ดร.ทรอตทิเอร์ เป็นนักโบราณคดีประยุกต์ และเป็นสมาชิกของสมาคมผ้าไทย โดยเธอจะมาอธิบายถึงพัฒนาการของโครงการสว่างโบราณ และการสร้างสรรค์ความชำนาญที่แปลกใหม่และดั้งเดิม ทั้งนี้จะมีการแสดงสินค้าเพื่อให้ผู้ร่วมฟังการบรรยายได้เลือกซื้อเพื่อเป็นการสนับสนุนโครงการและสมาคมผ้าไทยต่อไปอีกด้วย
ดร.ทรอตทิเอร์ เริ่มโครงการสว่างโบราณในปี พ.ศ. 2550 หลังจากได้รับผ้าไทยแบบดั้งเดิมเป็นของขวัญ โครงการนี้เริ่มต้นขึ้นโดยมีสมาชิกเป็นหญิงสูงอายุเพียงห้าคนเท่านั้น เมื่อสิ้นปีพ.ศ. 2551 โครงการสว่างโบราณและหมู่บ้านเจ้าของโครงการได้รับเลือกจากทางการแห่งประเทศไทยให้ได้รับรางวัล “นกยูงทอง” ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผ้าไหมที่เลี้ยงตามแบบท้องถิ่นและย้อมด้วยสีธรรมชาติ โครงการนี้ยังได้รับเกียรติเข้าเยี่ยมชมของที่ปรึกษาพิเศษ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้อำนวยการสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ที่ต้องการศึกษารูปแบบของหมู่บ้านผู้ผลิตไหม
ดร.ทรอตทิเอร์ เคยเป็นนักขับร้องเพลงโบราณที่มีความเชี่ยวชาญด้านการขับร้องแปลความหมาย นักภาษาศาสตร์ และนักโบราณคดีประยุกต์ โดยมุ่งเน้นศึกษาความรู้แบบดั้งเดิมและมรดกเก่าแก่ เธอจบการศึกษาปริญญาโทศิลปศาสตร์ ด้านการศึกษาเกี่ยวกับชาวสลาฟมาจาก Sorbonne ในปี พ.ศ. 2519 และ ด้านมานุษยวิทยาการแพทย์ จาก Bobigny School of Medicine ในปี พ.ศ. 2540 และ ด้านการบริหารและการพัฒนามรดกแบบพอเพียงจาก The Australian National University ในปีพ.ศ. 2550 ปริญญาเอกด้านมานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรมจาก Ecole des Hautes Etudes en Sciences Sociales ในปารีสในปีพ.ศ.2547 วิทยานิพนธ์ของเธอศึกษาเรื่องมิติเพศของ the Baul of Bengal.
กิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้น ในวันเสาร์ ที่ 28 มีนาคม 2552 เวลา 10.30 น. ณ ห้องบรรยาย ชั้น 4 สยาม สมาคม เลขที่ 131 ถ.สุขุมวิท 21 (ซอย อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 สามารถเดินทางด้วยรถไฟฟ้า บีทีเอส สู่สถานีอโศก หรือรถไฟฟ้าใต้ดินสู่สถานีสุขุมวิท และทุกท่านที่เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย สามารถร่วมบริจาคสมทบทุนสมาคมผ้าไทยได้ สมาชิกสมาคมผ้าไทย และสยามสมาคม มูลค่า 100 บาท และสำหรับบุคคลภายนอก 200 บาท สำรองที่นั่งและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล์ [email protected]
สมาคมผ้าไทย เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร อุทิศการทำงานเพื่อการศึกษาและอนุรักษ์คุณค่าของผ้าทอ โดยเน้นการศึกษาผ้าทอของประเทศไทยและประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ทางสมาคมมีความยินดีเปิดรับผู้ที่มีความสนใจร่วมเป็นสมาชิก โดยสามารถเยี่ยมชมรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมาคมผ้าไทยได้ที่เว็บไซต์www.thaitextilesociety.org
รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อวิมลพรรณ วิบูลย์มาบริษัท ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัดโทรศัพท์ 02 260-5820 ต่อ 124 โทรสาร 02 260-5847/8 อีเมล์ [email protected]