ข้อสรุปนวัตกรรมใหม่ในการผ่าตัดริดสีดวงทวารหนักในวงการแพทย์ไทย

จันทร์ ๑๕ มิถุนายน ๒๐๐๙ ๑๕:๔๐
ประธานชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เผยข้อสรุปนวัตกรรมใหม่ในการรักษาริดสีดวง ด้วยวิธีการผ่าตัดแบบสมัยใหม่ โดยใช้เครื่องมือตัดเย็บแบบใหม่ (Stapled hemorrhoidectomy) หรือที่เรียกว่า การผ่าตัดรักษาด้วยวิธี PPH (procedure for prolapsed and hemorrhoid) ช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยและแผลหายเร็วขึ้น

พล.ต.รศ.นพ.ปริญญา ทวีชัยการ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ประธานชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (ประเทศไทย) เปิดเผยถึง ข้อสรุปนวัตกรรมใหม่ในการรักษาริดสีดวงทวารหนักในวงการแพทย์ไทย ด้วยนวัตกรรมการผ่าตัดแบบสมัยใหม่ ที่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยและแผลหายเร็วยิ่งขึ้น ว่า วงการแพทย์ไทยได้มีการจัดประชุมวิทยาการเกี่ยวกับการรักษาโรคริดสีดวงทวาร ซึ่งได้ข้อสรุปทางเทคนิคในการผ่าตัดรักษาริดสีดวงทวารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย หรือผู้ที่กำลังมีปัญหาการรักษาในปัจจุบัน ด้วยนวัตกรรมวิธีการผ่าตัดแบบสมัยใหม่ ซึ่งนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วย ในกรณีที่ต้องรักษาโรคริดสีดวงทวารหนักด้วยการผ่าตัด โดยพบข้อดีสำหรับผู้ป่วยหลังการผ่าตัดด้วยเครื่องมือผ่าตัดแบบใหม่ ที่เรียกว่า Stapled hemorrhoidectomy ซึ่งจะ ทำให้ผู้ป่วยเจ็บน้อย และใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดและพักฟื้นตัวน้อย ระยะเวลาการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเร็ว ความต้องการในการรับประทานยาแก้ปวดของผู้ป่วยน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบเดิม รวมถึงผลข้างเคียง หลังการผ่าตัดไม่ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยจึงกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ไวกว่าการผ่าตัดแบบเดิม

โรคริดสีดวงทวารหนักเป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในเพศชายและเพศหญิง แต่ผู้ป่วยจำนวนมาก มีแนวโน้มที่จะเก็บความทุกข์ทรมานจากโรคนี้ไว้ตามลำพังเนื่องจากความอายและกลัวการผ่าตัด โดยสมาคมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนักแห่งสหรัฐอเมริการายงานว่า ประชากรประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของประเทศจะมีโอกาสเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักในช่วงชีวิตของเขา และเหตุผลหนึ่งที่ผู้ป่วยไม่กล้าปรึกษาแพทย์เพราะกลัวการรักษาด้วยการผ่าตัดแบบเดิม ซึ่งมีข้อมูลว่าเจ็บปวดแสนสาหัส อีกทั้งผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจากศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หรือไปรักษาจากบุคคลากรที่ไม่ใช่แพทย์ มักจะก่อให้เกิดปัญหาโรคแทรกซ้อนตามมา ที่พบบ่อยที่สุดคือรูทวารตีบตันไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้ ซึ่งมักพบจากการรักษาริดสีดวงทวารหนัก โดยการจี้ด้วยธูปความร้อน จี้ด้วยกรดหรือสารเคมีกัดผิวหนัง ฉีดสารเคมีที่ไม่ถูกต้องลงไป รวมทั้งการผ่าตัดที่ตัดริดสีดวงออกมากเกินไป ทำให้ต้องใช้เวลารักษาตัวนานอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้ทวารหนักใหม่สามารถใช้การได้ดี

ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคริดสีดวงทวารหนักที่ถูกต้องมากมายหลายวิธี ที่สามารถขจัดปัญหาเรื่องริดสีดวงทวารหนักออกไป โดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานใด ๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของริดสีดวงว่าเป็นริดสีดวงชนิดภายใน (Internal Hemorrhoid) หรือริดสีดวงชนิดภายนอก (External Hemorrhoid) ซึ่งหลัก ๆ แล้ว มีอยู่ 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด และการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเลือกรักษาโดยวิธีการไม่ต้องผ่าตัด หากอาการนั้นยังไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานในการใช้ชีวิตประจำวันมากจนเกินไป

การรักษาด้วยการผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือตัดเย็บแบบใหม่ (Stapled hemorrhoidectomy) หรือที่เรียกว่า การผ่าตัดรักษาด้วยวิธี pph (procedure for prolapsed and hemorrhoid) เหมาะกับการรักษาโรคสีดวงทวารหนักชนิดภายใน ในระยะที่ 3 และ 4 หรือริดสีดวงทวารหนักชนิดภายในที่เป็นโดยรอบทวารหนัก โดยการผ่าตัดแบบนี้ เป็นวิธีแก้ไขกลไกที่ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวารหนักโดยตรง เพราะจากทฤษฏีแล้ว ริดสีดวงทวารหนักเกิดจากการเลื่อนตัวของเบาะรอง (cushion) ที่อยู่ภายในทวารหนักออกมาภายนอก วิธีการผ่าตัดนี้จะดันเบาะรองกลับไปสู่ตำแหน่งเดิม และตัดเฉพาะส่วนเกินที่ยื่นออกมาเท่านั้น ไม่ตัดเบาะรองออกทั้งหมด ในความเป็นจริงแล้วเบาะรองมีประโยชน์ในการทำให้ทวารหนักของคนเราปิดสนิท ไม่มีน้ำอุจจาระ เล็ดออกมาได้ในระหว่างที่ไม่ได้ถ่ายอุจจาระ

ซึ่งการผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือตัดเย็บแบบใหม่นี้ ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ 3 ส่วน คือ เครื่องมือสอดและถ่างทวารหนัก เครื่องมือช่วยเย็บ และเครื่องมือตัดเย็บหัวริดสีดวง โดยการตัดและเย็บนี้ จะกระทำตามแนวเส้นรอบวงโดยตลอด จึงสามารถตัดหัวริดสีดวงออกได้ทุกหัวและไม่ทำให้รูทวารหนักแคบลง อีกทั้งแนวการเย็บอยู่สูงกว่าเส้นเด็นเต็ท (dentate line) ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่มีเส้นประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดมาเลี้ยง จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดน้อยลง โดยมีผลศึกษาทางการแพทย์จากรายงานในต่างประเทศที่สอดคล้องกับผลสรุปของการประชุมในครั้งนี้ว่า การผ่าตัดรักษาโรคริดสีดวงทวารหนักชนิดภายในด้วยเครื่องมือตัดเย็บแบบใหม่นี้ มีข้อดีคือ ตัดหัวริดสีดวงทวารหนักออกได้หมด โดยไม่เกิดผลแทรกซ้อนเรื่องทวารหนักตีบตัน รวมถึงโอกาสเกิดปัญหากลั้นอุจจาระไม่อยู่ก็น้อยกว่าการผ่าตัดแบบเดิม เพราะผู้ป่วยยังคงเหลือส่วนเบาะรอง (Cushion) เอาไว้ทำหน้าที่ได้ แต่จุดเด่นที่สำคัญ ความเจ็บปวดหลังผ่าตัดและการใช้เวลาพักฟื้นน้อย สามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ไวกว่าการผ่าตัดแบบเดิม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

คุณปาริชาติ สุวรรณ์ (ปุ้ม) , คุณธนศักย์ อุทิศชลานนท์ (โป้ง)

บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด

โทร. 0-2439-4600 ต่อ 8204 ,8202 มือถือ 08-1668-9239,081-421-5249

อีเมล์ [email protected] , [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ