ม.มหิดล ย้ำภาพผู้นำด้านการแพทย์ ชูนวัตกรรมการแพทย์แนวใหม่ เทคโนโลยีการกระตุ้นระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า ช่วยยืดอายุของมนษย์ให้ยืนยาวกว่าในอดีต

อังคาร ๐๓ มีนาคม ๒๐๐๙ ๑๕:๓๘
ดร. เซง เลิศมโนรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และ ชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าโครงการวิจัย “การวิจัยและพัฒนาเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดฝังลงในร่างกาย” และการกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อขับปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยอัมพาต” ซึ่งได้รับรางวัล “Neural Engineering Excellence Award, the 2nd International IEEE Engineering in Medicine and Biology Society Conference on Neural Engineering, Arlington, USA เมื่อปี พ.ศ. 2548 กล่าวว่า “ การกระตุ้นระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้าเป็นวิธีการบรรเทาโรคที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งสำหรับโรคที่ยังไม่มียารักษา หลักการคือ การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าแบบฝังลงในร่างกาย (IMPLANTABLE PULSE GENERATOR, IPG) ส่งสัญญาณไฟฟ้าไปกระตุ้นระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อในจุดที่ต้องการ คนไทยส่วนใหญ่รู้จักเทคโนโลยีนี้ในรูปของเครื่องกระตุ้นหัวใจ แต่ที่จริงแล้ว IPG ยังสามารถบรรเทาอาการของโรคต่างๆ มากมาย เช่น การช่วยคนหูหนวกให้ได้ยินโดยการกระตุ้น COCHLEAR, การบรรเทาอาการสั่นของโรค พาร์คินสัน (PARKINSON) โดยการกระตุ้นสมอง, การบรรเทาอาการโรคลมชักโดยการกระตุ้นเส้นประสาท VAGUS, การกระตุ้นไขสันหลังเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดเรื้อรัง, การควบคุมร่างกายของผู้ป่วยอัมพาตเช่น การยืน, การเดิน, การหยิบจับ, การหายใจ, การขับปัสสวะ อย่างไรก็ตาม การรักษาเหล่านี้ไม่แพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากเราไม่มีเทคโนโลยีเป็นของเราเอง และจำเป็นต้องอาศัยการนำเข้าทั้งสิ้นในราคาที่สูงถึงประมาณเครื่องละ 400,000 บาท

มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาเทคโนโลยีการกระตุ้นไฟฟ้านี้เพื่อคนไทย โดยเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของ 6 คณะ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ กายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นผู้พัฒนาเครื่อง IPG นี้ คณะวิทยาศาสตร์จะ ทดสอบความปลอดภัยของเครื่อง IPG โดยการจุ่มเครื่องลงในสารละลายเป็นระยะเวลานานประมาณ 6 เดือน และตรวจสอบหาโลหะหนักในสารละลายนั้น เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่อง IPG จะไม่หลั่งสารใดๆ เมื่อถูกฝังลงในร่างกาย หลังจากนั้นคณะสัตวแพทยศาสตร์จะทำการทดสอบความพร้อมของเครื่องกระตุ้นนี้ในสัตว์ทดลอง เครื่อง IPG นี้จะพร้อมทดสอบกับผู้ป่วยที่สนใจในปี 2553 ภายใต้การดูแลของคณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ทั้งจาก รพ.รามาธิบดีและ รพ. ศิริราช

นอกจากเครื่อง IPG นี้แล้ว เรายังได้พัฒนาเทคโนโลยีกระตุ้นไฟฟ้าสำหรับช่วยบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะกายภาพบำบัด โรคนี้เป็นโรคที่คุกคามสุขภาพของคนไทยเป็นอันดับที่ 3 รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง ซึ่งหากผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้ก็มักจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อฝ่อ ลีบ และ เกร็ง ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย แต่การทำกายภาพบำบัดเห็นผลของการรักษาค่อนข้างช้า และในผู้ป่วยบางรายไม่สามารถฟื้นฟูกล้ามเนื้อได้ทุกกลุ่ม

ดังนั้นการกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้านี้จึงสามารถช่วยผู้ป่วยให้ฟื้นฟูร่างกายได้หากผู้ป่วยได้รับการกระตุ้นกล้ามเนื้อแต่เนิ่นๆ จะสามารถคงสภาพของกล้ามเนื้อไม่ให้ฝ่อลีบ ซึ่งช่วยเตรียมความพร้อมของร่างกายในช่วงพักฟื้นก่อนรับการกายภาพบำบัด นอกจากนี้การกระตุ้นไฟฟ้ายังสามารถช่วยลดอาการกล้ามเนื้อเกร็งได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีกระตุ้นกล้ามเนี้อนี้ไม่ถูกใช้แพร่หลายในประเทศไทย ด้วยเครื่องที่มีประสิทธิภาพดีนั้นมีราคาสูงมาก ผู้ป่วยจำเป็นต้องมาใช้ที่โรงพยาบาล ทีมผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อคุณภาพดี ขนาดกระทัดรัด และราคาประมาณ 3,000 บาท ขึ้นมา โดยเครื่องกระตุ้นดังกล่าวได้ผ่านการทดลองใช้กับผู้ป่วยที่คณะกายภาพบำบัดแล้ว และด้วยราคาถูกนี้ ผู้ป่วยสามารถมีไว้ใช้ได้ที่บ้านเพื่อเพิ่มประมาณการบำบัดให้กับตัวเองได้ นอกจากนั้นเครื่องที่เราพัฒนาขึ้นนี้ สามารถตั้งค่าเวลาการกระตุ้นให้สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่นการเดิน และนักกายภาพบำบัดสามารถใช้เครื่องกระตุ้นนี้ร่วมกับการฝึกควบคุมร่างกาย โดยไม่ต้องออกแรงโยกแขนขาของผู้ป่วยแบบที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-812-6308-10 จิรพร ชีวะธรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version