ยิ้มได้หลังภัยสึนามิ

พุธ ๑๐ มิถุนายน ๒๐๐๙ ๑๕:๒๘
บทความพิเศษ “ ยิ้มได้หลังภัยสึนามิ ” ( สนับสนุนข้อมูลโดย โรงพยาบาลเจตนิน )

เกือบ 5 ปี ที่เหตุการณ์สึนามิ ยังคงตามหลอกหลอนคนไทยทั้งประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรงกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ บางครอบครัวสูญเสียน้อย บางครอบครัวสูญเสียมาก แต่ที่แน่นอนที่สุดคือ ทุกครอบครัวไม่สามารถเรียกร้องสิ่งที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้

จากข้อมูลการสำรวจพบว่า มีครอบครัวเป็นจำนวนไม่น้อย ที่สูญเสียบุตรธิดาไปทั้งหมดในเหตุการณ์ครั้งนี้ ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้น ผู้เป็นบิดาหรือมารดา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังได้มีการทำหมันไปแล้ว ทำให้โอกาสในการมีทายาทไว้สืบสกุลยิ่งยากเข้าไปใหญ่ อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการแก้หมันก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องนำคิด เนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ยังคงมีราคาสูงมาก

โรงพยาบาลเจตนิน โดยพล.ต.ต.นพ.จงเจนต์ อาวเจนพงษ์ ประธานกรรมการบริษัท เจตนิน จำกัด จึงได้จัดตั้ง โครงการพิเศษเพื่อช่วยเหลือคู่สมรสที่สูญเสียบุตรจากภัยสึนามิ ถวายเป็นพระราชกุศลแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 80 พรรษา ขึ้น และมอบหมายให้ พญ.ปิยพันธ์ ปุญญธนะศักดิ์ชัย สูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากและคุณอุษณีย์ เจตน์สว่างศรี ผู้อำนวยการรพ.เจตนิน เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เพียงแต่ต้องมีคุณสมบัติตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ กล่าวคือ ผู้เข้าร่วมโครงการฝ่ายหญิงต้องมีอายุน้อยกว่า 40 ปี ผ่านการทำหมันมาแล้ว ได้สูญเสียบุตรทั้งหมดจากเหตุการณ์สึนามิ ไม่มีรายได้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในการแก้หมัน และต้องการมีบุตรธิดาในการสืบสกุลต่อไป ซึ่งหลังจากโครงการได้รับการเผยแพร่ออกไป ผ่านทางสื่อต่างๆ ปรากฏมีครอบครัวที่สนใจเข้าร่วมโครงการถึง 14 คู่ พบ 6 คู่ ที่มีคุณสมบัติตรงกับเป้าหมายของโครงการ แต่มีคู่ที่พร้อมเข้ารับบริการเพียง 1 คู่ กระบวนการคืนรอยยิ้มให้กับครอบครัวที่สูญเสียบุตรธิดาไปกับเหตุการณ์สึนามิทั้งหมด จึงเริ่มขึ้น

โดยในเดือนกรกฎาคม 2551 มีผู้เข้าโครงการ 1 คู่ มาพบแพทย์ที่รพ.เจตนิน เพื่อรักษาการมีบุตร ทั้งคู่ได้รับการตรวจร่างกายตามขั้นตอนของวิธีการรักษา เดือนสิงหาคม 2551 ฝ่ายหญิงเริ่มได้รับการกระตุ้นไข่ และเจาะเก็บไข่ เพื่อทำการปฏิสนธิกับอสุจิของสามี และได้รับการใส่กลับตัวอ่อน โดยยังมีตัวอ่อนเหลือแช่แข็งเก็บอยู่อีก แต่ครั้งแรกนี้ฝ่ายหญิงยังไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาเดือนกันยายน 2551 ฝ่ายหญิงกลับมารับการใส่กลับตัวอ่อนที่แช่แข็งไว้และนำมาละลาย ปรากฏว่าครั้งนี้ ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ จากผลการตรวจอัลตราซาวด์ได้ทารกเพศชาย 1 คน และได้คลอดบุตรเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 เวลา 15.03 น. น้ำหนัก 3,575 กรัม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ