ศาลไทยให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์รับค่าเสียหาย 3.5 ล้านบาทจากคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ความสำเร็จครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในคดีแพ่ง

ศุกร์ ๐๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๙ ๑๕:๑๘
ได้เห็นกันชัดๆ ถึงความเสี่ยงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เมื่อ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ตัดสินให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับค่าเสียหายมูลค่า 3.5 ล้านบาทจากบริษัทผู้ผลิตแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดอยุธยาในคดีละเมิดลิขสิทธิ์

ศาลพิพากษาว่าจำเลยใช้ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมายในการดำเนินธุรกิจจริง การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และฝ่าฝืนกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย

คดีนี้เริ่มดำเนินการสืบสวนในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในปี 2549 และผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้ยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในปี 2551 ซึ่งศาลได้ตัดสินให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 3.5 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงค่าความเสียหายของซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิด ค่าเสื่อมเสียชื่อเสียง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีตามกฎหมาย

“เราขอชื่นชมการตัดสินของศาลฯ ที่ตัดสินให้จำเลยต้องยุติการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต้องจ่ายค่าชดเชย” ดรุณ ซอว์นีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชียของกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือ บีเอสเอกล่าว “การละเมิดลิขสิทธิ์ทำให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แท้ไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการจ้างงานและเติบโตทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อีกด้วย”

จากข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (เอทีเอสไอ) คาดว่าในปี 2552 นี้ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยจะขยายตัวในอัตราที่ต่ำลง โดยจะอยู่ที่ 5% เมื่อเทียบกับ 18-19% ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา สมเกียรติ อึงอารี นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยกล่าวว่า “การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อปกป้องนวัตกรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในปีที่ถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งปีนี้”

“การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ก่อให้เกิดความสูญเสียมากมาย ซึ่งรวมถึงโอกาสในการจ้างงาน รายได้ เงินเดือน การจัดเก็บภาษี ตลอดจนเม็ดเงินจากการค้าปลีกซอฟต์แวร์และโปรแกรมที่ใช้ในธุรกิจ” คุณสมเกียรติกล่าว “การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นภัยต่อความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของชาติและไม่อาจยอมรับได้ คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาไทยที่ให้จำเลยจ่ายค่าเสียหาย นับเป็นก้าวสำคัญในการต่อสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ์”

ผลกระทบจากการละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยนั้นกว้างขวาง การศึกษาของไอดีซีเมื่อปีที่แล้วถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะได้รับจากการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ระบุว่า หากไทยลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซีลงได้ 10% จะเกิดการจ้างงานเพิ่ม 2,100 ตำแหน่ง การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 35,000 ล้านบาท) และภาษีรายได้เพิ่มขึ้น 55 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2,275 ล้านบาท)

มร. ซอว์นีย์กล่าวเสริมว่า ผลของคำพิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาครั้งนี้ จะเป็นต้นแบบในการดำเนินคดีกับธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่อไป

“การดำเนินคดีทางแพ่งกับผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ทำให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับผลประโยชน์ที่สูญเสียไปจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งถือเป็นทางเลือก นอกเหนือไปจากการดำเนินคดีทางอาญา” ซอว์นีย์กล่าว “นี่เป็นผลสำเร็จครั้งสำคัญสำหรับผู้ประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมและผู้ประกอบการในประเทศไทย”

บ่อยครั้งที่การดำเนินคดีทางกฎหมายกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มีเบาะแสมาจากสายด่วนของบีเอสเอ ผู้ที่รายงานการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านทางสายด่วนโทร. 02-714-1010 มีโอกาสได้รับเงินรางวัลสูงสุดถึง 250,000 บาท ข้อมูลของผู้รายงานจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

อาทิมา ตันติกุล ชลิดา ศิริสุทธิเดชา

วีโร่พับลิครีเลชั่นส์ วีโร่พับลิครีเลชั่นส์

โทร: +66 (0) 2684-1551 โทร: +66 (0) 2684-1551

แฟกซ์: +66 (0) 2684-1553 แฟกซ์: +66 (0) 2684-1553

E-mail: [email protected] E-mail: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO