กุญแจสำคัญในการจัดประกวดการแข่งขันครั้งนี้ ซึ่งไม่เพียงแต่คาดหวังให้เราสามารถทดแทนการนำเข้าและลดค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์จากต่างชาติเท่านั้น แต่ยังมุ่งที่จะต่ออนาคตในการสร้างรายได้ให้กับประเทศจากการส่งออกซอฟต์แวร์ที่เพิ่มมากขึ้น และเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เติบโต ด้วยการเป็นเวทีของนักพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ ให้ได้แสดงออกถึงพลังความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่ด้อยกว่าใคร
ด้านนางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้อำนวยการ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนโครงการ SIA มาโดยตลอดว่า จากสังคมโลกที่กำลังก้าวเข้าสู่ Creative Economy ต่อจาก Knowledge-based Economy สังคมไทยจำเป็นต้องมีการปรับตัวทุกระดับตามไปด้วย ดังนั้นการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยก้าวเข้าสู่สังคมใหม่ จึงเป็นหน้าที่หลักอย่างหนึ่งของซอฟต์แวร์พาร์คด้วย โดยแนวทางหนึ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดขึ้นคือ ต้องส่งเสริมให้ภาคเอกชนและหน่วยงานทั้งหลายสร้างเวทีเพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมทางด้านซอฟต์แวร์ใหม่ๆ และต้องนำไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ในเวลาเดียวกัน
ซอฟต์แวร์พาร์คต้องการส่งเสริมให้มีการต่อยอดในการประกวดรางวัลทางด้านซอฟต์แวร์ที่มีอยู่หลายเวทีในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นรางวัลซึ่งเป็นเวทีของผู้ประกอบการที่มีผลงาน มีกำลังที่จะจัดตั้งบริษัท หรือถ้าเป็นรางวัลสำหรับนักเรียน นักศึกษาก็เป็นรางวัลที่มิได้นำออกสู่เชิงพาณิชย์และทั้งหมดเป็นการแข่งขันในระดับประเทศ ดังนั้น เวที SIA จะช่วยปิดช่องว่างโดยทำให้กลุ่มผู้พัฒนาซอฟต์แวร์หน้าใหม่ หรือกลุ่มที่มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ยังไม่มีทุนก้อนแรกสนับสนุนไม่สามารถผ่านเข้าเวทีประกวดหลักได้มีโอกาสในอนาคต
“ที่สำคัญรางวัลนี้จะสนับสนุนให้คนที่มีความคิดดีๆ ทั้งระดับบุคคล หรือระดับบริษัท SME ได้มีโอกาสนำผลงานเหล่านี้ก้าวเข้าสู่เชิงพาณิชย์ได้จริงจากโครงสร้างทางการค้าของกลุ่มสามารถ ขณะเดียวกันยังมีศูนย์บ่มเพาะของซอฟต์แวร์พาร์คเข้ามารองรับ จะทำให้ผลงานใหม่ๆ ของกลุ่มคนใหม่ๆ ได้แจ้งเกิดในตลาดได้ต่อไป” นางสุวิภากล่าว
นายเจริญรัฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การเพิ่มประเภท General Software เข้ามามาก เนื่องจากตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศที่มีมูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้ e-Learning Software เป็นตลาดที่มีอนาคต แม้สถานการณ์เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ก็ยังมีผู้สนใจหันมาศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้น และส่วนหนึ่งเรียนผ่าน e-Learning สามารถทำงานพร้อมศึกษาหาความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญด้านการศึกษาให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ผ่านการสื่อสารที่รวดเร็ว สะดวกและทันสมัยที่สุด ทำให้ที่ผ่านมาตลาด e-Learning ในประเทศไทย ยังเติบโตสูงขึ้นถึง 100% ซึ่งก็โตขึ้นตามตลาดทั่วโลก ทั้งสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดครองส่วนแบ่งตลาดถึง 6 หมื่นกว่าล้านบาท หรือประมาณ 60% ของตลาดอี-เลิร์นนิ่งทั่วโลกที่มีมูลค่า 2 แสนล้านบาท สำหรับในเอเชีย คาดว่าอัตราการเจริญเติบโตของอี-เลิร์นนิ่งจะอยู่ในระดับ 25 - 30% ต่อปี”
ด้วยการเห็นโอกาสการเติบโตของตลาดซอฟต์แวร์ ประกอบกับประสบการณ์ ความรู้ความชำนาญและถือเป็นเจ้าตลาดด้าน e-Learning Software ของบริษัทที่ประสบความสำเร็จจากหลายๆโครงการ อาทิเช่น โครงการ U-Plus ของมหาวิทยาลัยเอแบค ม.หอการค้า ม.รังสิต ฯลฯ และยังมีโครงการที่จะขยายไปอีก 9 สถาบันในปีนี้ จึงมั่นใจได้ว่า จะสามารถผลักดันซอฟต์แวร์ที่มีผลงานโดดเด่นมาพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ไม่ยาก
ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ด้วยการสนับสนุนอย่างดีมาโดยตลอดจากเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย, สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย (SIPA), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA), ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค), บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เอเชีย อินโฟ โซลูชั่น จำกัด ทำให้โครงการฯประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ สามารถส่งเสริมให้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้กลับออกไปพร้อมกับความรู้จากหลักสูตรการอบรมทักษะด้านเทคนิคการพัฒนาซอฟต์แวร์ และทักษะด้านการนำเสนอ ไปแล้วกว่า 2,500 คน มีผลงานที่ส่งเข้าประกวดจำนวน 1,500 ผลงาน ที่มีความคิดสร้างสรรค์และสะท้อนแนวคิดดีๆ มากมาย และมี 100 ผลงานที่ผ่านการตัดสินจากคณะกรรมการให้ได้รับรางวัลต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้นยังได้มีการจัดทำเว็บไซต์ www.samartcorp.com/innovation_award เพื่อสร้าง Community ให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ได้แชร์ความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน
นายเจริญรัฐ กล่าวทิ้งท้ายว่า “กลุ่มบริษัทสามารถ จะยังคงมุ่งมั่นที่จะผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาทักษะและสร้างอาชีพให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทยอย่างต่อเนื่อง เราไม่ได้จัดประกวด Samart Innovation Awards เพียงเพราะต้องการทำตามกระแสของ CSR ที่ใครๆ ก็พูดถึงอยู่ในปัจจุบัน แต่เรามีความเชื่อว่าโครงการนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโอกาสและความเชื่อมั่นให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์คนไทยที่มีฝีมือต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0859181172 [email protected]