวได้ว่ามหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้ลงทุนกว่า 300 ล้านบาทเพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยทุกคน

“จากแผนงานพัฒนาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยได้พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมุ่งส่งเสริมศักยภาพของทั้งบุคลากรอาจารย์และนักศึกษา เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของอาจารย์และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยให้มีประสิทธิผลอย่างสูงสุด และสร้างความได้เปรียบด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอันจะเอื้อประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคตของนักศึกษา” รศ.ดร.จีรเดชกล่าว

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:

กองประชาสัมพันธ์ บริษัท พีอาร์พีเดีย จำกัด

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชัยวัฒน์ สิมะวัฒนา / จตุพล นาคนิ่ม / พชรวดี จุโลทัย

โทรศัพท์ : 02 697 6780-3 มือถือ: 089 811 7937 / 081 689 8245 / 085 055 1473

โทรสาร : 02 697 6786 โทรศัพท์ : 02 662 0550 ต่อ 37 / 31 / 33

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version