“เรามีโครงการซีเอสอาร์ที่ช่วยพัฒนาสังคมที่หลากหลาย ทั้งด้าน การศึกษา การพัฒนาชุมชน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การให้ความช่วยเหลือชุมชนในประเทศไทยที่ขาดแคลน และด้อยโอกาส โครงการเหล่านั้น เราก็ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ โลกเราทุกวันนี้ เชื่อมโยงกัน เราปฎิเสธไม่ได้ว่าประเทศเราไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวได้อีกต่อไป เราจึงนึกถึงผู้ลี้ภัย ซึ่งแม้จะเป็นชาวต่างชาติ แต่เขาก็เป็นเพื่อนบ้านของเราที่ต้องหนีออกจากประเทศของเขา พวกเขาไม่มีทางเลือก ถ้าเขาไม่หนี เขาก็อาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้ เขาเข้ามาพึ่งพาประเทศไทย ซึ่งมีความร่วมเย็นเป็นสุข เราในฐานะที่เป็นคนไทย เรามีโอกาสมากกว่า และอยู่ในฐานะที่จะให้ความช่วยเหลือพวกเขาได้ เราจึงริเริ่มความร่วมมือกับยูเอ็นเอชซีอาร์ เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ด้วยความที่ศูนย์การค้าของเราเป็นศูนย์กลางของชุมชน ศูนย์การค้าของเราจะเป็นสื่อกลางในการช่วยประชาสัมพันธ์การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยให้คนทั่วไปได้รับทราบ” นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าว
ปัจจุบัน มีผู้ลี้ภัยกว่า 112,000 คน อาศัยอยู่ในค่ายจำนวน 9 แห่ง ซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาลไทย โดยการแจกจ่ายอาหาร และบริการต่างๆ ได้รับความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศ ยูเอ็นเอชซีอาร์เป็นหนึ่งในองค์กรเหล่านั้น โดยเริ่มต้นทำงานในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2518 เน้นการทำงานให้การปกป้องระดับนานาชาติต่อผู้ลี้ภัยที่หนีจากสงคราม และการประหัตประหารในประเทศของตน เนื่องจากงบประมาณของยูเอ็นเอชซีอาร์มีจำกัด จึงจำเป็นที่จะระดมทุนร้อยละ 95 ของงบประมาณองค์กร จากทั้งรัฐบาล และบุคคลทั่วไป ในปีที่ผ่านมา ยูเอ็นเอชซีอาร์ ได้ริเริ่มการระดมทุนในประเทศไทย เพื่อให้คนไทยได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในประเทศของตน
“คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยทราบว่ามีคนที่เป็นผู้ลี้ภัยจริงๆ อยู่ในประเทศของตัวเอง” นาง คิตตี้ แมคเคนซี่ โฆษกประจำสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) กล่าว “ผู้ลี้ภัย ไม่เหมือนแรงงานต่างด้าว ผู้ลี้ภัยไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากหนีออกจากประเทศของตน พวกเขาต้องหนี เพราะชีวิตของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย หรือมีการไม่เคารพสิทธิมนุษยชนของพวกเขา เมื่อเราเริ่มโครงการโดยพนักงานของเราออกไปตามจุดต่างๆ อธิบายให้คนไทยทราบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย ก็ได้รับความเห็นใจเป็นอย่างมาก”
ในวันที่ 20 มิถุนายน ของทุกปี องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นวันผู้ลี้ภัยโลก ยูเอ็นเอชซีอาร์ และกลุ่มผู้ลี้ภัย ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก จะเฉลิมฉลองในความกล้าหาญ และศักดิ์ศรี ของผู้ลี้ภัยร่วมกัน ในประเทศไทย ซีพีเอ็น ร่วมเผยแพร่สปอตโทรทัศน์ซึ่งกล่าวโดยดาราสาว แองเจลิน่า โจลี่ ซึ่งเป็นทูตสันทวไมตรีของยูเอ็นเอชซีอาร์ ในวิดีโอวอลล์ และสื่อประชาสัมพันธ์ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ทั้ง 9 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 15-30 มิถุนายนนี้
“ผู้ลี้ภัย ต้องการความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆ องค์กรต่างๆ บุคคลทั่วไปอีกจำนวนมาก ร่วมกันทำให้เกิดการเคารพสิทธิของพวกเขา และช่วยเหลือในสิ่งที่พวกเขายังขาดแคลน การที่เรามีภาคเอกชนอย่าง ซีพีเอ็น เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และร่วมมือกับยูเอ็นเอชซีอาร์ ถือเป็นก้าวที่สำคัญสำหรับเราที่จะทำงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น” นาง คิตตี้ แมคเคนซี่ สรุป
หมายเหตุสำหรับบรรณาธิการ
1.ซีพีเอ็น ได้รับการจัดเครดิตที่ระดับ A+ โดยทริสเรตติ้ง ซึ่งสะท้อนความแข็งแกร่งของบริษัท ในฐานะผู้นำในธุรกิจพัฒนาศูนย์การค้าในประเทศไทย ปัจจุบัน ซีพีเอ็นบริหารศูนย์การค้ารวม 14 แห่ง ได้แก่ เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า, เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว, เซ็นทรัลพลาซา บางนา, เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2, เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3, เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา, เซ็นทรัล พลาซา รัตนาธิเบศร์, เซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ แอร์พอร์ต, เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ, เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี, เซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี, เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา, เซ็นทรัล เฟสติวัล พัทยา บีช และเซ็นทรัลเวิลด์
2. ซีพีเอ็นตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัทฯ มีการทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR อย่างต่อเนื่องทุกปี โดยแนวทางในการทำ CSR ของบริษัทจะมุ่งเน้นการเข้าไปดูแล ช่วยเหลือ และร่วมสร้างสรรค์สังคมไทยเป็นสำคัญ ทั้งในแง่การสนับสนุนด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และร่วมสร้างความ เป็นอยู่ของชุมชน และสังคมให้ดีขึ้น รวมถึงการปรับสภาพสิ่งแวดล้อม ให้กลับมาสมบูรณ์หรือดียิ่งขึ้น กว่าเดิม ล่าสุดซีพีเอ็น ได้รับการจัดอันดับจาก CSR Asia ผู้ให้บริการด้านข้อมูล การฝึกอบรม การทำวิจัย และการให้คำปรึกษาด้าน CSR ในเอเชีย ให้เป็นบริษัท Top 10 CSR Asia Business Barometer2008
3. ยูเอ็นเอชซีอาร์ เริ่มดำเนินการทั่วโลกในปี พ.ศ. 2493 ในปัจจุบัน องค์กรได้ช่วยเหลือคนกว่า 50 ล้านคนทั่วโลกเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่
4. ยูเอ็นเอชซีอาร์ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในประเทศไทยในด้านต่างๆ ดังนี้
a. การป้องกัน ด้านสิทธิ ความมั่นคง และความปลอดภัยของผู้ลี้ภัย
b. การสร้างอาชีพ อบรมอาชีวศึกษา
c. การศึกษา การสร้างห้องสมุด การสอนภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
d. การดำเนินการให้ผู้ลี้ภัยได้ตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม
5. ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 ยูเอ็นเอชซีอาร์ ได้ดำเนินการให้ผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าจำนวน 40,000 คน ได้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม อาทิ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา และอังกฤษ
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
ปรีติ ประพันธ์วิทยา ผู้จัดการแผนกประชาสัมพันธ์ ซีพีเอ็น โทร 02 667 5555 ต่อ 4306 อีเมลล์ [email protected]
อรุณี อัชชะกุลวิสุทธิ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายระดมทุน สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์)
โทร. 02 288 2811 มือถือ 081 831 9760 อีเมล์ [email protected]