ก.พ.ค.เผยการทำงานรุดหน้า แนะผู้บริหารยึดหลักธรรมาภิบาล

จันทร์ ๐๔ พฤษภาคม ๒๐๐๙ ๑๗:๒๔
ก.พ.ค. เผยความคืบหน้าการปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์ระบบคุณธรรมของข้าราชการพลเรือนสามัญ ล่าสุดได้วินิจฉัยเรื่องอุทธรณ์ ร้องทุกข์ เสร็จเรียบร้อยแล้วหลายเรื่อง พร้อมออกหลักเกณฑ์การขอเอกสารในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยมอบหมายกรรมการเจ้าของสำนวนเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจ

นางจรวยพร ธรณินทร์ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ในฐานะโฆษก ก.พ.ค. รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของ ก.พ.ค. ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 จนถึง 30 เมษายน 2552 ว่า ขณะนี้ ก.พ.ค. ได้พิจารณาและออกคำสั่งคำวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ไปเรียบร้อยแล้วจำนวน 3 ราย และได้วินิจฉัยข้อร้องทุกข์จำนวน 4 ราย รวมเป็น 7 ราย ซึ่งหลังจากได้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. แล้ว หากผู้อุทธรณ์ยังไม่พอใจสามารถฟ้องต่อที่ศาลปกครองสูงสุด และในส่วนผู้ร้องทุกข์ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. ให้ฟ้องต่อ ศาลปกครองชั้นต้นได้ โดยทั้ง 2 กรณี ให้ฟ้องภายใน 90 วัน เมื่อได้รับคำวินิจฉัยจาก ก.พ.ค.

อย่างไรก็ตาม โฆษก ก.พ.ค. กล่าวว่า ในกรณีของการร้องทุกข์นั้น ส่วนใหญ่เกิดจาก ข้อคับข้องใจในการคัดเลือกบุคคลให้เข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น การย้ายไปในจังหวัดที่ตนเอง ไม่ประสงค์ การไม่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการในตำแหน่งผู้บริหาร รวมทั้งการไม่ได้รับการพิจารณาความดีความชอบ ซึ่ง ก.พ.ค. มองว่าปัญหาเหล่านี้ หากหน่วยงาน ต้นสังกัดจัดกระบวนการเจ้าหน้าที่สัมพันธ์ เน้นการชี้แจงข้อมูล ตลอดจนเปิดโอกาสให้มีการสอบถามหรือซักซ้อมความเข้าใจให้ตรงกันทุกฝ่าย ก็จะช่วยลดข้อคับข้องใจได้มากขึ้น

นอกจากนี้ หลักการสำคัญคือ ผู้บริหารทุกระดับจะต้องใช้หลักธรรมาภิบาลใน การบริหารงาน โดยต้องเป็นไปอย่างเปิดเผย โปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งหากปฏิบัติได้ดังนี้ ก็เชื่อว่าจะทำให้การบริหารราชการมีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

โฆษก ก.พ.ค. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ ก.พ.ค. ได้ออกประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจดูการคัดสำเนา และการรับรองสำเนาเอกสารในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยเปิดโอกาสให้คู่กรณี พยานเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการให้ถ้อยคำของตน หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียซึ่งประสงค์จะขอตรวจดู คัดสำเนาเอกสารในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ สามารถยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อ ก.พ.ค. โดยจะยื่นด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นยื่นคำขอแทน หรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ ซึ่งกรรมการเจ้าของสำนวนจะเป็นผู้พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต และจะมอบให้นิติกรผู้รับผิดชอบสำนวนเป็นผู้รับรองเอกสาร ซึ่งผู้ขอคัดสำเนาต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการคัดสำเนาทั้งหมด

ส่วนคำวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ที่ผ่านกระบวนการพิจารณาเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วนั้น ก.พ.ค. จะจัดห้องสมุดสำหรับจัดเก็บคำวินิจฉัยดังกล่าว เพื่อผู้สนใจจะขอศึกษาและขอคัดสำเนาคำวินิจฉัยได้ โดยให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 1786 กลุ่มสื่อสารองค์กร สำนักงาน ก.พ.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO