TMC เปิดแผนปี 52 ช่วย SMEs ไทยฝ่าวิกฤต

อังคาร ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๙ ๑๐:๕๒
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดแถลงข่าวเปิดแผนการดำเนินงานของ TMC ในปี 2552 เพื่อมุ่งช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการให้มากขึ้น

ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี(TMC) เปิดเผยว่า ในสภาวะวิกฤตของเศรษฐกิจโลก และส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจไทย TMC ซึ่งมีพันธกิจหลักในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างโอกาสให้วิสาหกิจไทยโดยบริหารจัดการเทคโนโลยีอย่างครบวงจรจะเข้าไปเน้นการทำงานกับวิสาหกิจชุมชนมากขึ้น รวมถึง กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักคือ อุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งของเศรษฐกิจไทย รวมถึงอุตสาหกรรมดังกล่าวยังสามารถเข้าไปประยุกต์และเกี่ยวข้องกับชุมชนต่างๆ นอกจากนี้ยังเน้นในการนำ IT เข้าไปช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้าถึงเทคโนโลยี และสามารถบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดต้นทุนและขยายตลาดให้กับอุตสาหกรรมไทยทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่

“ ขณะที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ TMC ซึ่งมีพันธกิจหลัก คือ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันและสร้างโอกาสให้วิสาหกิจไทยโดยบริหารจัดการเทคโนโลยีอย่างครบวงจร จึงปรับแผนการดำเนินงานของ TMC ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน คือ การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างโอกาในวิกฤต , การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดนผ่านกลไกของหน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้เป็นฐาน , ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคเอกชน โดยเน้นไปที่วิสาหกิจชุมชนมากขึ้น เพื่อให้การช่วยเหลือดังกล่าวเกิดผลต่อชุมชนมากขึ้น , บ่มเพาะธุรกิจสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่มีศักยภาพ และสนับสนุนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในทุกอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ ” ศ.ดร.ชัชนาถ กล่าว

ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) ยังได้กล่าวว่า การดำเนินงานของ TMC ในปี 2552 จะดำเนินงานภายใต้ 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ การผนึกกำลังภายใน สวทช. โดยคัดเลือกเอกชนที่มีความพร้อมมาจับคู่ประสานกับหน่วยวิจัยภายใน สวทช. เพื่อให้ได้ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ประสานหน่วยงานภายนอกโดยร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนเพื่อการสนับสนุนสมาชิกที่เหมาะสม นำร่องวิธีการใหม่ มุ่งคัดเลือกกลุ่มเอกชนที่เหมาะสม สนับสนุนเป็นโครงการกลุ่ม และกลยุทธ์สุดท้าย คือ ขยายวิธีการที่โดดเด่น เน้นเห็นผลเร็ว โดยร่วมมือกับบริษัทขนาดใหญ่ในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตสูงขึ้นและมุ่งถ่ายทอดไปสู่ผู้ประกอบการที่เป็นซัพพลายเออร์ (Supplier)ยการ

ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี TMC ยังได้กล่าวถึงการดำเนินงานหลักในปีที่ผ่านมาและงานที่ต้องการผลักดันให้มีการดำเนินการต่อไปในปี 2552 ว่า จากที่ได้ดำเนินการให้มีการจัดตั้ง สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย หรือ Thai-BISPA เพื่อสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจ อีกทั้งช่วยส่งเสริมให้มีการผลักงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ง่ายยิ่งขึ้น โครงการ smePower เพื่อสนับสนุนมาตรการทางการเงิน เช่น การปล่อยกู้ การค้ำประกันเงินกู้ “InnoBizMatching Day : Meet the Angels” ยังเป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งเปิดโอกาสให้กับภาคเอกชนที่มี “แหล่งทุน” ได้พบปะแลกเปลี่ยนหาแนวทางความร่วมมือกับนักเทคโนโลยี เพื่อหาแนวทางในการทำธุรกิจร่วมกัน หรือ โครงการ Lab To Market “จากงานวิจัยไปสู่ตลาด” เป็นโครงการที่สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี หรือ TLO จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิจัย สถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจ เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น และร่วมกันผลักดันงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

ด้าน ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สายงานโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวเสริมว่า ในฐานะเป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรม การพัฒนากำลังคน งานวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน มองว่า ‘การพัฒนาคนและการสร้างนวัตกรรม’ ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในยุคของความผันผวนและไม่แน่นอนของความต้องการสินค้าและบริการเช่นปัจจุบันนี้ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นต้องปรับปรุงตนเองใน 3 ด้าน คือ ความรู้ ความชำนาญ และความสามารถ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบสนองความต้องการของตลาดมากขึ้น ต้องมีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่มากขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ การสร้างพันธมิตรหรือเครือข่าย และการนำ IT ไปใช้เพื่อความอยู่รอด

“ ในยุคที่การหางานเป็นเรื่องที่ยาก TMC ได้เล็งเห็นความสำคัญในการสนับสนุนบัณฑิตจบใหม่ให้เข้ามารับการบ่มเพาะธุรกิจในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำหรับผู้ที่มีศักยภาพและต้องการทำธุรกิจเพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองตลาดในอนาคต 2-3 ปีข้างหน้า จึงนับเป็นโอกาสที่ดีในวิกฤตเช่นนี้ ส่วนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และต้องการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นก็สามารถเข้ารับการบ่มเพาะธุรกิจร่วมกับเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือ ซอฟต์แวร์พาร์คได้ ซึ่งเป็นอีกกลไกหนึ่งของ TMC ที่สนับสนุนให้มีการนำ IT เข้าไปใช้กับทุกภาคอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ถือเป็นแผนงานหลักของสายโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะสนับสนุนการยกระดับวิสาหกิจไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ” ดร.สุพัทธ์ กล่าว

ขณะที่ รศ.ดร.สมชาย ฉัตรรัตนา รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สายงานถ่ายทอดเทคโนโลยี กล่าวว่า ในส่วนการดำเนินงานของสายงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีในปี 2552 นี้ จะมุ่งเป้าไปที่ 3 ส่วนหลัก คือ 1. การสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน 2. ความร่วมมือกับวิสาหกิจขนาดใหญ่ และ 3. ความร่วมมือกับสถาบันการเงิน โดยในส่วนวิสาหกิจชุมชนนั้น เตรียมนำร่องการพัฒนาชุมชน “ตลาดน้ำอัมพวา จ.สมุทรสงคราม” แบบบูรณาการครบวงจร ด้วยการนำไอทีเข้าไปช่วยจัดทำเว็บไซต์เพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว โดยเผยแพร่ข้อมูลแนะนำชุมชนตลาดน้ำอัมพวาให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ตลอดจนการนำเทคโนโลยีเข้าไปพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าทะเลแปรรูป อาหารและขนมไทย ซึ่งจะดำเนินการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย.) และ การพัฒนาด้านสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น เช่น การนำเทคโนโลยีด้านเรือไฟฟ้าไร้เสียงจาก NECTEC เข้าไปช่วยขจัดปัญหาเสียงดังของเครื่องยนต์ เพื่อใช้เป็นพาหนะนำนักท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยในยามค่ำคืน เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังเข้าไปสนับสนุนกลุ่มล้านนาคอลเลคชั่น ซึ่งเป็นการร่วมกันของ 3 วิสาหกิจหลักในภาคเหนือ ประกอบด้วย ศูนย์หัตถกรรมร่มบ่อสร้าง, เซรามิก และกระเบื้องล้านนา ซึ่งได้รับผลกระทบจากยอดขายที่ลดลงในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยมีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการของตลาดได้มากขึ้น

สำหรับผลการดำเนินงานของ TMC ในปีที่ผ่านมาสามารถช่วยผู้ประกอบการไทยวิเคราะห์ปัญหาทางเทคนิคเบื้องต้นได้ประมาณ 600 บริษัท ให้คำปรึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีแก่ SMEs ประมาณ 300 โครงการ อนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้บริษัทเอกชนทำการวิจัยและพัฒนาได้กว่า 200 ล้านบาท มีผู้ประกอบการใหม่เข้ารับการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีมากกว่า 150 ราย สนับสนุนให้เกิดงานวิจัยและพัฒนาของเอกชนผู้เช่าพื้นที่ได้กว่า 130 โครงการ และก่อให้เกิดการจ้างงานในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่า 600 ตำแหน่ง รวมแล้วสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 3,000 ล้านบาท

งานประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี โทร. 0 2564-7000 ต่อ 1476-8 www.tmc.nstda.or.th

สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2270 1350-4 ต่อ 114, 115 อีเมล : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ