เนคเทค ร่วมกับราชมงคล จับมือภาคเอกชน นำร่องเพิ่มขีดความสามารถให้นักศึกษาก่อนสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

พฤหัส ๒๓ เมษายน ๒๐๐๙ ๑๑:๐๔
ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) นายสมเกียรติ อึงอารี นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย และ ผศ.ดร.นำยุทธ์ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมกันแถลงข่าวความร่วมมือพัฒนากำลังคนระหว่างเนคเทค ภาคเอกชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน (สทป.) “โครงการเพิ่มขีดความสามารถนักศึกษาสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Go to Software Industry)” ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนพระรามหก กรุงเทพฯ

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เปิดเผยว่า โครงการ “การเพิ่มขีดความสามารถของนักศึกษาสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Go to Software Industry)” เป็นไปตามนโยบายสำคัญของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในเรื่อง "สร้างงาน สร้างเงิน สร้างคุณภาพชีวิต" และเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างเนคเทค ภาคเอกชน มทร.และ สทป. เพื่อสนับสนุนการวางแผนการผลิตกำลังคนของ มทร. และ สทป. ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งได้ทำ MOU ตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 เนคเทคในฐานะที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการดำเนินงานความร่วมมือนี้ ได้มีการสนับสนุนให้เกิดการประชุมหารือเพื่อผลักดันกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยกิจกรรมในวันนี้ เนคเทคก็ได้สนับสนุนงบประมาณบางส่วนในการดำเนินงานและ มทร.ตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ ได้ให้ความอนุเคราะห์สถานที่ในการฝึกอบรมฯ

ดร.พันธ์ศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่มาของการจัดกิจกรรมข้างต้น เกิดจาการที่เนคเทคได้ดำเนินการศึกษาวิจัยในโครงการ 2 เรื่อง คือ “แนวทางการผลิตกำลังคนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เพื่อตอบสนองภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ และ“แนวทางการดำเนินการปฏิบัติสหกิจศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พบว่า ปัจจุบันมีนักศึกษาสาขาที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่จบจาก มทร. และ สทป. ประมาณหนึ่งหมื่นคน คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของนักศึกษาที่จบด้านนี้ทั้งประเทศ จากการวิเคราะห์พบว่า กลุ่ม มทร. และ สทป. ถือได้ว่ามีความเข้มแข็งที่เป็นกลุ่มบัณฑิตนักปฏิบัติ ซึ่งถือว่าจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไปในอนาคต ในขณะที่งานวิจัยของเนคเทคอื่นๆ พบว่า อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทยยังมีการขาดแคลนบุคลากรทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่มีผู้สำเร็จการศึกษาบางส่วนมีความรู้/ทักษะไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน หรือการเรียนการสอนไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงได้ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ในการหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดกับอุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งหลังจากการอบรมนี้ จะมีการประเมินผลเพื่อนำข้อมูลไปสนับสนุนแนวทางการพัฒนา/ปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนในสาขาซอฟต์แวร์ใน มทร. และ สทป. ต่อไปได้

นายสมเกียรติ อึงอารี นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) ในฐานะประธานคณะทำงานกลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามคณะทำงานกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้มีความร่วมมือพัฒนากำลังคนกันขึ้น กล่าวเสริมว่า การพัฒนากำลังคนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้มแข็งของประเทศในระยะยาว และอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ก็เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของประเทศ อีกทั้งในแต่ละปี มทร. และ สทป. ก็มีบทบาทที่สำคัญในการผลิตบุคลากรด้านไอที หรือบัณฑิตนักปฏิบัติออกสู่ตลาดแรงงาน/ภาคอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทยอยู่แล้ว หากใช้โอกาสนี้ปั้นและใส่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการอีกเล็กน้อยให้กับบัณฑิตที่จบใหม่หรือกำลังจะจบ ก็เชื่อว่าจะได้คนที่มีคุณภาพและมีความพร้อมเข้าสู่การทำงานจริงในอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากต้องการกิจกรรมผลักดันในการพัฒนากำลังคนที่สามารถเห็นผลได้ในระยะเวลาสั้นแล้ว ATSI จึงร่วมมือกับเนคเทค และ มทร. ร่วมกันจัดทำโครงการนำร่องที่จะใช้พัฒนาความรู้ในเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและเพิ่มศักยภาพให้กับบัณฑิตกลุ่ม มทร.และ สทป. ขึ้น เป็นหลักสูตรที่ใช้เวลาในการฝึกอบรม 5 วัน ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ วิชาพื้นฐานทั่วไป และวิชาชีพเฉพาะทางอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิส่วนหญ่จะมาจากภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และที่เกี่ยวข้อง มี case study มี show case ให้ดูและทดลองทำจริงๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเชื่อมโยงได้ครบทั้งกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ การเรียนการสอนจะมีลักษณะของการผสมผสานและเชื่อมโยงความรู้ที่เรียนกับสิ่งที่จะใช้งานจริงเมื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อให้บัณฑิตที่ผ่านการอบรมสามารถออกไปทำงานได้ทันที และที่สำคัญบัณฑิตที่ผ่านการฝึกอบรมนี้จะได้รับวุฒิบัตรเมื่อทดสอบผ่านการฝึกอบรมแล้ว การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ รุ่นที่ 1 นี้กำหนดจะจัดให้มีขึ้น ในระหว่างวันที่ 27 เมษายน — 1 พฤษภาคม 2552 ณ มทร.ตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ สำหรับการอบรมฯ รุ่นที่ 1 นี้ จะเปิดให้มีการอบรมวิชาชีพเฉพาะอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ 2 โปรแกรม คือ PHP และ .NET เนื่องจากระยะเวลา และข้อจำกัดหลายๆ อย่าง สำหรับการจัดในปีต่อๆ ไปจะมีการเพิ่มอีก 2 หัวข้อหลักคือ Java และ Embedded ซึ่งจะอาศัยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน รวมถึง TESA ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานภายใต้ MOU และนายสมเกียรติฯ ยังทิ้งท้ายอีกว่า จะนำผลที่ได้จากการจัดการฝึกอบรมในรุ่นที่ 1 นี้ มาใช้ประกอบในการวางแผนในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนากำลังคนในอนาคตต่อไป

ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย หนึ่งในหลายๆ วิทยากรในการอบรมนี้ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หัวข้อที่จะบรรยายในวันที่ 27 เมษายน 2552 นั้น จะเป็นการบรรยายให้นักศึกษาได้รับทราบและเข้าใจว่าสถานภาพ บทบาท ความสำคัญ แนวโน้ม และการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย รวมถึงเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์ยุคใหม่ มาตรฐานนานาชาติเกณฑ์คุณภาพและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เพื่อปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจถึงปัจจัยต่างๆ ที่ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อย่างครบวงจรให้นักศึกษาสามารถปรับตัวเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ

ผศ.ดร.ปานเพชร ชินินทร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในฐานะของประธานกลุ่ม มทร. ทั้งหมด และประธานคณะทำงานความร่วมมือฯ การพัฒนากำลังคนฯ ได้กล่าวสรุปให้เห็นถึงภาพรวมประโยชน์ที่จะได้รับทางด้านอุปทาน (ผู้ผลิตบัณฑิต) ว่า การขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยเป็นสิ่งที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตบุคลากรจะเป็นจะต้องร่วมมือและเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กลุ่ม มทร. และ สทป. ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีส่วนสำคัญในการผลิตบุคลากรออกสู่ตลาดแรงงานหน่วยงานหนึ่งจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนมุมมอง เพิ่มศักยภาพ ตลอดจนปรับตัวเพื่อรองรับการผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมตามไปด้วย “โครงการเพิ่มขีดความสามารถของนักศึกษาสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Go to Software Industry)” ของคณะทำงานกลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาตนเองให้กับบัณฑิตนักปฏิบัติของ กลุ่ม มทร. และ สทป. ให้สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดีต่อไป

โครงการเพิ่มขีดความสามารถนี้ นอกจากหน่วยงานหลักในการจัดงานที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีภาคเอกชนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้การสนับสนุนด้านวิทยากรอีกมากมาย อาทิ บริษัทไมโครซอฟต์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด และโรงเรียนอินเทอร์เน็ตและการออกแบบ ฯลฯ ทั้งนี้โครงการในลักษณะนี้จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 5 รุ่น (ปีละ 1 รุ่น)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ดร.กษิติธร ภูภราดัย/ อุบลวรรณ คำแก้ว

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสต์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

โทร. 02-564-6900 ต่อ 2353, 2328

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔ พ.ย. LE โชว์ผลงาน Q3/67 กำไรทะยาน 312% รายได้อยู่ที่ 720 ลบ. ส่งซิก Q4 โตต่อเนื่อง ล่าสุดกอด Backlog แน่น 1,300
๑๔ พ.ย. แม็คโคร พัทยา ปรับโฉมใหม่ รองรับกำลังซื้อช่วงไฮซีซั่น พร้อมจัดแคมเปญขอบคุณลูกค้าส่งท้ายปี ส่งมอบความคุ้มค่าทั่วเมืองพัทยา
๑๔ พ.ย. ยันม่าร์ โชว์นวัตกรรมการเกษตร ในงานประชุมใหญ่ชาวไร่อ้อยสามัญประจำปี พร้อมฉลองครบรอบ 45 ปี สนับสนุนเงินดาวน์แทรกเตอร์ถึง 3
๑๔ พ.ย. CHAYO งบ Q3/67 สุดปังทั้งรายได้และกำไร งวด 9 เดือนรายได้พุ่ง 38.85% มั่นใจรายได้ปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 20%
๑๔ พ.ย. TNP เข้ารับเกียรติบัตร CAC ในฐานะบริษัทฯ ที่ได้รับการต่ออายุรับรองครั้งที่ 2 มุ่งมั่นเป็นองค์กรที่ร่วมต่อต้านคอร์รัปชันในภาคเอกชนไทย
๑๔ พ.ย. คริสตัล โฮม ร่วมกับ AXOR จัดเวิร์กชอป The Power of Colors เผยเคล็ดลับดีไซน์ห้องน้ำหรูด้วยสีสันที่โดดเด่น
๑๔ พ.ย. ทีเอ็มบีธนชาต ชวนซื้อสลากกาชาดทีทีบี ได้บุญ พร้อมลุ้นโชค 716 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ การให้ บำรุงสภากาชาดไทย
๑๔ พ.ย. PRTR ประกาศงบ Q3/67 กำไรนิวไฮอีกครั้ง โตกว่า 14% ธุรกิจ Outsource ดาวเด่น คาด Q4/67 ดีมานด์พุ่ง
๑๔ พ.ย. PLUS ส่ง Coco Royal ลุยช่องทางการขายชั้นนำในจีน ดันยอดขายพุ่ง รับออเดอร์ลูกค้ารายใหญ่ พร้อมเดินหน้าเต็มกำลังการผลิต
๑๔ พ.ย. PRAPAT ฟอร์มแกร่ง! กวาดกำไร Q3/67 โต 77% แตะ 17.49 ล้านบาท รับปัจจัยหนุนจากรายได้กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านครัว