โรช ไดแอกโนสติกส์ จับมือ ไบโอเทค จัดประกวดโครงงานวิจัยพันธุกรรม The Great Gigabase Grant

พฤหัส ๑๒ มีนาคม ๒๐๐๙ ๐๗:๕๖
โรช ไดแอกโนสติกส์ จับมือ ไบโอเทค จัดประกวดโครงงานวิจัยพันธุกรรม The Great Gigabase Grant เชิญชวนนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และบุคลากรทางการแพทย์ ชิงทุนวิจัย กว่า 3.5 ล้านบาท

โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จับมือกับ ไบโอเทค และ ไบโอจีโนเมด จัดโครงการประกวดผลงานวิจัยพันธุกรรม THE GREAT GIGABASE GRANT หรือ 3Gs มุ่งพัฒนาและสรรหาผลงานวิจัยพันธุกรรมระดับคุณภาพ เพื่อต่อยอดประโยชน์แก่มวลมนุษย์ เชิญชวนนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และบุคคลากรทางการแพทย์ ทั้ง 4 ประเทศ ในแถบอินโดไชน่า ร่วมส่งผลงานชิงทุนวิจัยกว่า 3.5 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 11 มีนาคม — 17 กรกฏาคม 2552 นี้

นายชนก อวิรุทธการ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัท บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมกับ สถาบันจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค และ บริษัท ไบโอจีโนเมด จำกัด จัดโครงการประกวดผลงานวิจัยพันธุกรรม THE GREAT GIGABASE GRANT หรือ 3Gs โดยจะเปิดรับผลงานวิจัยจากนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และบุคลากรทางการแพทย์ ใน 4 ประเทศ แถบอินโดไชน่า ได้แก่ ประเทศไทย ลาว เขมร พม่า เพื่อคัดเลือกผลงานที่ผ่านการพิจารณา และรับทุนสนับสนุนการวิจัยอย่างจริงจัง โดยทุนวิจัยนี้ ประกอบไปด้วย การทำงานวิจัยผ่านเครื่อง GS FLX ซึ่งเป็นเครื่องอ่านลำดับเบสดีเอ็นเอ รุ่นใหม่ล่าสุด ผลิตโดย 454 Life Sciences ภายใต้การบริหารของ โรช ไดแอกโนสติกส์ ที่มีเทคโนโลยีและซอฟแวร์ สามารถอ่านค่าเบสดีเอ็นเอได้อย่างรวดเร็ว มากกว่า 300 ล้านเบส ภายใน 10 ชั่วโมงเท่านั้น โดย โรช ไดแอกโนสติกส์ ได้สนับสนุนน้ำยา ในการทำวิจัยจำนวน 3 ทุน รวมมูลค่าประมาณ 3.5 ล้านบาท ทั้งนี้ จะเปิดรับผลงานวิจัย ตั้งแต่วันนี้ ถึง 17 กรกฎาคม 2552

THE GREAT GIGABASE GRANT เป็นความร่วมมือ ระหว่าง โรช ไดแอกโนสติกส์ กับ ไบโอเทค และ ไบโอจีโนเมด ในการนำเครื่อง GS FLX ที่มีเทคโนโลยีและระบบซอฟแวร์ขั้นสูง ด้วยหลักการ Pyrosequencing อ่านลำดับดีเอ็นเอด้วยหลักการ Sequencing by Synthesis โดยปฏิกิริยาสร้างสายดีเอ็นเอ ซึ่งในการทำงานวิจัยแต่ละครั้ง จำเป็นต้องใช้น้ำยาที่เฉพาะกับ เครื่องเท่านั้น ดังนั้น การจับมือกันครั้งนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสนับสนุนนักวิจัย ให้มีโอกาสในการศึกษาวิจัยทางด้านการแพทย์ ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และด้านเกษตรกรรม โดยสามารถลดขั้นตอนและเวลาในการทำงานวิจัยกว่าเดิมหลายเท่า ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อที่จะยกระดับงานวิจัยของไทย และประเทศเพื่อนบ้านในแถบอินโดไชน่าก้าวสู่ระดับสากล

ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการ สถาบันจีโนม ไบโอเทค กล่าวว่า การวิจัยพันธุกรรมด้วยการลำดับเบสดีเอ็นเอ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และได้รับการยอมรับทั่วโลก หากแต่ในการทำงานวิจัยแต่ละครั้ง มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง จึงเป็นข้อจำกัดของนักวิจัย ที่จะคิดค้นหรือพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ๆ ออกมาให้เกิดประโยชน์ ไบโอเทค จึงมีความสนใจจับมือกับ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ [(ประเทศไทย)] และ บริษัท ไบโอจีโนเมด จำกัด จัดโครงการประกวดผลงานวิจัยพันธุกรรม THE GREAT GIGABASE GRANT หรือ 3Gs โดยมีหลักเกณฑ์ในการส่งผลงาน คือ เปิดรับผลงานวิจัยเกี่ยวกับการลำดับเบสดีเอ็นเอไม่จำกัดประเภท จะต้องนำเสนอผลงานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษมีข้อความไม่เกิน 1,500 คำ มีตารางหรือภาพ ประกอบ ได้ไม่เกิน 3 ภาพ มีข้อมูลอ้างอิงและบทสรุปย่อ ที่อ่านเข้าใจง่าย ไม่เกิน 250 คำ ข้อมูลอ้างอิง และ บทสรุปย่อ ไม่รวมอยู่ในบทบรรยายผลงานวิจัย 1,500 คำนี้ การคัดเลือกผลงานวิจัยมีจำนวน 3 ทุน แบ่งเป็น ทุนที่ 1 จะได้รับการสนันสนุนน้ำยา มูลค่า 2.5 ล้านบาท ส่วน ทุนที่ 2 และ 3 จะได้รับการสนับสนุนน้ำยา มูลค่าทุนละ 5 แสนบาท เพื่อให้นักวิจัยได้ทดลองจริง โดยใช้เทคโนโลยี Genome Sequencer FLX System ผ่านทีมนักวิชาการ และ เครื่อง GS FLX ของ ไบโอเทค

จีโนมมนุษย์ คือคัมภีร์ชีวิต ที่รวบรวมข้อมูลพันธุกรรมสำหรับมนุษย์ ควบคุมพัฒนาการ ลักษณะรูปร่าง การทำงานของอวัยวะ และระบบของร่างกาย ซึ่งประกอบขึ้นเป็นขีวิต นอกจากนี้ยังกำหนดความมีสุขภาพดี ความเจ็บป่วย และอายุขัย ทั้งยังเป็นบันทึกดึกดำบรรพ์ ของวิวัฒนาการมนุษย์ ทำให้การถอดรหัสสารพันธุกรรมมีความสำคุญในทางชีววิทยาและการแพทย์ ดังนั้น จึงมั่นใจว่าการจัดโครงการประกวดผลงานวิจัยพันธุกรรม THE GREAT GIGABASE GRANT หรือ 3Gs จะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ โดยการมอบทุนวิจัยพันธุกรรมนี้ ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกในแถบอินโดไชน่าที่จะเปิดโอกาสให้ นักวิจัย ได้นำเสนอโครงงานวิจัยเข้าร่วมประกวด และพิจารณาให้รับทุน เพื่อทำการทดลอง โดยใช้เทคนิค High throughput sequencing ในการหาลำดับพันธุกรรม นอกจากนี้ ในการพิจารณาผลงานวิจัย ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยผ่านการรับทุนวิจัยด้านต่างๆ มาแล้วจากประเทศต่างๆ จำนวนกว่า 30 ท่าน เพื่อให้ผลงานวิจัยที่ผ่านการคัดเลือก สามาถนำมาวิจัยและพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด โดยคาดว่าจะได้รับผลงานวิจัยใหม่ๆ ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยจากท่านนักวิจัย ที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดไม่น้อยกว่า 150 คน หรือ 30 กลุ่ม ทั้งนี้ นักวิจัยที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดชิงทุน สามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ ห้องปฏิบัติการ sequencing สถาบันจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด โทรศัพท์ 02-791-2200 ต่อ 2303 ดร.สมวงษ์ กล่าวสรุปในที่สุด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ บริษัท พีอาร์ โฟกัส จำกัด

โทรศัพท์ 02-6547-551-2 โทรสาร 02-6547553 / [email protected] / www.prfocus.co.th

ประภาส จรสรัมย์

โทรศัพท์ 081-827-7354 ศรัญญา ไชยชมพล

โทร. 02-654-7551-2

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๐ พี อาร์ จี ร่วมยินดีเปิด สนามพิคเคิลบอล แห่งใหม่ที่ริเวอร์เดล มารีน่า
๑๖:๐๖ วว. คว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 ประเภทวิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช / วิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
๑๖:๓๙ TIME Consulting จับมือ Orbus Software และ Stelligence จัดงาน AI-DATA SYNERGY: CRAFTING A DATA DRIVEN FUTURE
๑๖:๓๔ คณะจากสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดอุดรธานี ศึกษาดูงานโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนอ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย
๑๖:๐๒ จีนโปรโมตกิจกรรม China in Children's Chorus สืบสานศิลปะการแต่งเพลงสำหรับเด็กให้เปล่งประกายโดดเด่นในยุคสมัยใหม่
๑๖:๑๔ คิง เพาเวอร์ เปิดบูติกนาฬิกาแฟรงค์ มุลเลอร์ 2 แห่งใหม่ ณ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ และ คิง เพาเวอร์ ศรีวารี
๑๖:๑๖ WP ประเมินผลงานโค้งสุดท้ายโตแกร่ง! ความต้องการใช้ก๊าซ LPG คึกคัก -เน้นกลยุทธ์คุมต้นทุนอยู่หมัด มั่นใจดันยอดขายเข้าเป้าแตะ 8.2
๑๖:๓๗ โรงพิมพ์กรังด์ปรีซ์ฯ รับรางวัล BRONZE AWARD ใน การประกวดสิ่งพิมพ์แห่งชาติ ครั้งที่ 17 ประเภทระบบการพิมพ์แบบออฟเซ็ต จากสมาคมการพิมพ์ไทย ประจำปี
๑๖:๕๕ เอเชี่ยน เคมิคัล จำกัดเข้าร่วมโครงการระบบการบริหารจัดการความปลอดภัย เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินจากสารเคมีในโรงงาน
๑๖:๐๗ NILA พาออกเดินทางเลียบชายฝั่งประเทศอินเดีย สัมผัสรสชาติอาหารท้องถิ่น กับ 'เทสติ้ง เมนู' ใหม่