ออทิสติก (Autistic) เป็นกลุ่มอาการที่เกี่ยวกับพฤติกรรม จากการวิจัยพบว่าเด็กที่มีอาการออทิสติกตั้งแต่ยังเล็กคือในช่วงอายุประมาณ 2 ขวบ พ่อแม่จะเริ่มสังเกตได้ว่ามีอาการว่าไม่ปกติ แต่ปัจจุบันพบว่า อาการออทิสติกนั้นสามารถรักษาให้หายได้ โดยบางครอบครัวคิดหาวิธีการรักษาด้วยตัวเอง เข้าห้องสมุด searchด้วยการหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต บางรายก็พยายามหาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อปรึกษาและรักษาลูกของตน
ตรัยยา (TRIA) ศูนย์สุขภาพองค์รวม และสปาโรงพยาบาลปิยะเวท และคณะแพทย์โดย นายแพทย์ต่อศักดิ์ ทิพย์ไพโรจน์ ได้ทำการรักษาเด็กสมาธิสั้น และให้ความสนใจเป็นพิเศษเรื่องภาวะออทิสติก ซึ่งพบว่าปัจจุบันมีเด็กไทยที่มีอาการออทิสติกเพิ่มมากขึ้น สาเหตุมักเกิดจากเด็กในครรภ์ และ/ เด็กเล็ก ๆ ได้รับการระมัดระวังในเรื่องของสุขอนามัย มากจนขาดภูมิต้านทาน รวมถึงการได้รับวัคซีนต่าง ๆ ตลอดจนการรับประทานอาหารที่ไม่ขาดความสมดุลต่อร่างกาย สะสมโลหะหนักมากเกินไป เช่น ปลาทะเลซึ่งมีปรอทมาก หรือของเล่นเด็กที่มีสารตะกั่วปนมากับสีที่มากับของเล่น และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปของคนเมือง ทำให้เด็กยุคใหม่มีอาการภูมิแพ้ และหอบหืด เพิ่มมากขึ้น
นายแพทย์ เจฟ แบรดสตรีท ได้กล่าวว่า “ ตัวบ่งชี้ (Marker) ที่พบในตัวเด็กภาวะออทิสติก คือการวัดความเสียหายของ DNA, RNA และไขมัน และตัวบ่งชี้ภาวะระบบภูมิต้านทานหลายตัวเพื่อเป็นตัวติดตามภาวะความไม่สมดุลของเด็กในกลุ่มนี้ ซึ่งคุณหมอได้นำวิธีเหล่านี้ทำการบำบัดรักษาลูกชาย (แมทธิว) ที่มีภาวะออทิสติกเป็นเวลาประมาณ 10 ปี (ปัจจุบันอายุประมาณ 15 ปี) กล่าวได้ว่าเขาเป็นปกติแล้ว 80% สามารถใช้ชีวิตร่วมอยู่ในสังคมได้ เล่นกีฬาได้ โดยคุณหมอแนะนำว่า “ควรเริ่มรักษาเด็กเมื่ออายุยังน้อย จะมีโอกาสกลับมาเป็นปกติเร็วขึ้น เพราะความเสียหายยังมีน้อยอยู่” สำคัญที่สุดคือ อาหารที่มีความสมดุล (Balance) การหมุนเวียนอาหาร (Rotation) อาหารพื้น ๆที่เป็นวัตถุดิบธรรมชาติ (Organic Food)”
คุณแม่มือใหม่ควรสังเกตพฤติกรรมของลูก และทำการบันทึกถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลง และเกิดขึ้นกับลูกของคุณ เช่น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ นอนไม่หลับ หากแสดงอาการผิดปกติควรให้ลูกหยุดรับประทานอาหารนั้นๆ และบันทึกอาการที่เกิดขึ้น และรีบปรึกษาแพทย์
นายแพทย์ต่อศักดิ์ ทิพย์ไพโรจน์ ได้กล่าวถึงการแพทย์แบบบูรณาการ กับการดูแลภาวะออทิสติก โดยเน้นในเรื่องการผสมผสาน และการดูแลเด็กไปพร้อมกับการส่งเสริมระบบการทำงานในร่างกายไม่ให้เสียสมดุลร่วมกับการฝึก ภาวะโภชนาการ ควบคู่กันไป 50% ของเด็กออทิสติก จะมีปัญหาเรื่อง ลม / แก๊ส ในท้อง ระบบภูมิต้านทาน และ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะ
เมื่อลูกมีอาการผิดปกติ พ่อแม่ส่วนใหญ่จะพาไปตรวจ และอาจเจอความผิดปกติจริง ๆ เช่น แบคทีเรียในลำไส้ไม่สมดุล (แบคทีเรียดีมีน้อยกว่าแบคทีเรียไม่ดี หรือ น้ำย่อยดี มีน้อยกว่าน้ำย่อยไม่ดี) ก็จะนำภาวะโภชนาการมาใช้กับเด็ก สังเกตปฏิกิริยากับตัวเด็ก สุขบำบัดในการกิน กินให้ช้าลง เป็นต้น อย่างเช่น คุณกิดานันท์ สุจินัย คุณแม่ที่เลี้ยงลูกออทิสติก ได้เล่าประสบการณ์ดูแลลูกออทิสติกโดยใช้กระแสหลัก และแนวทาง Bio Medical ค้นคว้าศึกษาด้วยตัวเอง และแพทย์ทั้งในและนอกประเทศ จนได้มาพบคุณหมอต่อศักดิ์ และเลือกที่จะให้ลูกเข้ารับการบำบัดที่นี่ จนเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดสัมมนาวิชาการเรื่อง “การแพทย์แบบบูรณาการ กับภาวะออทิสติก”ขึ้น
ปัจจุบัน ตรัยยา (TRIA) ศูนย์สุขภาพองค์รวม และสปา โรงพยาบาลปิยะเวท มีบริการดูแลสุขภาพ การบำบัดเด็กสมาธิสั้น ผู้ที่มีภาวะภูมิแพ้เรื้อรัง โดยใช้การแพทย์แบบ Functional Medicine รวมทั้งการตรวจหาโรคเรื้อรัง ที่เรียกว่า TRIA Wellness Screening เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธี
สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมงานสัมมนาเรื่อง “การแพทย์แบบบูรณาการ กับภาวะออทิสติก” ครั้งนี้ สามารถติดต่อขอรับ VCD หรือสำรองนัดเพื่อพบแพทย์ได้ที่โทร. 02-660 2602 หรือE-mail: [email protected]
“ตรัยยา ศูนย์สุขภาพองค์รวม และสปา โรงพยาบาลปิยะเวท ( “TRIA Integrative Wellness : Asia’s Leading International Wellness Center)
TRIA (ตรัยยา) คือ ศูนย์สุขภาพองค์รวม และสปาที่ครบวงจร (Integrative Wellness) ที่และใหญ่ที่สุดในภาคพื้นเอเชียภายใต้เนื้อที่กว่า 13,000 ตารางเมตร ซึ่งผสมผสานเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ เข้ากับการรักษาแบบการแพทย์ทางเลือก พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำในด้านการดูแลรักษาสุขภาพ ตลอดจนให้ความรู้ด้านโภชนาการที่ถูกต้อง การออกกำลังกาย และการบริการในด้านสปา เน้นการดูแลสุขภาพในรูปแบบธรรมชาติบำบัด ด้วยทีมแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
จุดเด่นของ TRIA (ตรัยยา) คือการให้บริการทางด้านสุขภาพ ที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการรักษา และบำบัด นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาแบบธรรมชาติบำบัดโดยปราศจากสารเคมี ด้วยแพทย์ทางเลือกที่มีความชำนาญ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่ไม่ควรมองข้าม
ข้อมูลเผยแพร่โดย
สันทนา (กมลภา) เจริญพงษ์ (โทรศัพท์ 089-123 3209, E-Mail: [email protected])
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณ กลิตา บุตรดี (02-660 2750 MB: 081-173-9495)
E-mail : [email protected]