“ที่ประชุมคณะกรรมการร่างกฎหมายสภาไอซีที ได้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาในร่างกฎหมายดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2551 โดยได้มีการแก้ไขในมาตราต่างๆ อาทิ การใช้ชื่อภาษาไทยให้ใช้ว่า “สภาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย” และชื่อย่อว่า “สภาไอซีทีแห่งประเทศไทย” การแก้ไขโครงสร้างสมาชิกที่ให้สภาไอซีทีฯ มีสมาชิก 3 ประเภท คือ สมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ และสมาชิกสมทบ โดยสมาชิกที่มีสิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารจะเป็นสมาชิกสามัญ และวิสามัญ เป็นต้น” นายอังสุมาล กล่าว
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการร่างกฎหมายสภาไอซีที จะได้มีการพิจารณาเนื้อหาในร่างกฎหมายฉบับนี้อีกครั้ง อาทิ ในเรื่องผู้มีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกประเภทต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ร่างกฎหมายสภาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศ ไทยฉบับสมบูรณ์ และนำเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยการจัดประชุมและสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป ก่อนเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพิจารณา จากนั้นจึงนำเข้าสู่กระบวนการตราเป็นพระราชบัญญัติ โดยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อผลักดันกฎหมายสภาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทยเข้าสู่การประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจัดตั้งเป็นสภาไอซีทีต่อไป
“สภาไอซีทีฯ นี้จะทำงานประสานความร่วมมือกับภาครัฐ โดยจะต้องเป็นผู้รวบรวมข้อมูลด้านไอซีทีที่มีความทันสมัย และนำมาเสนอแนะแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีทีในอนาคตให้ภาครัฐ เพื่อให้รัฐนำไปใช้กำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนาด้านไอซีทีของประเทศให้ก้าวหน้า และก้าวทันประเทศต่างๆ ทั่วโลก” นายอังสุมาล กล่าว