CPF หนุน มก. จัดประชุมวิชาการนานาชาติด้านพันธุศาสตร์สัตว์น้ำ

พุธ ๑๐ มิถุนายน ๒๐๐๙ ๑๗:๔๕
นายพินิจ กังวานกิจ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟเป็นภาคเอกชนของไทยที่ให้ความสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์น้ำอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด และประสบความสำเร็จอย่างมากในด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำจนนำไปสู่การพัฒนาเชิงเศรษฐกิจของธุรกิจสัตว์น้ำในประเทศไทย

ทั้งนี้ การพัฒนาด้านพันธุกรรมหรือจีนีติกส์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนกำหนดความสำเร็จในการผลิต มากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งทางซีพีเอฟได้ทำการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำหลายชนิด อาทิ ปลาทับทิม (Hybrid Red Tilapia) และกุ้งขาวแวนนาไม หรือ ซีพีเอฟ เทอร์โบ โดยเฉพาะปลาทับทิมนั้นได้รับการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติคือคัดสายพันธุ์ ไม่ใช่การตัดแต่งพันธุกรรม และกลายเป็นปลายอดนิยมสำหรับการบริโภคของคนทั่วไป ส่วนพันธุ์กุ้งขาวหรือ ซีพีเอฟ เทอร์โบ นอกจากจะมีความต้านทานโรคดีแล้ว ยังสามารถเจริญเติบโตได้ดีมากภายใน 65 วัน สามารถเลี้ยงได้ขนาด 65 ตัว/กก. จากอดีตที่ต้องใช้เวลาเลี้ยง 130-150 วัน ซึ่งเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

ล่าสุด ซีพีเอฟได้สนับสนุนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านพันธุศาสตร์เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ครั้งที่ 10 (The 10th International Symposium on Genentics in Aquaclture: ISGA X) ระหว่างวันที่ 22 — 26 มิถุนายน 2552 ณ คอนเว็นชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 5 เซ็นทรัลลาดพร้าว เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการศึกษาวิจัยพันธุศาสตร์สัตว์น้ำในระดับสูง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป

ด้านศาสตราจารย์ ดร.อุทัยรัตน์ ณ นคร หัวหน้าภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การประชุม ISGA X เป็นการประชุมของนักวิชาการชั้นนำด้านพันธุศาสตร์เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจากทั่วโลก โดยในปีนี้มีการเสนอผลงานวิจัยทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ จำนวน 217 เรื่อง จากผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 300 คน จาก 39 ประเทศทั่วโลก โดยมีผลงานวิจัยเด่นๆ ที่จะนำเสนอในการประชุม ISGA 2009 อาทิ การค้นพบโปรตีนที่อาจใช้ควบคุมให้เกิดกุ้งก้ามกรามเพศผู้, กุ้งก้ามกรามโตเร็วโดยการผสมข้ามในประเทศเวียดนาม, กุ้งขาวสายพันธุ์ใหม่, การปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำโดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุล, หอยมุกน้ำจืดพันธุ์ใหม่, การปรับปรุงพันธุ์หอยเป๋าฮื้อ, การค้นพบเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับความต้านทานโรคในปลา, การค้นพบเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของกุ้งกุลาดำ, การจับคู่ผสมพันธุ์ปลาบึกโดยอาศัยเครื่องหมายพันธุกรรมในนิวเคลียสและในไมโตคอนเดรียล ดีเอ็นเอ เป็นต้น

สำนักสื่อสารและประชาสัมพันธ์ CPF

โทร. 02-625-7344-5

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ