กบง. อนุมัติงบจากกองทุนน้ำมันฯ จ่ายชดเชย LPG นำเข้า

อังคาร ๐๓ มีนาคม ๒๐๐๙ ๑๖:๔๔
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ นำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายเงินชดเชยการนำเข้าก๊าซ LPG ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 เป็นต้นไป ในวงเงินไม่เกินเดือนละ 500 ล้านบาท และให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) พิจารณาจ่ายเงินชดเชยสำหรับก๊าซ LPG จากการนำเข้าในปี 2551 เป็นจำนวนเงินประมาณ 7,948 ล้านบาท ระยะเวลาการจ่ายเงินชดเชยภายใน 2 ปี หลังจากสิ้นสุดมาตรการด้านภาษีสรรพสามิตแล้ว

ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมนโยบายแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 16 มกราคม ที่ผ่านมาในเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG ซึ่งในที่ประชุมมีมติให้ชะลอการปรับราคาก๊าซ LPG ออกไปก่อน เนื่องจากราคายังอยู่ในระดับต่ำและสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัว เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 นั้น มีเงินสุทธิ 19,840 ล้านบาท มีหนี้สิ้นกองทุน 3,223 ล้านบาท ซึ่งแยกเป็นหนี้ค้างชำระชดเชย 3,011 ล้านบาท และงบประมาณบริหารและโครงการซึ่งได้รับอนุมัติแล้ว 212 ล้านบาท

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมติเห็นชอบให้การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล B100 จากเดิมได้กำหนดเพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อใช้ในการคำนวณราคาไบโอดีเซล B100 ให้ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซีย + 3 บาทต่อกิโลกรัม ปรับใหม่เป็นให้อ้างอิงราคาปาล์มดิบชนิดสกัดแยก(เกรดเอ)ตามกรมการค้าภายในประกาศเผยแพร่ แต่ไม่สูงกว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบที่คำนวณจากราคาปาร์มทะลาย (น้ำมันร้อยละ 17) ตามที่กรมการค้าภายในประกาศเผยแพร่บวกค่าสกัด 2.25 บาท/กิโลกรัม เป็นการชั่วคราวถึง 31 พฤษภาคม 2552 หลังจากนั้นให้กลับมาใช้เพดานราคาน้ำมันปาล์มดิบ(CPO) ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2552 ถึง 31 พฤษภาคม 2552 นี้ ซึ่งการปรับปรุงดังกล่าวนี้ เพื่อให้ผู้ค้าผลิตไบโอดีเซล (B100) จำหน่ายให้กับผู้ค้ามาตรา 7 โดยสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงในอุตสาหกรรมไบโอดีเซล และสอดคล้องกับมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 จึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบให้ปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าจำหน่าย ตามผลการศึกษาของสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) เป็นผู้ประเมินมาตรฐานคุณภาพของ กฟผ. และ การไฟฟ้าจำหน่าย โดยจะมีการสำรวจความพึงใจของผู้ใช้ไฟฟ้าต่อการบริการของ กฟผ. และการไฟฟ้าจำหน่าย ตลอดจนการเสนอแนะการปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพบริการ และการกำหนดบทปรับให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นในระยะต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ