ผลงาน “สถานีอวกาศเสมือนจริง” คว้ารางวัล Wonderland Challenge 2009

พฤหัส ๐๔ มิถุนายน ๒๐๐๙ ๐๙:๕๙
บริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกันจัดและประกาศผลการแข่งขัน Wonderland Challenge 2009 สร้างโลกเสมือนจริงครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีทีมนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ร่วมกว่า 30 ทีม

การแข่งขันครั้งนี้มีขึ้นภายใต้หัวข้อ Ultimate Learning Environment มีผู้สมัครมาสามสิบกว่าทีม และส่งเข้าชิงชัยในการแข่งขันสิบกว่าโครงการ โดยมีผลงานหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการสร้างโลกเสมือนของซาฟารี ป่าชายเลน รถไฟ ฯลฯ สำหรับโครงการที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันครั้งแรกนี้คือทีม Hyperion โดยมีสมาชิกคือ นายเกรียงไกร ตรัยไชยาพร และนายณพวัฒน์ มุกตพันธุ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีธีมการสร้างโลกเสมือนจริงสามมิติ เป็นสถานีอวกาศ ที่มีห้องซับซ้อนต่างๆ มากมายสำหรับการศึกษาและค้นคว้าวิจัย ที่นอกจากจะสวยงามแล้วยังเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย

“การตอบรับอย่างดีและความสนใจจากหลายสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมในการแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญของวงการไอทีไทย ในการริเริ่มใช้ทูลแบบโอเพ่นซอร์สในการใช้สร้างโลกเสมือนจริงออนไลน์” รัมภา มนูญศิลป์ กรรมการผู้จัดการ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) กล่าว “การแข่งขันครั้งแรกนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง และเป็นตัวอย่างของความมุ่งมั่นตั้งใจของซันในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านไอทีของภาคการศึกษาไทย ตลอดจนเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ระดับโลก”

“โปรเจ็กต์วันเดอร์แลนด์มีจุดเด่นในแง่การสร้างโลกเสมือนจริงสามมิติขึ้นมาได้สะดวกและรวดเร็ว ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้งานด้านต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนออนไลน์ พิพิธภัณฑ์ออนไลน์ หรือตึกโครงสร้างอาคาร โบราณสถานต่างๆ ที่ยูสเซอร์สามารถเดินเข้าไปได้ หรือเงยหน้าขึ้นมองเห็นยอดเจดีย์สูงใหญ่ได้” อาจารย์ นนทวัฒน์ จันทร์เจริญ คณะบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าว “และด้วยความเป็นโอเพ่นซอร์ส รวมทั้งสร้างได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีต้นทุนในการผลิตโลกเสมือนจริงต่ำลงมามากกว่าที่เคบเป็น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ไปอย่างสิ้นเชิง”

ยิ่งไปกว่านั้นในอนาคต ยังสามารถมีการเชื่อมโยงโลกเสมือนจริงออนไลน์แบบนี้เข้าด้วยกัน โดยผู้ใช้งานสามารถเชื่อมโยงผ่าน URL ที่เชื่อมลิงก์จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งและสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา หรือเชิงพาณิชย์

Project Wonderland ของ Sun Labs คือ โปรแกรมทูลแบบโอเพ่นซอร์สในการสร้างโลกเสมือนจริงสามมิติรันด้วย Java ร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่ทุกคนที่อยู่คนละสถานที่สามารถมามีกิจกรรมร่วมกันในแบบออนไลน์ได้ สามารถแชร์แอพพลิเคชั่น ข้อมูล รันภาพและเสียงได้สมบูรณ์เหมือนเป็นประสบการณ์การพบปะกันจริงๆ โดยขณะนี้มีมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกหลายแห่ง ได้ใช้ Wonderland ในการสร้างโลกแห่งการเรียนรู้ทางไกลแบบมีส่วนร่วมเสมือนจริง (immersive learning) โดยชั้นเรียนจริงในมหาลัยได้เชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ทั่วโลก แชร์ข้อมูลและทำกิจกรรม ตลอดจัดอบรมสัมมนาได้ผ่านเน็ตเวิร์ก และก้าวสู่การใช้งานจริงตามวิสัยทัศน์ Education 3.0

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Wonderland Challenge 2009 โปรดดูที่ http://WC2009.hpcnc.com หรือติดต่อที่เมล์ [email protected]

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณจันทพร นิยมปีติกุล

บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด

โทร. 0-2344-6811

อีเมล์: [email protected]

คุณศุภมาศ พูลสวัสดิ์

บริษัท พีอาร์-วัน เน็ตเวิร์ค จำกัด

อีเมล์: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ