การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 13

ศุกร์ ๑๐ เมษายน ๒๐๐๙ ๑๒:๕๗
บทนำ

1. เรา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ได้มีการประชุมครั้งที่ 13 วันที่ 9 เมษายน 2552 ณ อำเภอเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศไทยเป็นประธานการประชุม

2. เราได้ต้อนรับผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศไทย เวียดนาม และ บรูไนซึ่งเป็นตัวแทนของประธานการประชุมผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เข้าร่วมประชุม พร้อมทั้งรับฟังมุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน และการพัฒนาด้านการเงิน รวมถึงความคิดเห็นต่อความร่วมมือทางการเงินของอาเซียนพร้อมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเลขาธิการอาเซียน (ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ) ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (นาย Haruhiko Kuroda) และรองประธานธนาคารโลกฝ่ายภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (นาย James Adams)

3. เราได้หารือถึงความท้าทายสำหรับภูมิภาคและการรับมือกับความผันผวนท่ามกลางวิกฤติการเงินโลก และตกลงร่วมกันที่จะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาคและ การรวมตลาดทุนเป็นอันดับแรก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ภายในปี ค.ศ. 2015 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว เราได้หารือถึงผลการดำเนินงานในการปฏิบัติตามแผนการรวมตัวทางการเงินอาเซียน (Roadmap for Monetary and Financial Integration of ASEAN, RIA-Fin) และความร่วมมือระดับภูมิภาคอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนามาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM) และมาตรการริเริ่มพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiatives: ABMI) สำหรับ CMIM เราเน้นย้ำความสำคัญและความเร่งด่วนในการในดำเนินการ CMIM และตกลงที่จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศบวกสาม เพื่อหาข้อสรุปสำหรับเรื่องที่ยังคงค้างอยู่ในการประชุมในเดือนพฤษภาคม 2552

พัฒนาการทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

4. เรามีความยินดีที่จะแถลงว่าภายใต้ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ระดับร้อยละ 5 ในปีที่แล้ว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ภายในประเทศ พื้นฐานเศรษฐกิจมหภาคที่แข็งแกร่ง มาตรฐานทางบัญชีของธนาคารและภาคเอกชน และการปรับปรุงโครงสร้างที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2540 อย่างไรก็ตาม เรายังตระหนักถึงความเสี่ยงในด้านลบ เช่นการลดลงของอุปสงค์ภายนอก การเงินโลกที่อยู่ในภาวะตึงตัว และความผันผวนของการไหลของเงินทุน ซึ่งเราได้ดำเนินมาตรการทางการเงินและการคลัง เพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

5. เพื่อรับมือกับความผันผวนทางการเงินและเศรษฐกิจในปัจจุบัน เราได้ตกลงที่จะร่วมมือกันดำเนินการอย่างเด็ดขาด รวดเร็ว ในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุนและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เราสนับสนุนการขยายขอบเขตการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจหากจำเป็น พร้อมทั้งรักษาเสถียรภาพทางการคลังในระยะปานกลาง เรายังยืนยันข้อตกลงในการต่อต้านการปกป้องทางการค้าและการกีดกันทางการเงิน และผลักดันการเปิดเสรีทางการค้าต่อไป

ความร่วมมือกับคู่ค้าทางเศรษฐกิจ

6. เรารับคำประกาศและข้อแนะนำจากผู้นำกลุ่มประเทศ G20 จากการประชุมผู้นำสูงสุด ณ กรุงลอนดอน ซึ่งประกอบด้วยสร้างความน่าเชื่อถือ การเจริญเติบโตและการจ้างงานเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นต่อตลาด และพยายามที่จะหาข้อสรุปในกรอบโดฮา

7. เรารับทราบถึงความพยายามของธนาคารพัฒนาเอเชีย ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศในการให้การมีบทบาทของธนาคารพัฒนาเอเชีย ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในการสนับสนุนในภูมิภาคและมีบทบาทที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลกขาลงในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่อง

การริเริ่มในการเพิ่มทุนขององค์กรการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการเพิ่มทุนขององค์กรการเงินระหว่างประเทศเป็นจำนวน 750 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมถึงการเพิ่มทุนสามัญทั่วไปขึ้นอีกร้อยละ 200 ของทุนปัจจุบันของธนาคารพัฒนาเอเชีย

การเพิ่มข้อผูกพันของธนาคารพัฒนาเอเชีย และธนาคารโลก ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การค้าด้านการเงิน และความต้องการในด้านอื่นๆ ของภูมิภาค

การปฎิรูปโครงสร้างการให้กู้เงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงให้มีวงเงินใหม่ๆ ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น

องค์กรการเงินระหว่างประเทศยังอยู่ระหว่างการปฎิรูปในด้านการบริหารจัดการที่ดี การเพิ่มอำนาจการออกเสียง และกระบวนการตัดสินใจ

8. เรารับทราบถึงความสำคัญในการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในภูมิภาคและระหว่างประเทศและสนับสนุนการเจริญเติบโตและเสถียรภาพของอาเซียน และในอนาคต เราสนับสนุนให้ธนาคารพัฒนาเอเชีย ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีความร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิด รวมถึงแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างอาเซียนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ การเงิน เพื่อศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวกับการค้า โครงสร้างพื้นฐาน และการบริหารจัดการดุลการชำระเงิน เป้าหมายการรวมตัวทางการค้า ซึ่งรวมถึงการให้องค์กรการเงินระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการกระจายความเสี่ยงในมาตรการริเริ่มต่างๆ ในภูมิภาค

แผนแม่บทการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจการเงินรวมกันของอาเซียน

9. ท่ามกลางความผันผวนทางการเงินที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เราตระหนักดีถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะเพิ่มความยืดหยุ่นทางการเงินโดยการสร้างความร่วมมือระหว่างตลาดการเงินในภูมิภาค วิกฤติการเงินโลกในปัจจุบันทำให้เห็นโอกาสในการพิจารณาแผนที่จำเป็นในการรวมตลาดการเงินอีกครั้ง ในประเด็นนี้ เราขอยืนยันข้อตกลงในการรวมตลาดการเงิน ภายใต้แผนการรวมกันของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาตลาดทุน การเปิดเสรีทางการเงิน และการเปิดเสรีบัญชีทุนเคลื่อนย้าย เราเห็นชอบในการทำงานร่วมกัน ในอันที่จะผลักดันให้ตลาดการเงินอาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

การพัฒนาตลาดทุน

10. เราจะขยายและพัฒนาตลาดทุนในภูมิภาคโดยใช้มาตรการในการสนับสนุนการลงทุน สภาพคล่อง และความเชื่อมโยงของตลาด รวมทั้งยกระดับอาเซียนในการจัดอันดับสินทรัพย์ เรายอมรับว่าการกำกับดูแลตลาดทุนที่ดีและมีประสิทธิภาพจำเป็นต่อการกระจายเงินออมที่ช่วยสร้างความยืดหยุ่นเพื่อต้านทานผลกระทบจากภายนอก สำหรับการกระตุ้นการไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศ เชื่อมโยงตลาดทุนนั้น มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสร้างสภาพแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานของตลาด เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการลงทุนระหว่างประเทศ สร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรในตลาด และรักษานโยบายที่เปิดกว้างต่อภายนอก (Outward-Oriented Policies)

11. เราให้การรับรอง แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาตลาดทุนสู่การรวมตลาดในอาเซียน อย่างเป็นทางการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ภายในปี ค.ศ. 2015 แผนดังกล่าวเป็นการวางแนวทางไปสู่การรวมตลาดทุนของภูมิภาคซึ่งประกอบด้วยมาตรการริเริ่มต่างๆและเป้าหมายในการดำเนินการ นอกจากนี้ยังสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการทางการเงิน ขยายขีดความสามารถ และบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อสนับสนุนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศและของภูมิภาค เราเชื่อว่าแนวทางหลักของแผนซึ่งรวมถึงความเข้าร่วมกัน กรอบการทำงานที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และขยายขอบเขตการครอบคลุมประเทศต่างๆ จะได้รับการสนับสนุนจากความพยายามในการสร้างพันธมิตรด้านการซื้อขายและชำระบัญชี รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐาน กระชับความร่วมมือและระบบกำกับดูแล ทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับประเทศ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในความพยายามรวมตลาดทุนของเรา

การเปิดเสรีทางการเงิน

12. การตระหนักถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนาการบริการด้านการเงินและความพร้อมของประเทศสมาชิกอาเซียน เราตกลงที่จะให้มีการศึกษาเรื่อง Assessing the Financial Landscape in ASEAN ซึ่งจะเป็นการทบทวนและพิจารณาถึงระบบการเงินของอาเซียนในปัจจุบัน ระบุความแตกต่างและข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการรวมตัวทางการเงิน และมุ่งพัฒนาหารวางกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยมีข้อเสนอแนะอย่างเฉพาะเจาะจง และการกำหนดกรอบเวลาเพื่อมุ่งสู่การเปิดเสรีของภาคการเงิน ในขณะเดียวกัน เราจะกำหนดให้เกิดความยืดหยุ่นในข้อตกลงที่ได้เคยตกลงกันไว้ เพื่อให้เราสามารถได้ข้อสรุปในการเจรจาการเปิดเสรีทางการเงินของอาเซียน รอบที่ 5 ของ ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS) ได้ทันกำหนดในปี 2010 เราตอบรับข้อสรุปของการเจรจาด้านบริการรวมถึงการบริการด้านการเงินในการเปิดเสรีกับเกาหลี ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ นอกจากนี้เรายังคงความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาอื่นๆ เพื่อยืนยันการเข้าถึงตลาดของประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่ค้า

การเปิดเสรีบัญชีทุนเคลื่อนย้าย

13. การไหลเวียนเงินทุนระหว่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเคลื่อนย้ายเงินทุน และกระจายเงินทุนในภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพ ท่ามกลางการรวมตัวกันอย่างใกล้ชิดของเศรษฐกิจโลก ซึ่งในเรื่องนี้ เรายืนยันข้อตกลงที่จะเปิดเสรีบัญชีทุนเคลื่อนย้าย โดยจะพยายามแก้ไขปัญหา รวมถึงพยายามสร้างความร่วมมือในภูมิภาค เพื่อบริหารจัดการกับความผันผวนของการไหลเวียนของเงินทุนที่อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน

การเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านความร่วมมือทางการเงินและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ

ความร่วมมือทางการเงินภายใต้กรอบอาเซียน +3

14.เราตกลงร่วมกันที่จะสรุปสาระสำคัญของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่พหุภาคีในการประชุมร่วมกับประเทศบวกสามที่บาหลี ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ เรายินดีที่จะแถลงว่าเราได้ข้อสรุปเกี่ยวกับสัดส่วนในการลงเงินของประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราจะให้ความร่วมมือกับประเทศบวกสามอย่างใกล้ชิดเพื่อเร่งรัดให้บรรลุผลของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่พหุภาคีภายในเดือนพฤษภาคม 2552 ณ บาหลี

การส่งเสริมระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

15. เราตกลงที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถของระบบระวังภัยของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน เราเห็นชอบในการจัดตั้ง Macroeconomic and Finance Surveillance Office (MFSO) เพื่อสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นในการปฏิบัติการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

การระดมทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐาน

16. เรายังคงตกลงที่จะอำนวยความสะดวกสำหรับการระดมทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในระยะปานกลางและระยะยาวมีความแข็งแกร่งมากขึ้น โดยร่วมมือกับภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศในการระดมทุนและลดความเสี่ยง ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้น เรายินดีที่จะแถลงว่า ได้มีการร่วมมือระหว่างธนาคารโลกและอาเซียน โดยจัดตั้งInfrastructure Finance Network เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในภูมิภาค เราได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงหาแนวทางในการเคลื่อนย้ายเงินทุนในภูมิภาคเพื่อลงทุนในโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาค

ความร่วมมือด้านศุลกากร

17. เรายินดีที่จะแถลงว่าการดำเนินการตามแผนการพัฒนาระบบศุลกากรและ ASEAN Single Customs Window มีความก้าวหน้า ซึ่งรวมถึงการออกประกาศของศุลกากรอาเซียน และข้อตกลงศุลกากรใหม่ๆที่จะช่วยขยายความร่วมมือด้านกฎระเบียบระหว่างเจ้าหน้าที่ศุลกากรในภูมิภาค เราจะพยายามให้ความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาค โดยการลดความยุ่งยากด้านวิธีการทางศุลกากร

การประชาสัมพันธ์กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน

18. เนื่องจากได้ตระหนักถึงความสำคัญในการประชาสัมพันธ์กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นที่ยอมรับ เราตกลงที่จะเข้าร่วมงาน ASEAN Investment Day ที่จะจัดขึ้นระหว่างการประชุมประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียที่บาหลี ในเดือนพฤษภาคม 2009 ซึ่งในงานนี้จะมีการจัดการสัมมนาสำหรับนักลงทุน การสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับการระดมทุนในภูมิภาค และการจัดนิทรรศการ

ประชาคมเศรษฐกิจอาซียน

19. วิกฤติการเงินโลกทำให้เราตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการกับความท้าทายที่เกิดขึ้น ดังนั้น เรายืนยันข้อตกลงที่จะรักษาเสถียรภาพทางการเงินของภูมิภาค ผลักดันการรวมตัวทางการเงิน และร่วมกันช่วยเหลือในการทำให้วิกฤติของโลกจบลง รวมถึงการต่อต้านการกีดกันทางการค้าและการเงิน เราเห็นว่าวิกฤติในปัจจุบันไม่ควรขัดขวางความก้าวหน้าของการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่ได้ดำเนินมาแล้ว

20. เราขอแสดงความชื่นชมต่อรัฐบาลและประชาชนชาวไทย สำหรับการจัดงานและการต้อนรับที่อบอุ่น การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 14 จะจัดขึ้นที่ประเทศเวียดนามในปี 2010

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version