ฉะนั้นในวันนี้จึงต้องสร้างกระแสจุดประกายความคิดเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในประเทศให้หันมาเรียนอาชีวะตามความถนัดของตนเอง เพื่อที่จะนำความรู้ความสามารถไปปฏิบัติประกอบอาชีพได้จริงเป็นไปตามความต้องการของสถานประกอบการ อีกทั้งยังสามารถสร้างอาชีพเป็นเจ้าของธุรกิจเองได้อีกด้วย
การผลักดันและการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพของคนจึงมีความจำเป็นอย่างมากให้เท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป อีกทั้งต้องมีความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะตรงกับความต้องการแรงงานตลาดในระดับมืออาชีพ ฉะนั้นสถานศึกษาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะคัดเลือกผู้เรียนให้ตรงกับเป้าหมายของสถานศึกษา ทั้งสมรรถภาพของตัวผู้เรียนเองจะต้องบ่มเพาะ โดยเน้นทางด้านวิชาชีพและลงมือปฏิบัติ ผสมผสานทฤษฎีและปฏิบัติเข้าไว้ด้วยกัน นั้นก็คือ “บูรณาการ” นั่นเอง
โรงเรียนเทคโนโลยีสยามได้เล็งเห็นความสำคัญของด้านนี้มาตลอดระยะเวลากว่า 4 ทศวรรษ โดยเฉพาะ ณ วันนี้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป จะนำ “อาชีวะสู่โมเดลรูปแบบใหม่” นำโดย ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช ผู้อำนวยการ โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม ผู้บริหารรุ่นใหม่ไฟแรงดีกรีจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้ที่จะสร้างสีสันให้กับวงการอาชีวะที่น่าจับตามอง
“ เพื่อให้สอดคล้องโลกปัจจุบันแห่งโลกาภิวัตน์ อีกทั้งภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ และปัญหาแรงงาน ฉะนั้นจะต้องพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะที่สามารถแข่งขันภายนอกประเทศได้ ฉะนั้นการศึกษาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะไปสู่ Global Competency ซึ่งเป็นการแข่งขันในระดับสากล
...ฉะนั้น 4 สมรรถนะหลักโมเดลใหม่นี้ ได้แก่ W I S E คือ W ( Work-related Competency ) เป็นสมรรถนะทางวิชาชีพ รวมทั้งประสบการณ์ทักษะและการผ่านทดสอบทางวิชาชีพ, I คือ Information Technology เป็นสมรรถนะสารสนเทศ รวมทั้งการค้นพบ และความสามารถใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ, S คือ Social Serice and Discipline เป็นสมรรถนะด้านคุณธรรม วินัย และการบริการ และ E คือ English and Language Skill เป็นสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษและการสื่อสาร โดยสามารถใช้ภาษาสากลและการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
…อาชีวะโมเดลใหม่ ( WISE Model for Competitive Workforce ) นี้ ได้พัฒนาขึ้นโดยมุ่งเน้น 4 สมรรถนะหลักที่สถานศึกษาจะต้องมุ่งเน้นและพัฒนาผ่านหลักสูตร, เนื้อหา, กิจกรรมเสริม/นอก หลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้, การเรียนการสอน, การประเมินผล และดัชนี้บ่งชี้ความสำเร็จ ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถร่วมมือกับองกรรัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่สมรรถนะที่เป็นเลิศทั้งสี่ด้านได้”
สมรรถนะทางด้านวิชาชีพ ( Work-related Competency )
ด้วยปณิธานอันมุ่งมั่นของเทคโนโลยีสยามที่จะสร้างช่างฝีมือด้านอุตสาหกรรมมีคุณภาพเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศทางด้านเทคโนโลยี ในสาขาต่างๆ อาทิ สาขายานยนต์ ไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ และสาขาบริการธุรกิจ ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จำนความรู้ความสามารถในวิชาชีพนั้นๆ ไปใช้ได้จริงๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
“ในการเรียนการสอนจะเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ที่รู้จริงทำจริง นอกจากนี้ยังได้เสริมนำคณาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถรวมไปถึงวิทยากรพิเศษและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในแต่ละสาขามาให้ความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพอย่างแท้จริง
...ทั้งยังส่งเสริมร่วมกับภาคเอกชนทางด้านวิชาการ โดยนำผู้เรียนไปฝึกปฏิบัติการยังสถานที่จริง เพื่อเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์จริงให้กับผู้เรียน และร่วมกับภาครัฐ กรมพัฒนาผีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานฯ ซึ่งเรียกโครงการนี้ว่า ‘โครงการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ’ เพื่อสร้างมาตรฐานความเป็นผู้นำทางด้านอาชีพ ในระดับ ปวช. เพื่อก้าวสู่เส้นทางมืออาชีพอย่างมีประสิทธิภาพในการที่จะขับเคลื่อนพัฒนาสร้างประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
...ฉะนั้นเรากล้ารับประกันสมรรถนะด้านวิชาชีพที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ใช้ได้จริง ได้ระดับมาตรฐานตรงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ที่เป็นเรื่องจำเป็น ทั้งนายจ้างก็ได้ประโยชน์เพราะบุคลากรที่ผ่านตรงนี้สามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริโภคเองก็ได้ประโยชน์จากการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่ได้คุณภาพที่ดีเช่นกัน จึงทำให้ในแต่ละปีจะมีสถานประกอบการต่างๆ เข้ามาขอให้ส่งตัวศึกษาเข้าไปทำงานจำนวนมาก แต่ทางเราจัดให้ไม่เพียงพอแก่ความต้องการ เพราะเด็กเลือกที่จะศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป ดังนี้นักศึกษาที่ได้ผ่านโครงการนี้ 95 % มีงานทำแน่นอน”
สมรรถนะทางด้านสารสนเทศ ( Information Technology )
เป็นความสามารถทางด้านไอที ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ในการใช้สื่อที่ทันสมัยเหมาะสมกับวิชา โดยได้ร่วมมือกับบริษัทไมโครซอฟท์ ในการทดสอบความเป็นเลิศทางโปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศ พร้อมได้เรียนรู้ทักษะโปรแกรมต่างๆ เพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญ เพื่อนำไปใช้ในการเรียนและโลกภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สมรรถนะ ทางด้านคุณธรรม วินัย และการบริการ (Social Serice and Discipline)
โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนยึดมั่นในระเบียบวินับ พร้อมปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังฝีกให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองที่ดีมีศีลธรรม รู้จักเสียสละเพื่อส่วนร่วมและประเทศชาติ
“จะเรียกว่าต้องเป็นคนที่มีจิตสาธารณะ มี Service Mind เพราะเราอยู่ในสังคม ต้องเข้ากับสังคมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโครงการอบรมทางด้านศีลธรรมให้กับผู้เรียนด้วย เพื่ออบรมพื้นฐานจิตใจที่ดี นั่งสมาธิ สอนธรรมศึกษา ซึ่งจะมีสมเด็จพุฒาจารย์มาอบรมให้ความรู้กับผู้เรียนด้วย”
สมรรถนะทางด้านภาษาอังกฤษและการสื่อสาร (English and Language Skill)
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งจำเป็นในโลกแห่งการแข่งขัน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาสากลและการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“เด็กอาชีวะเราเข้าใจดีในเรื่องภาษาอังกฤษ จะให้เก่งทุกคนนั้นคงเป็นไปไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็ขอให้คุ้นเคยและสื่อสารได้พอเข้าใจก็เพียงพอ ฉะนั้นที่นี่จึงได้จัดตั้งโครงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษกับอาจารย์ชาวต่างประเทศขึ้น ซึ่งในโครงการนี้จะฝึกทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างเป็นธรรมชาติ วิธีการสอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าแสดงออก สร้างความมั่นใจ และใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารมากที่สุด พร้อมสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆ ได้”
จากการศึกษาเรื่องคุณลักษณะ ผู้รับการคัดเลือกเข้าทำงานที่ผู้ใช้บัณฑิต/ ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา พบว่า ประสบการณ์/ทักษะวิชาชีพ, ความสามารถทางด้านสารสนเทศ, ทักษะภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างชาติ และคุณธรรม รวมถึงการทำงานเป็นทีมและการให้บริการที่ดี เป็นคุณสมบัติสำคัญสำหรับผู้ประกอบการวิชาชีพในยุคโลกาภิวัตน์
รูปแบบคุณลักษณะที่ดีและสมรรถนะสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นโดย ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช ที่คาดหวังว่าจะสร้างอาชีวะโมเดลใหม่ขึ้นมา เพื่อเป็นสมรรถนะที่สถานศึกษาจะต้องจัดได้มุ่งเน้นเพื่อผลิตบุคลากรให้สอดคล้องตรงกับความต้องการของตลาดวิชาชีพในยุคปัจจุบัน
“แนวคิดนี้ผมได้ร่วมมือวิจัยทางด้านการศึกษากับทางมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มาตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว โดยอาจารย์ของผม ศาสตราจารย์ เฟอร์นันโด ไรเมอร์ส ผู้เชี่วยชาญทางด้านการศึกษาจากฮาร์วาร์ด ซึ่งผมได้นำแนวคิดนี้มาต่อยอด เพื่อที่จะพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพในการแข่งขันสู่ระดับสากล ที่ให้ความสำคัญทั้ง 4 ด้านที่กล่าวมาแล้ว
...เพราะในหลักสูตรเก่าจะสอนครอบจักรวาล แต่ในหลักสูตรใหม่จะสอนแบบบูรณาการ คือมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กันไป ทั้งการฝึกงานนอกสถานที่/กิจกรรมเสริมหลักสูตร และการทดสอบสมรรถนะต่างๆ จากมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความเป็นผู้นำทางวิชาชีพ ที่ผู้เรียนสามารถจะนำไปประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้ หรือจะไปเป็นผู้ประกอบการที่มีประสิทธิได้อย่างดีแน่นอน
…นอกจากนี้ การพัฒนาบุคลากรก็จะต้องเป็นไปตามแผน WISE เหมือนกัน ทั้งผู้เรียนในปีการศึกษานี้เป็นต้นไป ซึ่งโมเดลจะต้องใช้ระยะเวลาที่จะผลิตบุคลากรให้ได้ตามโมเดล WISE ในแต่ละสาขาวิชา อาจจะ 2 หรือ 3 ปี ที่เด็กจบการศึกษาไปแล้วก็จะเห็นเต็มรูปแบบ ที่จะสร้างอิมแพ็คให้เกิดขึ้นในสังคมได้
...4 ทศวรรษที่ผ่านมา เรายึดมั่นสร้างรากฐานที่ดีให้กับเยาวชนไทย และวันนี้เรายังคงมุ่งมั่นที่จะผลิตบุคลากรทีมีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านเทคโนโลยีและธุรกิจแก่สังคมไทยตลอดไป และเราขอที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ในการสร้างสังคมที่ดี”
และนี่คือทฤษฎีบทใหม่ทางการศึกษา...บูรณาการสู่ความเป็นเลิศ “อาชีวะสายพันธุ์ใหม่” ที่น่าติดตาม
เผยแพร่ข่าวในนาม : โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม โทร. 02 864 0358-67
ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม : เบญจมา บินซูกอร์ 081 733 1856