โดยในงานี้ นายคุรุจิต นาครทรรพ ได้กล่าวว่า ถึงแม้ว่าทั่วโลกกำลังประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และส่งผลให้ทุกคนอยู่ในช่วงที่ลำบาก ผมรู้สึกยินดีที่ในวันนี้มีตัวแทนจากทั้งสามฝ่ายจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ทั้งภาครัฐบาล สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน และเป็นที่น่ายินดีที่ Mr. Michael Sangster, President and General Manager of TOTAL Exploration and Production (Thailand) เป็นแขกรับเชิญที่ จะให้สัมมนาเรื่อง “Exploration & Production — Navigating Turbulent Times” ผมมั่นใจว่าในหัวข้อดังกล่าวจะทำให้ทุกคนได้ทราบว่าเราผ่านช่วงเวลาที่ลำบากได้อย่างไร ในนามของวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี และประเทศไทย ผมใคร่ขอ ผมขอขอบคุณท่านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ตอบรับคำเชิญเป็นวิทยากรครั้งนี้ บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ผมขอเปิดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการ “The 15th PPC Symposium on Petroleum, Petrochemicals, and Polymer” และขออวยพรให้ การประชุมบรรลุผลสำเร็จดังที่คาดหวังทุกประการ
ศาสตราจารย์ ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา ได้กล่าวว่า จุดประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้แก่นิสิตที่กำลังจะจบการศึกษาได้มีการแสดงผลงานการวิจัยแก่สาธารณะ และที่สำคัญไปมากกว่านั้นก็คือ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่นิสิตในการทำงานในอนาคตซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายและการแข่งขันกันเป็นอย่างมาก และในโลกที่กำลังจะก้าวไปสู่ธุรกิจอุตสาหกรรม ความสามารถในการแสดงความคิดและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่ทุกท่านปรารถนา เราเชื่อว่านิสิตที่ได้มาเสนอผลงานการวิจัยในวันนี้มีความเป็นมืออาชีพและมีความรับผิดชอบต่องานเป็นอย่างดียิ่งและเรามีความภาคภูมิใจในนิสิตของเราเป็นอย่างมาก เราเชื่อว่าการร่วมมือกันในการทำงานระหว่างภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา ดังเช่นวิทยาลัยฯร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมนั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่จะแสดงถึงความแข็งแรงและศักยภาพของการเจริญเติบโตของประเทศ และนำไปสู่การพัฒนาในระดับโลกความสำคัญที่เชื่อมต่อ
ภายในงานยังพิธีรับมอบเครื่องมืออุปกรณ์การวิจัย จากบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด พิธีมอบทุนการวิจัยจากบริษัท ปตท. เคมีคอล จำกัด(มหาชน) และการเซ็นต์สัญญาความร่วมมือการวิจัยระหว่างวิทยาลัยฯ กับ บริษัท ลีโก้ อินสตรูเมนท์ส (ประเทศไทย) จำกัด การจัดแสดงผลงานการวิจัยของนิสิตวิทยาลัยฯ ระดับปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีปิโตรเลียม เทคโนโลยีปิโตรเคมี และวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาและดุษฏีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีปิโตรเลียม เทคโนโลยีปิโตรเคมี และวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรทางด้านนี้ ซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีการพัฒนาผลงานการวิจัยที่หลากหลาย และเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นจำนวนมากอีกทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ต่อยอดใช้ในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
วิทยาลัยปิโตรลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ
โทรศัพท์ 02 218 4154
โทรสาร 02 218 4154