ผุดศูนย์ไอซีทีชุมชนทั่วประเทศหวังลดช่องว่างเข้าถึงโลกไซเบอร์

ศุกร์ ๑๕ พฤษภาคม ๒๐๐๙ ๐๙:๒๕
กระทรวงไอซีทีจับมือเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง ผุดไอซีทีชุมชนเพิ่มเป็น 260 แห่งทั่วประเทศ หวังพัฒนาคน สร้างงาน วางแผนการตลาดสินค้าชุมชน และส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้มีชีวิตชีวาในช่วงเศรษฐกิจขาลง เผยหลังประชาชนคืนถิ่นเหตุถูกเลิกจ้างมีคนสมัครเข้าโครงการคึกคัก

ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และนโยบาย “ยุทธศาสตร์แห่งการกระจายโอกาสและการร่วมสร้างสังคมความรู้เพื่อการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน” ว่า กระทรวงไอซีที มีนโยบายที่จะกระจายความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปสู่ชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเน้นการจัดตั้งในพื้นที่ชนบทที่อยู่ห่างไกล เพื่อกระจายโอกาสให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ชาวบ้านและเด็ก เยาวชน ในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้ใช้เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลความรู้ที่เป็นภูมิปัญญา ข้อมูลประกอบอาชีพ และเป็นช่องทางในการแสวงหาตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าชุมชน และเสริมสร้างรายได้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารกับสถานพยาบาล สถานีอนามัย เพื่อช่วยให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนที่อยู่ห่างไกล

ด้วยเหตุนี้จึงได้ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดตั้งศูนย์ไอซีทีชุมชนเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 260 ศูนย์ รวมถึงจำนวนศูนย์เครือข่ายของภาคเอกชนอีก 6 ศูนย์ ทำให้สำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศฯ ได้ใช้โอกาสของการมีศูนย์การเรียนรู้กระจายไปทั่วประเทศ ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของประชาชนในด้านไอซีทีให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านนายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงไอซีที กล่าวว่า หลายจังหวัดที่มีการจัดตั้งศูนย์ไอซีทีชุมชนได้รับความสนใจอย่างมากจากประชาชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเศรษฐกิจถดถอย หลายคนถูกเลิกจ้างต้องเดินทางกลับภูมิลำเนา ซึ่งคนเหล่านี้สนใจเข้าร่วมอบรมการใช้คอมพิวเตอร์และการสร้างเว็ปไซต์ด้วยตัวเองกันอย่างคึกคัก ทั้งนี้เพื่อเป็นช่องทางในการขยายตลาดสินค้าชุมชน ตลอดจนถึงธุรกิจการท่องเที่ยวของแต่ละพื้นที่เพื่อดึงดูดให้คนมาท่องเที่ยวและซื้อสินค้า ซึ่งถือเป็นโครงการที่สามารถพัฒนาคน สร้างงาน สร้างเงิน ได้อย่างดี

สำหรับโครงการไอซีทีชุมชนนั้น เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี 2550 สร้างพื้นที่เล็กๆ ในชุมชน 20 แห่ง ให้มีโอกาสการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยกระทรวงฯ ได้ส่งมอบศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยให้ตัวแทนหรือผู้นำชุมชนกรอกแบบสอบถาม และส่งกลับมาตามที่อยู่ในเอกสาร จากนั้นทางกระทรวงฯ จะพิจารณาจากข้อมูลที่ตอบกลับมา และลงพื้นที่สำรวจชุมชนนั้น ๆ ต่อไป ชุมชนที่ผ่านการประเมินผลจากการลงพื้นที่สำรวจความพร้อมในชุมชน จะได้รับการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน ในปีถัดไป

สำหรับเกณฑ์ในการคัดเลือกนั้น กระทรวงจะคัดเลือกชุมชนที่มีความพร้อมใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสถานที่ บุคลากร งบประมาณ ด้านข้อมูลองค์ความรู้ และด้านวิสัยทัศน์การมีส่วนของชุมชน และผู้นำ โดยไอซีทีต้องการทำเป็นโครงการแม่แบบให้กับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตำบล เข้ามาช่วยจัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปขยายผลในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เป็นการต่อยอดการลงทุนของกระทรวง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ศูนย์ยั่งยืน คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนที่จะช่วยกันดูแล บริหารจัดการ สร้างกิจกรรมภายในศูนย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ