แนวคิดกลยุทธ์ทางด้านเอาท์ซอร์ส เพื่อรับมือเศรษฐกิจขาลง

พฤหัส ๑๑ มิถุนายน ๒๐๐๙ ๑๐:๔๕

รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจบริการ

บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

ด้วยสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ จำต้องหากลยุทธ์ในการประคับประคองบริษัททุกรูปแบบ วิธีการอย่างหนึ่งที่หลายบริษัทเลือกทำก็คือ ความพยายามเก็บรักษาเงินสดและสภาพคล่องของบริษัทให้ได้มากที่สุด และหาทางลดค่าใช้จ่ายด้วยมาตรการต่าง ๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งการลดงบประมาณด้านไอที ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยองค์กรลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลผลิตรวมทั้งประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าองค์กรแต่ละแห่งจะมีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการทางธุรกิจเพื่อฟันฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจอย่างไร ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ต่อความสำเร็จทางธุรกิจอย่างยั่งยืนขององค์กร อาจพิจารณากลยุทธ์ทางธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยมุมมองและมิติที่หลากหลายขึ้น หนึ่งในกลยุทธ์ที่ถือได้ว่ามีส่วนช่วยองค์กรลดค่าใช้จ่าย ปรับปรุงกระแสเงินสดและช่วยเพิ่มสภาพคล่องของบริษัท ก็คือ การใช้กลยุทธ์ทางด้านเอาท์ซอร์สซิ่ง (Strategic Outsourcing) ซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์ต่อองค์กรในเรื่องสภาพคล่องทางการเงินแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้องค์กรได้ใช้โอกาสไปทุ่มเทเวลาและทรัพยากรกับธุรกิจหลักของตน

แนวทางที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ อาจมีส่วนช่วยให้มุมมองกับผู้บริหารหลายท่านเกี่ยวกับบริการทางด้านเอาท์ซอร์สโดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งความท้าทายทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

1. การหาทางใช้ประโยชน์สูงสุดจากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่

วิธีการใช้ประโยชน์สูงสุดจากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ มีส่วนช่วยองค์กรลดค่าใช้จ่ายและอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น การพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีเสมือนหรือเวอร์ช่วลไลเซชั่น (Virtualization) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีอยู่ให้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยบริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการบำรุงรักษาระบบไปพร้อม ๆ กัน หรือ การพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีทางเลือกเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของพนักงาน เช่น เทคโนโลยีเพื่อรองรับการประชุมทางไกล (Teleconferencing) เป็นต้น ซึ่งการเลือกติดตั้งหรือใช้เทคโนโลยีดังกล่าว องค์กรอาจใช้บริษัทที่ปรึกษาเพื่อช่วยให้คำแนะนำและติดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม หรืออาจเลือกใช้บริการนี้ในรูปแบบของบริการเอาต์ซอร์สแทนเพื่อช่วยให้เกิดความคุ้มค่าต่อองค์กรมากที่สุดก็ได้ นอกจากนั้นแล้ว การเลือกใช้โซลูชั่นทางด้านเอสโอเอจากผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ ก็เป็นอีกหนทางหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยปรับปรุงระบบไอทีโดยรวมขององค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวลงได้เช่นเดียวกัน

2. เปลี่ยน CAPEX ให้เป็น OPEX

ในช่วงที่ผ่านมา มีบริษัทชั้นนำหลายแห่งเลือกใช้กลยุทธ์ในการเปลี่ยนค่าใช้จ่ายด้านทุน (Capital Expenditure - CAPEX) ให้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Expenditure -OPEX) แทน โดยหนึ่งในวิธีการดังกล่าว คือ การใช้บริการทางด้านเอาท์ซอร์ส ทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์ในการลดค่าใช้จ่าย เก็บรักษาเงินสดและรักษาสภาพคล่องของบริษัทให้ได้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็ทำให้บริษัทหลีกเลี่ยงการลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ในครั้งเดียว ตัวอย่างเช่น บริษัท เคียวโบ (Kyobo) ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำของเกาหลีใต้ ที่เลือกใช้บริการทางด้านเอาท์ซอร์สเป็นระยะเวลา 10 ปีกับไอบีเอ็ม ภายใต้แนวคิดขององค์กรที่ต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อนำเสนอบริการที่โดดเด่นสำหรับลูกค้ารวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถด้านไอทีไปพร้อม ๆ กัน ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญในการเลือกใช้บริการเอาท์ซอร์สของเคียวโบมาจากข้อจำกัดทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีของบริษัทนั่นเอง และด้วยการเลือกใช้บริการเอาท์ซอร์สจากไอบีเอ็ม ช่วยให้เคียวโบสามารถปรับปรุงคุณภาพของบริการ รวมทั้งความสามารถในการกำหนดราคาของบริการในด้านการประกันชีวิต ซึ่งทั้งหมดนี้ไอบีเอ็มได้เข้าไปลงทุนด้านไอที ปรับเปลี่ยนระบบและขบวนการทำงานใหม่ และทำให้บริษัทเก็บรักษาเงินสดได้ ในขณะเดียวกันก็ทำให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยลงได้ถึง 19% อีกด้วย

3. การเข้าถึงแหล่งเงินทุนทางเลือก

พันธมิตรทางด้านเอาต์ซอร์สที่ดี นอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระทางธุรกิจให้บริษัทหันไปทุ่มเทเวลาและทรัพยากรกับธุรกิจหลักของตนแล้ว ยังสามารถช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนทางเลือกได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น บริษัท โฮสต์เวย์ (Hostway) ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งชั้นนำของเกาหลีใต้ ที่ต้องการสร้างอินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์ แต่ไม่มีเงินทุนเพียงพอ ซึ่งต่อมาด้วยบริการทางด้านการเงินจากไอบีเอ็ม โกลบอล ไฟแนนซิ่ง (IBM Global Financing - IGF) ทำให้บริษัท โฮสต์เวย์ เพิ่มขีดความสามารถและความคล่องตัวในการบริหารจัดการด้านการเงินของบริษัท และแข่งขันกับผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตในเกาหลีใต้อื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ลดความเสี่ยงด้วยโมเดลทางธุรกิจแบบแบ่งปันรายได้ (Revenue Sharing Model)

ปัจจุบัน มีรูปแบบบริการเอาท์ซอร์ส รูปแบบใหม่ นั่นคือ การเอาท์ซอร์สในลักษณะของการแบ่งปันรายได้ (Revenue Sharing Model) ซึ่งรูปแบบบริการดังกล่าวนี้ คือ การที่ผู้ให้บริการทางด้านเอาท์ซอร์สมีส่วนกับรายได้ของลูกค้า โดยที่ผู้ให้บริการรายนั้นต้องช่วยลูกค้าปรับแนวทางและกลยุทธ์ทางธุรกิจ รวมทั้งแบกรับความเสี่ยงทางธุรกิจไปพร้อม ๆ กัน ในรูปแบบของการแบ่งปันรายได้

ตัวอย่างเช่น ในปี 2547 บริษัท บาห์ติ แอร์เทล (Bharti Airtel) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำในประเทศอินเดีย ได้เลือกใช้บริการทางด้านเอาท์ซอร์สแบบแบ่งปันรายได้กับไอบีเอ็ม โดยให้ไอบีเอ็มช่วยปรับปรุงกระบวนการธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ โดย ภายใต้สัญญาดังกล่าว ทางบาร์ติ ตกลงกับไอบีเอ็มว่าการชำระเงินค่าบริการให้ไอบีเอ็มจะเชื่อมโยงกับรายได้ของบาห์ติ ผลลัพธ์คือ ด้วยบริการเอาท์ซอร์สจากไอบีเอ็ม มีผลทำให้บาร์ติ ลดค่าใช้จ่ายและประหยัดเงินได้ถึงปีละ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนั้นแล้ว ทางบาร์ติยังสามารถปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ขององค์กรให้เป็นไปตามข้อกำหนดภายใต้กฎหมายด้านบรรษัทภิบาลของซาร์เบนส์-ออซ์เลย์ (Sarbanes-Oxley) ได้อีกด้วย

รูปแบบการให้บริการเอาท์ซอร์สแบบแบ่งปันรายได้ ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจโดยเฉพาะกับบริษัทที่มีงบประมาณทางด้านไอทีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ สามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายการลงทุนเบื้องต้นก้อนใหญ่ในครั้งเดียว อีกทั้งยังสามารถผ่องถ่ายความเสี่ยงทางธุรกิจไปให้บริษัทผู้ให้บริการเอาท์ซอร์สได้อีกด้วย

สร้างผลตอบแทนสูงสุด

ในสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปัจจุบัน อาจเป็นช่วงเวลาที่องค์กรหลายแห่งสามารถพลิกวิกฤติให้กลายเป็นโอกาสได้ โดยใช้เวลาในช่วงนี้ พัฒนาปรับปรุงระบบหลังบ้าน รวมทั้งหาแนวทางสร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนารูปแบบการบริการที่โดดเด่นเพื่อความแข็งแกร่งทางธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเวลาที่สภาพเศรษฐกิจดีขึ้น นอกจากนี้ ด้วยประโยชน์หลากหลายรูปแบบจากบริการเอาท์ซอร์ส เปิดโอกาสให้ธุรกิจหันไปลงทุนกับเวลาและทรัพยากรในเรื่องที่มีความสำคัญต่อธุรกิจหลัก ขณะเดียวกันก็ใช้ประโยขน์จากผู้ให้บริการเอาท์ซอร์สให้งานด้านอื่นที่บริษัทมีความถนัดน้อยกว่า

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่มีผลมาจากบริการทางด้านเอาต์ซอร์สก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาพนักงานที่มีความสามารถเอาไว้ให้ได้ ในช่วงของการโอนถ่ายงาน หรือการโน้มน้าวให้ผู้ถือหุ้นสนับสนุนโครงการต่าง ๆ เพื่อการปรับปรุงหรือปฏิรูปองค์กร อย่างไรก็ดี ความสามารถในการบริหารจัดการภายในรวมทั้งการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจอย่างเหมาะสม รวมทั้งการมีบรรษัทภิบาล และการใช้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ก็ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงหรือการเปลี่ยนถ่ายงานเป็นไปอย่างราบรื่นในที่สุด

เผยแพร่โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

วีระกิจ โล่ทองเพชร โทรศัพท์ : 02 273 4117 อีเมล์: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย