ก.ไอซีที แจ้งผู้ประกอบธุรกิจ e-Payment เร่งขึ้นทะเบียน-ขออนุญาตให้ทัน 16 มี.ค.

ศุกร์ ๑๓ มีนาคม ๒๐๐๙ ๑๖:๒๙
นางสาวลัดดา แจ้งเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า หลังจากที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 ซึ่งในพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic payment (e-Payment) ที่ประสงค์จะทำธุรกิจ e-Payment ต่อไป จะต้องยื่นแบบแจ้งให้ทราบตามบัญชี ก หรือขอขึ้นทะเบียนตามบัญชี ข หรือขอรับใบอนุญา ตามบัญชี ค แล้วแต่กรณี ให้แล้วเสร็จภายใน 16 มีนาคม 2552 มิฉะนั้นหากพ้นวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 ผู้ประกอบการจะไม่สามารถให้บริการได้อีก

ซึ่งธุรกิจ e-Payment ที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีทั้งหมด 8 ประเภท โดยมีจำนวน ผู้ให้บริการ ที่เข้าข่ายตามพระราชกฤษฎีกาฯ ดังนี้ 1.การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) มีจำนวน 25-30 ราย เช่น ไทยสมาร์ทการ์ด ทรูมันนี่ 2.บริการเครือข่ายบัตรเครดิต 3.บริการเครือข่ายอีดีซี 4.บริการสวิตช์ชิ่งในการชำระเงิน 5.บริการหักบัญชี 6.บริการชำระดุล 7. การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือผ่านเครือข่าย มีจำนวน 52 ราย อาทิ ธนาคารพาณิชย์ของไทย สาขาธนาคารพาณิชย์จากต่างประเทศ ผู้ให้บริการที่มิใช่สถาบันการเงิน และ 8.บริการรับชำระเงินแทน เช่น บจ.ไปรษณีย์ไทย AIS pay station, Jaymart Pay point เป็นต้น

“ผู้ให้บริการ e-Payment ซึ่งเข้าข่ายประเภทธุรกิจภายใต้ พ.รฎ. e-Payment ในแต่ล่ะบัญชี ที่ประสงค์จะดำเนินธุรกิจของตนต่อไป ขอให้รีบดำเนินการยื่นแบบแจ้งให้ทราบ หรือขอขึ้นทะเบียน หรือขอรับใบอนุญาตตามประเภทธุรกิจของตนให้ทันวันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2552 นี้ มิฉะนั้นจะดำเนินธุรกิจต่อได้แค่ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 นี้เท่านั้น ซึ่งหากผู้ให้บริการรายใดไม่ดำเนินการแจ้งหรือขึ้นทะเบียนหรือฝ่าฝืนคำสั่งห้ามประกอบธุรกิจ และยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ซึ่งจะมีโทษปรับหรือจำคุกแล้วแต่กรณี โดยขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการออกประกาศแต่งตั้งพนักงานของธนาคาร เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระราชกฤษฎีกาฯ ให้อำนาจไว้ในการเรียกผู้ให้บริการเพื่อให้ข้อมูล และเอกสารใดใดที่เกี่ยวข้อง และหากพบผู้ให้บริการรายใดที่มีการฝ่าฝืนไม่ดำเนินการตามกฎหมายกำหนด ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะส่งเรื่องให้คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พิจารณามูลค่าความเสียหาย และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ดังนั้น หากผู้ให้บริการายใดยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประเภทธุรกิจของตนเองว่าเข้าข่ายต้องดำเนินการด้วยวิธีใด สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร.02-283-6161หรือ [email protected] หรือ www.bot.or.th กระทรวงฯ จึงขอเชิญชวนผู้ให้บริการ e-Payment มาดำเนินการยื่นแบบแจ้งให้ทราบ หรือขอขึ้นทะเบียน หรือขอรับใบอนุญาตให้ทันตามกำหนดเวลา ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยสร้างมาตรฐานระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และช่วยให้ธุรกิจนี้มีการขยายตัวมากยิ่งขึ้น” นางสาวลัดดา กล่าว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-5682453 ทิพวรรณ์ ไชยมะโย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ