กรุงเทพฯ--2 มิ.ย.--ริพเพิล เอฟ เฟคท์
โครงการเสวนา “สอนลูกให้รู้ทันคน สอนพ่อแม่ให้รู้ทันเกม” วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน 2548 เวลา 14.00 — 15.30 น. ณ เวทีกิจกรรม เอ็มซีซีฮอลล์ เดอะมอลล์ บางกะปิ
ผู้เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบนเวที ประกอบด้วย
1. น.พ. บัณฑิต ศรไพศาล
ผู้อำนวยการ
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
2. นายชนินทร์ วานิชวงศ์
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด
บริษัท ไซเบอร์แพลนเน็ต อินเตอร์ แอคทีฟ จำกัด
3. นายนาวิน สมประสงค์
ผู้ผันตัวเองจากเล่นเกมเป็นผู้พัฒนาซอฟท์แวร์เกมของคนไทย
กลุ่ม Thaiware RPG Maker Community
4. ตัวแทนสื่อมวลชนสายไอที
รอยืนยัน
5. ตัวแทนเยาวชนที่ติดเกม
รอยืนยัน
และผู้ดำเนินรายการ พ.ญ. อัมพร เบญจพลพิทักษ์ กรมสุขภาพจิต
วัตถุประสงค์
1. เสวนาและแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันในสังคม ผู้ปกครองและเด็กเล่นเกม
2. กระตุ้นให้ผู้ประกอบการสร้างสรรค์งานเกมที่มีคุณประโยชน์ และร่วมต่อต้านเกมที่เป็นโทษเพื่อเด็กไทย
3. ปลุกกระแสให้สังคมและสื่อมีวิจารณญาณในการเลือกปฏิบัติ เปิดช่องทางเนื้อหาที่ถูกต้องด้วยความเข้าใจ ต่อเด็กเล่นเกมในทุกๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. เป็นเวทีสาธารณะที่ทุกส่วนจะร่วมประกาศปฏิญาณร่วมกันในการรณรงค์เล่นเกมที่เหมาะสม
การเสวนาครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นให้สื่อมวลชน ผู้ปกครอง และสังคมได้รับทราบถึงข้อมูลครบทุกด้าน เกิดความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของคุณประโยชน์และโทษ รวมถึงแนวทางส่งเสริมเยาวชนที่รักในการเล่นเกมให้พัฒนาทักษะตนเองจากผู้เล่นสู่การประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ไทยต่อไป และช่วยสอดส่องดูแล ป้องกันปัญหาที่เกิดจากโทษของการเล่นเกมที่ไม่เหมาะสม รวมไปจนถึงเกมที่ประกอบด้วยเนื้อหา สื่อในรูปแบบต่างๆ ที่มีผลต่อบุตรหลานและสังคม
ประเด็นแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เกมปัจจุบัน ครอบคลุมอะไรบ้าง ประเภทของเกม
การเลือกเล่นเกมของเด็ก พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างไร ด้านบวก และ ลบ
ผู้ประกอบการ สื่อมวลชน ผู้ปกครองและเพื่อน มีผลต่อเด็กเล่นเกมอย่างไร
พลังของเกมและกระบวนการในการเล่นเกม มีผลต่อการพัฒนาด้านจิตใจและอารมณ์ของเด็ก
พ่อแม่ ผู้ปกครองและสังคม รวมถึงสื่อมวลชน เข้าใจเด็กเล่นเกม และปัญหาที่เกิดขึ้นมากแค่ไหน
เกมสำหรับเด็กที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร การแนะแนวพฤติกรรมเล่นเกมที่ถูกต้องเหมาะสม
รู้จักสังคมของเด็กเล่นเกม เด็กเล่นเกมเพราะอะไร มุมมองของเด็กเล่นเกม
เด็กเล่นเกม พฤติกรรมที่เหมาะสม การต่อยอดพัฒนาสู่เส้นทางอุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเท้นท์
บทสรุปจากเสียงสะท้อนจากมุมมองเด็กไทย ผู้ประกอบการ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรที่ทำงานด้านเด็ก สื่อมวลชน และนักวิชาการ
ติดต่อรายละเอียด
วรภา เตชะสุริยวรกุล โทร. 0-1310-4755--จบ--