อำพลฟูดส์ สวนกระแสวิกฤติเศรษฐกิจ ประกาศเดินหน้าโครงการซีเอสอาร์ ทุ่ม 40 ล้าน ทำแคมเปญกล่องวิเศษ

อังคาร ๒๘ เมษายน ๒๐๐๙ ๑๖:๐๗
ชวนลูกค้าดูแลสิ่งแวดล้อมพร้อมเปิดโรงงานรีไซเคิลกล่องครบวงจร ทำโต๊ะ เก้าอี้ ให้โรงเรียนขาดแคลน

บริษัทอำพลฟูดส์ ผู้ผลิตและจำหน่ายกะทิชาวเกาะ ประกาศชูนโยบาย ซีเอสอาร์ ทุ่มงบประมาณ 40 ล้านบาท ทำโครงการกล่องวิเศษ สร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาขยะกล่อง เผยลงทุนสร้างโรงงานรีไซเคิลกล่องผลิตภัณฑ์ UHT เตรียมทำเป็น โต๊ะ เก้าอี้ 7,600 ชุด มอบให้โรงเรียนที่ขาดแคลนทุกจังหวัด มั่นใจแคมเปญ กล่องวิเศษ โดนใจแม่บ้านและครอบครัว ตั้งเป้าปีแรกลดปริมาณขยะกล่องได้ถึง 10 ล้านกล่อง

นายเกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการบริษัทอำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ผู้ผลิต จำหน่าย และส่งออก กะทิชาวเกาะ และและผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรเพื่อสุขภาพ กล่าวว่าบริษัทได้ให้ความสำคัญกับการดูแลรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) โดยได้ประกาศเป็นนโยบายที่จะได้มีการส่งเสริมอย่างจริงจังในองค์กร ซึ่งแม้ว่าในช่วงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ที่หลายแห่งมีการตัดงบประมาณทางสังคมลง แต่สำหรับอำพลฟูดส์ กลับมีการเพิ่มงบประมาณ เพราะเห็นว่าเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้หลายปีที่ผ่านมาบริษัทพบว่าการให้ความสำคัญและการลงทุนเพื่อพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ ไม่ได้เป็นภาระค่าใช้จ่ายในระยะยาวเลย ตรงกันข้ามกลับทำให้บริษัทประหยัดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน และลดปริมาณของเสียด้วย

กรรมการผู้จัดการบริษัทอำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด กล่าวว่าในปี พ.ศ. 2552 บริษัท มีนโยบายที่จะทำเรื่องซีเอสอาร์ อย่างจริงจัง โดยให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดี การส่งเสริมการศึกษา การสร้างจิตสำนึกทางสังคมให้พนักงาน และการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สำหรับปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาเร่งด่วนที่บริษัทให้ความสำคัญมาก โดยเฉพาะปัญหาขยะกล่องจากผลิตภัณฑ์ โดยได้จัดสรรงบประมาณ 40 ล้านบาท ในการทำโครงการสร้างการมีส่วนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม ภายใต้ชื่อ “กล่องวิเศษ” โดยประมาณ 10 ล้านบาทจะเป็นค่าติดตั้งเครื่องและทำโรงงานรีไซเคิลกล่อง เพื่อผลิตชิปบอร์ด การผลิตสื่อและหนังโฆษณา และจัดกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค ส่วนอีก 30 ล้านบาท จะเป็นงบโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ และกระตุ้นความสนใจ ให้กลุ่มเป้าหมายให้เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ง่าย และมีคุณค่าที่จะให้ความร่วมมือ สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการคือ ผู้บริโภค โดยเฉพาะแม่บ้าน ซึ่งเป็นผู้ใช้ผลิตภัณฑ์หลัก และจะมีบทบาทอย่างยิ่งในการ เชิญชวนให้ทุกคนในครอบครัวเห็นความสำคัญในการส่งกล่องกลับมาให้โรงงานเพื่อเข้ากระบวนการรีไซเคิล

“เพื่อให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมมากที่สุด และเพื่อให้ได้กล่องที่สะอาดกลับมาเข้าสู่ กระบวนการรีไซเคิล บริษัทได้ทำกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม โดยมอบโชคเป็นแรงจูงใจ และกำลังใจให้ผู้บริโภคด้วย โดยตั้งกติกาให้ผู้บริโภค ตัด ล้าง กล่อง ที่ใช้แล้ว เขียนชื่อที่อยู่ ใส่กล่องรับชิ้นส่วนตามร้านค้า เพื่อชิงรางวัลทองคำมูลค่า รางวัลละ 10,000 บาท 3 รางวัล ทุกสัปดาห์ และมีการชิงรางวัลใหญ่ทองคำมูลค่า 300,000 บาท ในเดือนธันวาคม และรางวัลอื่นๆ รวมทั้งสิ้น 2,098 รางวัล มูลค่ารวม 1.9 ล้านบาท โดยจะเริ่มจับรางวัลในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมนี้ ทั้งนี้เชื่อว่ากิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม และจากแผนการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ จะช่วยกระตุ้นให้ ประชาชน ลูกค้า มีความตื่นตัวและมีส่วนร่วมกับเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้บริโภคได้ทราบว่า กล่องที่ใช้แล้ว นอกจากจะให้โชค ยังจะช่วยลดภาระให้กับโลก และยังจะถูกนำไปสร้างคุณค่าใหม่ ทำเป็นโต๊ะ เก้าอี้ ส่งให้โรงเรียนต่างๆ เป็นเสมือนกล่องวิเศษ ที่หากทุกคนร่วมมือกันก็จะเกิดคุณค่าที่ดีๆ ซึ่งในอนาคตบริษัทยังจะได้มีกิจกรรมต่อยอดอื่นๆ อีก”

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวถึงเป้าหมายของโครงการว่า คาดว่าในปีนี้จะสามารถลดปริมาณขยะกล่องจากกระบวนการผลิตและจำหน่ายได้อย่างน้อย 10 % ของยอดจำหน่าย หรือประมาณ 10 ล้านกล่อง และจะสามารถเดินเครื่องรีไซเคิลกล่อง ผลิตชิปบอร์ด เพื่อไปทำชุด โต๊ะ และเก้าอี้ มอบให้โรงเรียนที่ขาดแคลน โรงเรียนละ 100 ชุด ใน 76 จังหวัดรวม 7,600 ชุด โดยชุดแรกจะได้มีพิธีมอบให้โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 23 จังหวัดพิษณุโลกในวันแถลงข่าวด้วย” นายเกรียงศักดิ์ กล่าว

โครงการกล่องวิเศษ ยังได้รับความร่วมมือจากซัพพลายเออร์ ของบริษัท อาทิ บริษัท เอส ไอ จี คอมบิบล็อค จำกัด, บริษัท เต็ดตราแพค (ไทย) จำกัด และ บริษัท กลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด ทั้งนี้กิจกรรมนี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรม CSR ของบริษัท โดยบริษัทยังได้ดำเนินกิจกรรมอื่นๆ เพื่อส่งเสริมด้านสังคม การศึกษา และช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ อาทิ โครงการอาหารต้นกล้า ที่บริษัทได้ร่วมกับสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ส่งเสริมให้เด็กไทยได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่อีกด้วย

บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2532 ด้วยทุนจดทะเบียน 90 ล้านบาท มีวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจเพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากการเกษตรของประเทศ โดยระยะแรกดำเนินธุรกิจส่งออกพืชผักและผลไม้ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก ต่อมาได้ดำเนินการวิจัยเพื่อผลิตกะทิสำเร็จรูปยูเอชทีตรา "ชาวเกาะ" (Chaokoh) เป็นกะทิสำเร็จรูปยูเอชทีรายแรกของประเทศไทย จนเป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย

ต่อมาปี พ.ศ. 2539 บริษัทฯ เริ่มเข้าสู่ตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เพื่อตอบรับแนวโน้มของผู้บริโภคที่เริ่มให้ความสำคัญเกี่ยวกับอาหารเพื่อ สุขภาพ โดยออกผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากบุกผสมน้ำผลไม้ 25% "ฟิต-ซี" (Fit - C), เครื่องดื่มธัญญาหาร น้ำลูกเดือย "โปร-ฟิท" (Pro - Fit) และ เครื่องดื่มธัญญาหารน้ำนมข้าวยาคู "วี-ฟิท" (V-Fit) ต่อมายังได้รับความร่วมมือทางวิชาการจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาเครื่องปรุงรสเพื่อสุขภาพโซเดียมต่ำ และกะทิธัญพืช "กู๊ดไลฟ์" (Good-Life) นอกจากนี้ได้มีการสรรสร้างนวัตกรรมใหม่ของผลิตภัณฑ์น้ำแกงพร้อมปรุง “รอยไทย” (Roi-Thai) และล่าสุดได้มีการวิจัยและพัฒนาจนสามารถออกผลิตภัณฑ์ใหม่เครื่องดื่มธัญญาหารน้ำนมข้าวกล้องงอก “วี-ฟิท” (V-Fit) สู่ตลาด ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ จากความสำเร็จดังกล่าว ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทฯมีพนักงานกว่า 700 คน และมีรายได้ปีละกว่า 1,300 ล้านบาท โดยยังคงมีแนวโน้มรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2552 บริษัทคาดการณ์ว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,800 ล้านบาท สำหรับสัดส่วนการผลิตสินค้าปัจจุบันมีสัดส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว 85% ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 12 % และเครื่องดื่มปรุงรสเพื่อสุขภาพ 3%

บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ดำเนินธุรกิจด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศอันทันสมัย โดยได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ISO9001 : 2000, มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ISO14001, มาตรฐานด้านความปลอดภัยและชีวอนามัย OHSAS / TIS 18001, SA 8000,HACCP และ GMP จากสถาบัน SGS และ BUREA VERITAS และคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย และปัจจุบันบริษัทได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการแสดงความรับผิดชอบของโรงงานอุตสาหกรรมต่อสังคม (Corporate Social Responsibility, Department of Industrial Works : CSR-DIW) เพื่อเป็นการปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือกับ ISO 26000 ที่กำลังจะประกาศใช้ในปี 2553 ด้วย

บริษัทยังได้เปิดเว็บไซต์เกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทด้วย ที่ www.ampolfood.com /CSR เพื่อให้เป็นสื่อกลางให้ข้อมูลข่าวสาร และให้รายละเอียดกิจกรรมซีเอสอาร์ต่างๆของบริษัทด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

จีรศักดิ์ หลักเมือง โทร 085-994-7634

พิมพร ศิริวรรณ โทร 081-928-2808

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ