ขอเชิญผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย ญาติ และผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมงาน ฮีโมฟีเลียเดย์ ครั้งที่ 11”

จันทร์ ๒๐ เมษายน ๒๐๐๙ ๑๑:๐๓
มูลนิธิโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียแห่งประเทศไทย ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ฝึกอบรมนานาชาติโรคเลือดออกง่าย (IHTC) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และโครงการจุฬาคิดส์คลับ ขอเชิญผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย ญาติ และผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมงาน “พบปะสังสรรค์ผู้ป่วยฮีโมฟีเลียและโรคเลือดออกง่ายพันธุกรรม แห่งประเทศไทยครั้งที่ 11 หรือ ฮีโมฟีเลียเดย์” พบกับการบรรยายความรู้เรื่องการพัฒนาการดูแลรักษาโรคฮีโมฟีเลีย จากอดีตปัจจุบัน สู่อนาคต โดย ศ.พญ.ภัทรพร อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิฯ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงจากผู้ป่วย “เมื่อรู้ว่าเป็นฮีโมฟีเลีย” จะต้องทำอย่างไร และได้บทเรียนอะไรบ้างจากฮีโมฟีเลีย” พร้อมมีกิจกรรมบันเทิงและสันทนาการมากมาย ในวันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2552

เวลา 08.00 — 14.00 น. ณ ห้องประชุมมงคลนาวิน ชั้น 10 ตึก สก.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่ หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร 02-256-4949

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2718-3800 ต่อ 133 / 135 บุษบา / ศศิมา บริษัท คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มอร์ จำกัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ