บริษัท โตโยต้าโบโชคุ เอเชีย พร้อมคณะผู้บริหารญี่ปุ่นและไทย เข้าพบรัฐมนตรีแรงงาน นายไพฑูรย์ แก้วทองและผู้บริหารระดับรองปลัดกระทรวง อธิบดีกรมต่างๆ เพื่อกระชับความเชื่อมั่นสองฝ่าย ในเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจโลกกระทบสู่ไทย ณ ขณะนี้จนเป็นเหตุให้หลายบริษัท จำเป็นต้องปรับลดจำนวนพนักงานตามกำลังการผลิตเพื่อให้สอดคล้องแก่รายได้บริษัท เพื่อให้กิจการดำรงค์อยู่ได้ด้วยเนื่องจากเหตุการณ์นี้ จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดชุมนุมของลูกจ้างเพื่อเรียกร้องสิทธิด้านแรงงาน โดยบางกลุ่มก็ใช้สิทธิชุมนุมแบบถูกต้อง และบางกลุ่มละเมิดสิทธิโดยชุมนุมไม่ถูกต้องตามกฏหมาย ทำให้เกิดความเดือดร้อนไม่เพียงแต่เฉพาะนายจ้างเท่านั้น แต่ยังสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนอื่นๆ และก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย จึงเป็นสาเหตุให้ชาวต่างชาติขาดความเชื่อมั่น ต่อมาได้มีบริษัทซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่เพื่อขายในประเทศไทยและส่งออกไปต่างประเทศ ในนาม โตโยต้าโบโชคุ ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับ โตโยต้ากรุ๊ป ปัจจุบันมีโรงงานตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐอยู่ในพื้นที่จังหวัด ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา และมีสำนักงานภูมิภาคเอเชีย เพื่อช่วยในการบริหาร กำกับ และดูแลกิจการ ในเครือ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศในแทบภูมิภาคเอเชีย
กลุ่มบริษัท โตโยต้าโบโชคุ เอเชีย ได้มีการลงทุนจดทะเบียนในบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 1675 ล้านบาท และมียอดขายต่อปีรวมกันเฉพาะบริษัทในกลุ่ม ที่ประเทศไทย ประมานสามหมื่นล้านต่อปีซึ่งคิดเป็นสัดส่วนได้มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับรายได้จากประเทศอื่นๆ รวมกันในภูมิภาคเอเชียและโอเชี่ยนน่า ถือเป็นความภูมิใจและเกิดประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง อาทิเช่น เกิดการจ้างงาน ซึ่งปัจจุบันมีพนักงานรวมกันในกลุ่มประมาน 3151 คน
ปัจจุบันยอมรับว่า โตโยต้าโบโชคุ ในไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจเหมือนกันกับกิจการอื่นจนส่งผลทำให้ประมานการณ์ยอดขายของบริษัททั้งกลุ่มในไทยปี2009นี้ลดลงจากปีก่อน รวมต่ำกว่า 22% (หรือลดลงประมาน 6842 ล้านบาท) แต่ทางบริษัททั้งกลุ่มก็พยามที่จะให้เกิดผลกระทบต่อการจำเป็นที่จะต้องปรับลดจำนวน พนักงานประจำลงให้น้อยที่สุด ซึ่งในแผนที่จัดทำล่าสุดเมื่อ
มกราคม 2009 นี้ สรุปว่าอาจมีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดจำนวน พนักงานประจำลดลงประมาณ 4% (หรือลดพนักงานประมาณ 126 คน) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของตลาดโลกเป็นสำคัญ " ในขณะเดียวกันในกลุ่มบริษัท ยังคงวางแผนว่าจะมีการลงทุนต่อเนื่องในไทยปีนี้ต่อเนื่องอีกประมาณกว่า 937 ล้านบาท ในธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อรองรับให้ไทยเป็นศูนย์ภูมิภาคเอเชียรวมโอเชียนน่า ตามที่บริษัทแม่ได้วางเป้าหมายและตอบรับกับที่ ประเทศไทยสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ และอาจมีเป้าหมายต่อไปจากนี้อีก คือให้ไทยเป็นศูนย์ฝึกอบรม (Training Centre) และศูนย์ค้นคว้าวิจัย (R&D) ของกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ในกลุ่มของ โตโยต้าโบโชคุ ในภูมิภาคเอเชียรวมโอเชียนน่า ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อการจ้างงาน และการถ่ายทอดความรู้เชิงเทคนิคแก่คนไทย ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันนี้ คงเป็นไปได้ยากที่จะคาดเดาตลาดโลก และวางแผนใดๆ ได้อย่างถูกต้อง และหากไม่มีความจำเป็นจริง การลดจำนวนพนักงานประจำลงคงไม่เกิด และหากเกิดผู้บริหารก็คงรู้สึกเจ็บปวด อีกทั้งนโยบายของโตโยต้าโบโชคุเราเองการลดพนักงาน ประจำก็จะมีขั้นมีตอนและต้องมีการประชุมเพื่อขอมติรับทราบก่อน ถึงจะปฏิบัติได้ จึงไม่ใช่การจะตัดสินใจใดๆ ได้โดยง่าย ส่วนเรื่องของการเป็นศูนย์ภูมิภาคเอเชียนั้น การที่ไทยได้รับเลือกเป็นศูนย์ค้นคว้าวิจัย และอนาคตอาจเป็นศูนย์อบรมต่อไปอีกนั้น ย่อมหมายถึงความช่วยเหลือและแรงสนับสนุนที่ดี ระหว่างภาครัฐต่างๆ กับเอกชน และที่สำคัญแรงงานสัมพันธ์ที่บริสุทธิระหว่าง นายจ้างและลูกจ้าง ที่จะเผชิญไปด้วยกัน ด้วยความเข้าใจและมีเหตุผล อยู่บนพื้นฐานความถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งต้องบริหารให้กิจการหรือองค์กรดำรงค์อยู่ได้ด้วย พนักงานถึงจะอยู่ได้ แล้วจึงเกิดการขึ้นเงินเดือน โบนัส และสวัสดิการอื่นๆ ตามมา
การให้ข้อมูลเพิ่มเรื่องสิทธิหน้าที่และข้อพึงปฏิบัติของนายจ้าง ลูกจ้าง ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบันนี้ และได้แจ้งแก่คณะผู้บริหารที่เข้าพบว่า ทางกระทรวงได้มีมาตราการและคำสั่งชัดเจนเกี่ยวกับการใช้สิทธิชุมนุมเรียกร้องสิทธิของลูกจ้าง ว่าการชุมนุมทำได้โดยสงบและปราศจากอาวุธ และต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ผู้เสียหายอาจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญากับผู้ชุมนุมได้ให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ผู้เสียหายอาจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญากับผู้ชุมนุมได้ขณะเดียวกันท่านรัฐมนตรีไพฑูรย์ ก็มีความเป็นห่วงกับนายจ้างที่ทำไม่ถูกกฏหมายเหมือนกัน ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นผู้ประกอบการรายเล็กที่อยู่ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจแล้วอาจไปไม่ได้ แล้วก็ไม่สามารถจะปฏิบัติตามข้อพึงปฏิบัติของนายจ้างตามกฏหมายกำหนดจึงได้เกิดปัญหาอยู่บ้างในปัจจุบัน แต่ส่วนบริษัทของคณะผู้เข้าพบคิดว่าเป็นบริษัทที่ดีและมีชื่อเสียงคงไม่น่าเป็นห่วงอันใดแต่อย่างไรก็ดี จากข้อมูลที่มีอยู่การเกิดการชุมนุมมักเกิดเป็นช่วงๆ เช่น ช่วงขึ้นเงินเดือน ช่วงจ่ายโบนัส เป็นต้น และที่ตนได้ข้อมูลมา บางบริษัทที่มีการชุมนุมอาจมีลูกจ้างเพียงจำนวนไม่กี่เปอร์เซ็นต์จากส่วนใหญ่เข้าชุมนุม แต่อาจเป็นเพราะแกนนำต้องการแสดงผลงานให้เป็นที่พอใจเพื่อจะได้สมาชิกเพิ่มขึ้นไปอึกจำนวนมากๆ จึงเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ต้องจัดให้เกิดชุมนุม จึงฝากให้ทางกระทรวงโดยเฉพาะกรมที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีหน้าที่โดยตรงอยู่แล้ว ให้รีบแก้ปัญหาให้เร็วและถูกต้องด้วย
หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
องค์อร ภมรสุวรรณ โทร. 086-338-3824