วิชันเนเรียม จับมือ ฟาเบอร์ เยอรมนี ลุยตลาดธุรกิจการจัดการขยะ MBT เน้นช่วยลดภาวะโลกร้อน เล็งเป้าหมายกลุ่ม เทศบาล อบต.อบจ.

ศุกร์ ๐๕ มิถุนายน ๒๐๐๙ ๑๑:๑๑
“บ.วิชันเนเรียม” จับมือ บ. ฟาเบอร์ฯ เยอรมนี เปิดตัวระบบการจัดการขยะชุมชน ระบบ MBT เชิงกล — ชีวภาพ ลดค่าใช้จ่าย - ลดพื้นที่กว่าระบบเดิม เน้นช่วยลดปัญหาขยะล้นประเทศ ลดภาวะโลกร้อน เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม มุ่งขายระบบกับ เทศบาล อบจ. อบต.

นายสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง ประธานกรรมการบริหาร นายสมบัติ ทรงเตชะเลิศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิชันเนเรียม จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ร่วมกับ บริษัท ฟาเบอร์ เทคโนโลยี จำกัด จากประเทศเยอรมนี โดย Mr.Wolfgang Tonges กรรมการผู้จัดการ คุณชัยวัฒน์ ชลิชต์ ผู้จัดการทั่วไป เปิดตัว “ความร่วมมือธุรกิจการจัดการขยะชุมชนระบบ MBT ด้วยกรรมวิธีฟาเบอร์ อัมบรา” ครั้งแรกในไทย ซึ่งเป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตอบรับการรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกันมาก

นายสุทธิชัย กล่าวว่า “โดยส่วนตัวมีความสนใจปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และตระหนักดีถึงเรื่อง ‘ขยะชุมชน’ ที่กำลังเป็นปัญหาในไทย เดิมบริษัททำธุรกิจขายสนามเด็กเล่นให้กับกลุ่มเทศบาล อบจ. และ อบจ. ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว จึงยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ ฟาเบอร์ จากเยอรมนี ให้ความไว้วางใจมอบสิทธิบัตร “ธุรกิจการจัดการขยะชุมชนระบบ MBT ด้วยกรรมวิธีฟาเบอร์ อัมบรา” ให้มาดำเนินการในไทย ผ่าน เทศบาล อบต. และ อบจ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับภาระในการจัดการขยะชุมชนของไทยเรา”

โดยในงานนี้ ดร.ไชยยศ บุญญากิจ รองประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้เล่าเรื่อง “ภาพรวมของปัญหาขยะมูลฝอยในประเทศไทย” ว่า “สถานการณ์ขยะกำลังเป็นปัญหาไปทั่วโลก เพราะโลกมีประชากรเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2543 โลกมีประชากรจำนวน 6 พันล้านคน และคาดว่า ปี 2568 จะมีจำนวน 7.9 พันล้านคน ปี 2593 จะมีจำนวน 9.3 พันล้านคน

ทั้งนี้ ในทุกๆ 1 วินาที โลกมีประชากรเพิ่มขึ้น 2.4 คน มีการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 390,000 ลบ.ม. มีการละลายของธารน้ำแข็ง 1,629 ลบ.ม. มีการลดลงของปริมาณก๊าซออกซิเจน (O2) ในอากาศ 710 ตัน พื้นที่เพาะปลูกหายไปวินาทีละ 2,300 ตร.ม. มีการบริโภค โค กระบือ หมู ไก่ รวม 6.9 ตัน ป่าไม้ธรรมชาติหายไป 5,100 ตร.ม. ผลิตรถยนต์ 1.3 คัน และอีกมากมาย ที่สร้างวิกฤติขยะล้นโลกในปัจจุบัน

โดยในไทยมีขยะมูลฝอย 14.72 ล้านตัน ซึ่งสามารถเก็บรวบรวมในทางการได้ 84% หรือ 12.36 ล้านตัน ในจำนวนนี้มีขยะมูลฝอยที่มีศักยภาพนำมาใช้ประโยชน์ 11.77 ล้านตัน หรือ 80% คือพวกขยะรีไซเคิล 4.4mt และขยะอินทรีย์ 7.3 mt แต่ก็มีขยะที่จัดการไม่ถูกต้อง 64% โดยนำไปเทกองบนพื้น และเผากลางแจ้งถึง 9.42 ล้านตัน และมีหน่วยงานที่ดูแลนำไปฝังกลบอย่างถูกต้องแค่ 5.3 ล้านตัน หรือ 36%

และมีสถิติการร้องเรียนตั้งแต่ ปี 2535 — 2550 มากกว่า 8,000 ราย ในเรื่อง กลิ่นเหม็น ฝุ่นละออง-เขม่าควัน น้ำเสีย กากของเสีย และอื่นๆ ซึ่งสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้นำเสนอแนวนโยบายการจัดการขยะไว้ 4 วิธี คือ 1. การคัดแยกและใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย (3Rs- Reduce Reuse Recycle) 2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจัดการแบบ ผสมผสานเพื่อลดการสิ้นเปลืองพื้นที่ฝังกลบ 3. การกำจัดขยะมูลฝอยแบบรวมกลุ่ม (Cluster) 4. การส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนร่วมลงทุน และดำเนินการในระบบจัดการขยะมูลฝอย

ระบบเชิงกล — ชีวภาพ (MBT) ดำเนินการด้วยกรรมวิธีฟาเบอร์ อัมบรา เป็นเทคโนโลยีจากเยอรมนี ที่มีประสิทธิภาพสูง ได้รับการยอมรับมาแล้วจากทั่วโลก เป็นการจัดการขยะมูลฝอยแบบเชิงกล — ชีวภาพ ซึ่ง จัดการขยะได้ผลดีไม่รบกวนชุมชน เน้นการคัดแยกขยะเพื่อการนำไปทำประโยชน์ ก่อนการกำจัด เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยมีโครงการนำร่องทดลองดำเนินการได้ผลดีจริง เริ่มมาเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว ใน จ.พิษณุโลก จากการช่วยเหลือแบบให้เปล่าของ GTZ เยอรมนี ผ่าน บ.ฟาเบอร์ เทคโนโลยี จำกัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO