ตามประวัติโรงเรียนตั้งแต่เริ่มแรกก่อตั้งโดยดำริของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ทรงตระหนักถึงความสำคัญในด้านการสื่อสารของประเทศที่จำเป็นต้องมีบุคลากรเฉพาะด้านในการปฏิบัติงานให้ทันกับความต้องการในการขยายตัวของกิจการ จึงได้ตราข้อบังคับสำหรับนักเรียนฝึกหัดเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์โทรเลขประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2432 นับเป็นจุดเริ่มต้นของโรงเรียนไปรษณีย์โทรเลข แต่ไม่มีอาคารเรียนเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะโดยรับผู้ที่มีการศึกษาอ่านออกเขียนได้อย่างดี อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี และไม่เกิน 25 ปี เข้าเรียนเป็นนักเรียนฝึกหัด และ/หรือนักเรียนกอง เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้รับการบรรจุเป็น เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์โทรเลข
ใน พ.ศ. 2485 เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น คปท. หรือ คมนาคมไปรษณีย์โทรเลข และเป็นการเริ่มต้นนับรุ่นของผู้สำเร็จการศึกษาเป็น คปท. รุ่นที่ 1 มีอาคารเรียนอยู่ด้านหลังของกรมไปรษณีย์โทรเลข (บางรัก) ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมา พ.ศ. 2496 มีการปรับปรุงตึกไปรสณียาคาร 1 ที่วัดเลียบซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุ 1 ปณ. เป็นโรงเรียนกรมไปรษณีย์โทรเลข จนถึง 2506 คปท. รุ่นที่ 23 ซึ่งมี นายเสกสรร รอยลาภเจริญพร รองประธานกรรมการ บริษัท กสท.โทรคมนาคม (มหาชน) จำกัด และ นายศรีเมือง เจริญศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2506 โรงเรียนกรมไปรษณีย์โทรเลขได้มีสถานที่เรียนเป็นสัดเป็นส่วนโดยเฉพาะที่ ซอยสายลม ถนนพหลโยธิน จนถึง คปท. รุ่นที่ 36 พ.ศ. 2522 สถานที่แห่งนี้ได้สร้าง คปท. ผู้บริหารระดับสูงในปัจจุบันหลายท่าน ได้แก่ คปท. รุ่นที่ 27 นายวุฒิพงษ์ โมฬีชาติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานระบบปฏิบัติการ นายชินทัต หิรัญญะเวช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการภูมิภาค และ คปท. รุ่นที่ 31 นายปิยะวัตร์ มหาเปารยะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการนครหลวง
พ.ศ. 2522 โรงเรียนการไปรษณีย์และโทรคมนาคม ได้ย้ายมาอยู่ที่ ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ และ พ.ศ. 2547 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการไปรษณีย์ และใน พ.ศ. 2549 ปณท ได้เห็นชอบอนุมัติให้รับสมัครนักเรียนหญิงเป็นครั้งแรกจำนวน 60 คน (คปท. รุ่น 63)
หลักสูตรการเรียนการสอนแนวใหม่
จากความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้โรงเรียนปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัย เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่นำมาใช้กับงานบริการของ ปณท. ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระบบเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติ CA POS และระบบติดตามผล Track & Trace การเรียนและฝึกทักษะด้านภาษาเพื่อการบริการให้กับชาวต่างประเทศ และ การจัดการดูงานในที่ทำการไปรษณีย์ต่างๆ คู่ขนานไปกับการเรียนในภาคทฤษฎีเพื่อให้นักเรียนเห็นภาพการทำงานในสถานที่จริงก่อนออกไปปฏิบัติหน้าที่ จุดเด่นของการเรียนการสอนของโรงเรียน คือ การเน้นฝึกภาคปฏิบัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์จำลอง ทั้งการรับฝากไปรษณียภัณฑ์รูปแบบต่างๆ และการรับฝากจำนวนมาก และกระบวนการส่งต่อ เช่น การคัดเลือกไปรษณียภัณฑ์ ปิดถุงเมล์ และกระบวนการนำจ่าย เช่น การเตรียมการนำจ่าย การเรียงจ่าหน้า ประทับตรา และจัดเก็บสถิติปริมาณงาน ตลอดจนตรวจสอบกระบวนการนำจ่าย
ปัจจุบัน เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการให้บริการ คณะกรรมการโรงเรียนการไปรษณีย์ได้กำหนดให้นักเรียนไปรษณีย์รุ่นที่ 64 เข้าฝึกภาค ณ หน้าเคาน์เตอร์ที่ทำการไปรษณีย์รับฝากในพื้นที่กรุงเทพมหานครรวม 52 ที่ทำการ ระหว่างการปิดภาคเรียนที่ 1 เป็นระยะเวลา 5 วัน เพิ่มเติมจากเดิม ที่กำหนดให้ฝึกภาคปฏิบัติระยะเวลา 2 เดือน ในปลายภาคเรียนที่ 2 ก่อนสำเร็จการศึกษา
กิจกรรมเพิ่มศักยภาพนักเรียน
ตามที่โรงเรียนการไปรษณีย์ ได้กำหนดสมรรถนะนักเรียนไว้ว่า “ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย และสำนึกในการให้บริการที่ดี” ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนจึงกำหนดกิจกรรมต่างๆที่สนับสนุนให้นักเรียนมีสมรรถนะตามที่กำหนด ได้แก่
1. กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามัคคีและความมีระเบียบวินัย เช่น กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ณ โรงเรียนนายร้อย จปร. และค่ายนเรศวร กิจกรรมวันไหว้ครู และกิจกรรมกีฬาสีนักเรียนไปรษณีย์
2. กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกในการให้บริการที่ดี ได้แก่ การเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของ ปณท. เช่น กิจกรรมคัดแยกหนังสือในกิจกรรม 125 วันแบ่งปันเล่มโปรด หรือกิจกรรม ตักบาตรปีใหม่ของ ปณท. สถานที่เรียนทันสมัย พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเรียนการสอน
ปัจจุบันนี้ พนักงาน ปณท. ที่ได้เข้ามาอบรม ณ ฝ่ายพัฒนาบุคลากร หรือศิษย์เก่า คปท. ที่แวะมาเยี่ยมเยียนโรงเรียน ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า โรงเรียนการไปรษณีย์ในปัจจุบันมีทั้ง
ความสวยงามและทันสมัย เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ทั้งนี้ก็เพราะเราได้ปรับปรุงพัฒนาทั้งในด้านภูมิทัศน์โดยรวมของโรงเรียน เช่น จัดทำซุ้มเก้าอี้เพื่อให้นักเรียนอ่านหนังสือ พักผ่อน หรือเป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนนอกห้องเรียน และปรับปรุงสนามกีฬาของโรงเรียนให้สามารถรองรับการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ได้หลากหลายประเภทกีฬามากขึ้นทั้ง บาสเกตบอล ฟุตซอล วอลเลย์บอล เปตอง และตะกร้อ นอกจากนี้ ยังร่วมภาคภูมิใจไปกับนักเรียนรุ่นใหม่ที่ได้เรียนในห้องเรียนที่ทันสมัย อุปกรณ์การเรียนต่างๆ สมบูรณ์แบบ เช่น ห้องเรียน CA POS ห้อง Track & Trace และห้องเรียนคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ห้อง sound lab ที่ทำการไปรษณีย์จำลอง ซึ่งจัดไว้โดยเฉพาะสำหรับแต่ละวิชา และห้องเรียนที่เพิ่มขึ้นใหม่ล่าสุดคือห้องเรียนพลศึกษา
บุคลากรรุ่นใหม่ทั้งชาย-หญิงที่มีประสิทธิภาพ
จากสัมฤทธิผลในการเปิดดำเนินการโรงเรียนการไปรษณีย์มากว่า 118 ปี เราสามารถผลิตพนักงานชายที่มีประสิทธิภาพ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่ว อดทน ปณท. จึงอนุมัติให้โรงเรียนเปิดรับนักเรียนหญิงในปีการศึกษา 2550 (รุ่น 63) เพื่อเติมเต็มศักยภาพบุคลากรขององค์กรในการให้บริการในทุกรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน ดังนั้น ในเดือนตุลาคม 2552 โรงเรียนจะสามารถสร้างบุคลากรหญิงให้กับ ปณท. ได้รวม 120 คน
ในวันนี้ จึงกล่าวได้ว่าเราไม่เพียงสามารถภาคภูมิใจในการเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่สั่งสมมาในประวัติศาสตร์อันยาวนานและผลิตผลแห่งคุณภาพคือ ศิษย์เก่า คปท. ทั้ง 63 รุ่น จำนวน 10,441 คน ของโรงเรียนการไปรษณีย์ ซึ่งเปิดดำเนินการมาแล้วถึง 120 ปีเท่านั้น แต่ด้วยศักยภาพและความทันสมัยของโรงเรียนการไปรษณีย์ในปัจจุบันทำให้เรามั่นใจได้ว่าเราจะสามารถยืนหยัดโดยพลังและความภาคภูมิใจ เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการแข่งขันธุรกิจไปรษณีย์ยุคปัจจุบันได้อย่างยั่งยืนเพื่อสร้างการพัฒนาโดยการเปิดรีบี ค่าแก่ความทรงจำ