เปิดตัวโครงการกวีน้อย ตามรอยสุนทรภู่ จังหวัดระยอง

จันทร์ ๐๘ มิถุนายน ๒๐๐๙ ๑๐:๔๗
ไออาร์พีซี เชิดชูวัฒนธรรมไทย จับมือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระยอง และกลุ่มส่งเสริมศาสนาศิลปและวัฒนธรรม เปิด‘ โครงการกวีน้อย ตามรอยสุนทรภู่ ประจำปี 2552 ‘ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 มุ่งอนุรักษ์โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และภาษาไทย มรดกทางวัฒนธรรมให้สืบต่อไปอีกยาวนาน

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 6 มิ.ย.นายสุรพล แสวงศักดิ์ รองผู้ว่าฯ จังหวัดระยอง เป็นประธานเปิด “ โครงการกวีน้อยตามรอยสุนทรภู่ ประจำปี 2552 ” ซึ่งบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระยอง และกลุ่มส่งเสริมศาสนาศิลปและวัฒนธรรม เป็นผู้ดำเนินการ ณ โรงละครหนังใหญ่วัดบ้านดอน ต.เชิงเนิน อ.เมือง จ.ระยอง ตั้งแต่วันที่ 5-7 มิ.ย.นี้

นายปฏิภล ธาดากร ผู้ช่วยรองผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายสื่อสารองค์กรและมวลชนสัมพันธ์ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการจัดโครงการกวีน้อย ตามรอยสุนทรภู่ ประจำปี 2552 ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเชิดชูวัฒนธรรมไทย เน้นไปที่กลุ่มเยาวชนเป็นหลัก เพราะทุกวันนี้บทประพันธ์ประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร้อยแก้ว ร้อยกรอง นับแต่จะเลือนหายไป ในขณะที่จังหวัดระยองเองมีมหาบุรุษกวีเอกของประเทศไทย คือ สุนทรภู่ ซึ่งเสมือนภาพลักษณ์ของชาวจังหวัดระยองอยู่แล้ว

นายปฏิภล กล่าวอีกว่า กำหนดการดำเนินงานในวันที่ 5 มิ.ย. ได้เชิญนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรท์และศิลปินแห่งชาติ และนายยุทธ โตอดิเทพย์ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย มาให้ความรู้กับครูสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษา ในเขตพื้นที่จ.ระยอง ประมาณ 50 คน เพื่อจะนำความรู้ที่ได้ไปสานต่อถ่ายทอดไปสู่นักเรียน สำหรับในวันที่ 6 และ 7 มิ.ย. คณะทำงานได้คัดเลือกนักเรียนในระดับ ป.5- 6 จำนวน 150 คน เพื่อเข้าอบรมให้ความรู้ ฝึกเขียนงาน ร่วมอ่านบทกวี และร่วมเวทีวิพากษ์ ร่วมทั้งแข่งขันแต่งบทกลอน ให้เยาวชนได้สืบสานวัฒนธรรมที่ดี

ด้านกวีซีไรท์ นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กล่าวว่า การมาเป็นวิทยากรให้กับครู เป็นบทบาทที่สำคัญประการหนึ่ง เนื่องจากครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายทอดสิ่งต่างๆ ไปสู่เด็ก ทางด้านการเรียนการสอนปัจจุบันไม่ได้เน้นพื้นฐานมากนัก เพราะเนื้อหากวีที่ดีจะช่วยให้เด็กนำไปคิดและนำไปต่อยอดทางความคิดได้ “ทางใหญ่อย่าพึงจร เด็กอ่อนอย่างอุ้มรัด” ทางใหญ่คือกิเลส อย่าไปเดินตามมัน เด็กอ่อน คือเด็กเล็กมีความคิดที่บริสุทธิ์ อย่าไปบังคับ แต่ให้เค้ามีอิสระที่จะจิตนาการ การเรียนโคลงกลอนบทกวีจะเป็นการสอนอีกทางที่ช่วยได้

นายยุทธ โตอดิเทพย์ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทางภาครัฐและเอกชน ให้ความ สำคัญเข้ามาส่งเสริมเรื่องการเขียนกลอน กวีนิพนธ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการจัดค่าย การประกวด เผยแพร่ผลงาน ให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัย เพราะภาษาไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิต ประจำวัน จึงควรที่จะยึดถือในเรื่องแบบแผน การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารที่ดี กาพย์ กลอน ต้องอนุรักษ์ไว้ หากไม่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุน นับวันก็จะเลือนหายไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ