แพทย์จุฬาฯ เตือนภัยคู่รักวาเลนไทน์ ตรวจเลือดป้องกันโรคธาลัสซีเมีย

พุธ ๐๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๙ ๑๑:๐๖
แพทย์จุฬาฯ รณรงค์ หนุ่มสาวคู่รักช่วงเทศกาลวาเลนไทน์ เตรียมวางแผนป้องกันโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแต่เนิ่น ๆ คู่สมรสทุกคู่ ควรตรวจเลือดก่อนแต่งงาน เพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม

ผศ.พญ.ปราณี สุจริตจันทร์ สาขาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง การรณรงค์ป้องกันโรคโลหิตจางพันธุกรรมธาลัสซีเมียในช่วงเทศกาลวันแห่งความรัก 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี ว่า ในทุก ๆ ปี ที่ผ่านมา หนุ่มสาวและคู่รัก มักจะเลือกวันแต่งงานหรือจดทะเบียนสมรสกันในช่วงเวลาดังกล่าว จึงควรมีการวางแผนป้องกันเรื่องการตรวจเลือดก่อนที่จะวางแผนแต่งงานหรือมีลูกคนต่อไป เพื่อป้องกันโรคโลหิตจางพันธุกรรมธาลัสซีเมีย ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยในปัจจุบัน ทั้งนี้โดยเฉลี่ยชาวไทยเป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดใดชนิดหนึ่งถึงร้อยละ 30-45 หรือประมาณ 24 ล้านคนที่มียีนผิดปกติ เมื่อพาหะแต่งงานกันและเป็นพาหะที่เป็นพวกเดียวกันอาจมีลูกเป็นโรคได้ ทำให้ในประเทศไทยมีคนเป็นโรคธาลัสซีเมียมากถึงร้อยละ 1 หรือ ประมาณ 6 แสนคน

ปัญหาเด็กแรกเกิดเป็นโรคธาลัสซีเมียเป็นปัญหาทางสังคมในระดับประเทศของไทย โดยที่ผ่านมามีการรณรงค์ในเรื่องการตรวจเลือดก่อนแต่งงาน เพื่อลดความเสี่ยงโรคโลหิตจางพันธุกรรมธาลัสซีเมีย รวมทั้ง มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปอยู่เสมอ เราควรต้องมีการรณรงค์เรื่องการตรวจเลือดก่อนแต่งาน เพื่อให้เกิดความตระหนักและสามารถกระตุ้นให้สังคมได้รับทราบความจริง ซึ่งเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย จำเป็นต้องใช้เงินในการรักษาเดือนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 10,000 — 20,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ต้องจ่ายเฉพาะค่าเลือดและค่ายาขับเหล็กเท่านั้น ยังไม่รวมถึงค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ ที่จะต้องเพิ่มมากขึ้น

สำหรับโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นโรคซีดชนิดหนึ่งที่เป็นกันในครอบครัว หรือเรียกว่าโรคพันธุกรรม มีการสร้างสารฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารในเม็ดเลือดแดงที่มีหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายลดน้อยลง เม็ดเลือดแดงจะมีลักษณะผิดปกติและแตกง่าย ก่อให้เกิดอาการซีด เลือดจางเรื้อรัง และมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้ จะได้รับยีนที่ควบคุมการสร้างฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงผิดปกติมาจากทั้งพ่อและแม่

ทั้งนี้ไม่ได้มีการห้ามไม่ให้คู่สมรสที่เป็นพาหะทั้งคู่ แต่งงานกันหรือมีบุตร คู่สมรสสามารถที่จะมีครอบครัวได้ตามปกติ แต่ก่อนที่คิดจะตั้งครรภ์ ต้องทำการปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์อ่อนไม่เกิน 20 สัปดาห์ ด้วยการเจาะน้ำคร่ำ หรือการตัดชิ้นเนื้อส่วนเล็ก ๆ จากรกมาวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ ต้องทำโดยสูตินรีแพทย์ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ ถ้าตรวจพบทารกในครรภ์เป็นโรค คู่สมรส ต้องรับคำปรึกษาทางพันธุกรรมอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม หากคนไทยทั้งประเทศ มีความเข้าใจ เรื่องโรคธาลัสซีเมีย เป็นอย่างดี การเป็นพาหะไม่ใช่สิ่งน่ากลัวหรืออันตรายอีกต่อไป หากยังมีข้อสงสัยกับเรื่องเหล่านี้ สามารถขอรับคำปรึกษาทางพันธุกรรมจากแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ ที่เชี่ยวชาญเป็นหนทางที่ดีที่สุด ความตระหนักในเรื่องการวางแผนครอบครัวของคู่สมรสที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย และสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคธาลัสซีเมียรายใหม่ ๆ ในประชากรไทย และทำให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงถ้วนหน้า เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของประเทศชาติต่อไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มกรุณาติดต่อ

คุณธนศักย์ อุทิศชลานนท์ ,คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น

ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ บริษัทคอร์แอนด์พีค จำกัด

โทรศัพท์ 0-2439-4600 ต่อ 8202 หรือ 081-421- 5249

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ