อินโดรามายิ้ม กำไรโตกว่า 44% พร้อมจ่ายปันผล 0.24 บาท

จันทร์ ๐๒ มีนาคม ๒๐๐๙ ๑๗:๒๙
อินโดรามา ยิ้มรับกำไรสุทธิโตกว่า 44% แตะ 1,500 ล้านบาทปี 2551 ในขณะที่ กลุ่มธุรกิจ IRP ปริมาณการขายทั่วโลกมีอัตราการเติบโตถึง 57.4% มากกว่า 3.4% ของอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม ย้ำควบคุมความเสี่ยงอย่าภายใต้ภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ พร้อมอนุมัติปันผล 0.24 บาทให้ผู้ถือหุ้น

นายอาลก โลเฮีย ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท อินโดรามา โพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน) IRP เปิดเผยว่าในปี 2551 บริษัทมีกำไรสุทธิ 1,543 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 43.8% จาก 1,073 ล้านบาท ในปี 2550 มาเป็น 1,543 ล้านบาท เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของความต้องการในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และการขยายฐานธุรกิจของบริษัทฯ

“ปี 2551 นับว่าเป็นปีที่ดีของเรา ซึ่งบริษัท ฯ จะได้มีการควบคุมและการจัดการความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ในการบริหารงานสาขาทั่วโลกภายใต้ภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่า อุตสาหกรรมโดยรวมของธุรกิจ PET จะยังมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นในปี 2552 ซึ่งจากการขยายฐานธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เราเชื่อมั่นว่า ผลประกอบการของบริษัท ฯ จะยังดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้” นายอาลกกล่าว

ในปี 2551 มาค่าสเปรดของผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นถึง 234 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือ คิดเป็นร้อยละ 15.27 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในปี 2550 ซึ่งมีราคาอยู่ที่ 203 เหรียญสหรัฐต่อตัน

“ในส่วนของอัตรากำไร IRP มี อัตรากำไร คิดเป็นร้อยละ 7.3 โดยเราหวังว่า อัตราส่วนการทำกำไรของเราจะยังคงอยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่องในปีนี้ และตัวเลขทั้งหลาย ได้อธิบายถึงผลประกอบการอันแข็งแกร่งของเราได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว” นายอาลกกล่าว

ในปี 2551 อินโดรามามียอดขายสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 25,551 ล้านบาท มาเป็น 40,969 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 60.4 ทั้งนนี้เป็นเพราะปริมาณการขายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 57.4 และราคาขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ตามลำดับ ในขณะที่ อัตรากำไรก่อนหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (EBITDA) คิดเป็นมูลค่า 2,980 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.4% จาก 2,080 ล้านบาทในปี 2550

นายอาลก ยืนยันว่า อุตาสาหกรรมโพลีเมอร์ เป็นส่วนหนึ่งของความต้องการในชีวิตของผู้บริโภค จึงทำให้ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจนั้น ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโพลีเมอร์น้อยมาก โดยเฉพาะความต้องการที่เติบโตอย่างสูงใน บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน

ในปี 2551 บริษัทฯ ได้เข้าซื้อกิจการ 2 แห่งในทวีปยุโรป และการเริ่มโครงการผลิตเม็ดพลาสติกขั้นกลาง Amorphous PET ที่โรงงานในจังหวัดลพบุรีประเทศไทย โดยมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 409,000 ตันต่อปี โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก PET ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจ IRP สร้างปริมาณการขายทั่วโลกมีอัตราการเติบโตถึง 57.4% และนับว่าเป็นการเติบโตที่สูงกว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตเพียง 3.4%

“ซึ่งในปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการหลายรายในยุโรปและสหรัฐอเมริกาปิดตัวลง ทำให้การเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของเรามีความได้เปรียบ ที่จะผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาส 1 ของปีนี้ ผลประกอบการก็ยังคงดีอยู่ ซึ่งเรามั่นใจว่ายอดขายของเราจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน” นายอาลก กล่าว

นอกจากนี้แล้ว ที่ประชุม คณะกรรมการบริษัท อินโดรามา โพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน) IRP ได้มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลหุ้นสามัญในอัตราหุ้นละ 0.24 บาท โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการรับเงินปันผลในวันที่ 12 พฤษภาคม 2552 (Record Date) และให้รวบรวมรายชื่อตามมาตรา 225 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยวิธีปิดสมุดทะเบียนในวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 และกำหนดจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 28 พฤษภาคม 2552

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 081-406-8811 (ทศ)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ