เครื่องจักรกลและแกะสลักอัตโนมัติขนาดเล็ก ด้วยฝีมือเด็กไทย

พุธ ๐๘ เมษายน ๒๐๐๙ ๑๑:๓๔
วิศวกรรุ่นเยาว์จากโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (JSTP) พัฒนาเครื่องจักรกลและแกะสลักอัตโนมัติขนาดเล็ก (Mini CNC) สามารถแกะสลักชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยต้นทุนการผลิตเพียง 6,000 บาท ขณะที่เครื่องจักรกลในอุตสาหกรรมมีราคาแพงนับแสนบาท

นายวีระพล แซ่หว่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอรุโณทัยวิทยาคม โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (Junior Science Talent Project : JSTP) สวทช. กล่าวว่า เครื่องจักรสำหรับงานตัด เจาะ และ งานแกะสลัก หรือ Computerized Numerical Control (CNC) เป็นเครื่องจักรที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อาทิ เช่น อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาแพงหลายล้านบาท ซึ่งต่อมาแม้จะมีการพัฒนาเครื่องจักรกลที่ใช้แกะสลักหรือตัดชิ้นงานขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีราคาแพงนับแสนบาท จึงเป็นแรงจูงใจให้ศึกษาแนวทางการการผลิตเครื่องจักรกลและแกะสลักอัตโนมัติขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพ ราคาถูก เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็กของไทย โดยมี ดร.ยศพงษ์ ลออนวล สาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นที่ปรึกษา

“เครื่องจักรกลและแกะสลักอัตโนมัติขนาดเล็กที่พัฒนาขึ้น ถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ โดยส่งคำสั่ง G-code ที่เขียนไว้ในคอมพิวเตอร์ ผ่าน Printer port ไปยังตัวควบคุม (Driver board) เพื่อแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณไฟฟ้าในการควบคุมตำแหน่ง ทิศทาง ความเร็วของแกน X,Y,Z ให้หมุนไปยังตำแหน่งและทิศทางที่กำหนดเพื่อให้เกิดลวดลายที่ต้องการ และเมื่อนำเครื่องจักรกลมาทดสอบทำชิ้นงาน พบว่า เครื่องจักรกลและแกะสลักอัตโนมัติขนาดเล็กสามารถตัด เจาะ และแกะสลักลวดลายชิ้นงานที่เป็น 2 มิติ และ 3 มิติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังใช้ได้กับวัสดุที่หลากหลาย อาทิ ไม้ พลาสติก อะคริลิก ทองแดง และทองเหลือง เป็นต้น”

นายวีระพล กล่าวว่า เครื่องจักรกลและแกะสลักอัตโนมัติขนาดเล็ก นับเป็นเครื่องมือทางเลือกที่นำไปใช้ได้กับธุรกิจมากมาย เช่น การทำแม่พิมพ์สำหรับหล่อชิ้นงาน การแกะสลักลวดลายแผ่นไม้ การทำพวงกุญแจ การทำแผ่นป้าย ฯลฯ โดยต้นทุนการผลิตมีราคาเพียง 6,000 บาท เท่านั้น ส่วนการพัฒนาต่อยอดจะมีการเปลี่ยนโครงสร้างให้มีความแข็งแรงมากขึ้น มีการเชื่อมต่อทางสายยูเอสบี(USB) และทดลองเปลี่ยนหัวเครื่องจักรให้เป็นหัวตัดสติ๊กเกอร์หรือเลเซอร์ เพื่อทดแทนเครื่องตัดสติ๊กเกอร์ที่มีราคาหลายแสนบาทต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้สำหรับเยาวชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (JSTP) สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่http://www.nstda.or.th/jstp

คำบรรยายภาพ

1. นายวีระพล แซ่หว่าง กับผลงานเครื่องจักรกลและแกะสลักอัตโนมัติขนาดเล็ก

2. เครื่องจักรกลและแกะสลักอัตโนมัติขนาดเล็ก (Mini CNC)

3. ป้ายชื่อ และพวงกุญแจ ตัวอย่างชิ้นผลงานจากเครื่องจักรกลและแกะสลักอัตโนมัติขนาดเล็ก

4. สาธิตการทำงานของเครื่องจักรกลและแกะสลักอัตโนมัติขนาดเล็ก

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช.

โทร 02-5647000 ต่อ 1489

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ