นายไพศาลกล่าวว่า กองทุนดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนในพันธบัตร ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งชาติที่มีอายุประมาณ 1 ปี ซึ่งรัฐบาลเกาหลีใต้ เป็นผู้ออกหรือเป็นผู้ค้ำประกัน โดยมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารในระดับที่ A+/F1 จากสถาบัน Fitch Rating และมีการแปลงเงินลงทุนในต่างประเทศเป็นเงินบาทแล้ว ทำให้ไม่มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
“ถึงแม้ว่าผลตอบแทนการลงทุนจากกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้จะปรับตัวลดลงตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่เมื่อเปรียบเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตร หรือเงินฝากในประเทศที่ลดต่ำลงมากก็ทำให้นักลงทุนยังมีความต้องการอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อพิจารณาประกอบกับอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือของประเทศเกาหลีใต้ที่จัดอยู่ในระดับมั่นคงด้วยแล้ว ก็เชื่อว่ากองทุนเกาหลีใต้จะได้รับความนิยมไปอีกระยะหนึ่ง” นายไพศาลกล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนของบลจ.ทหารไทยตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันยังมีเม็ดเงินไหลเข้าในกองทุนเกาหลีใต้อย่างต่อเนื่องรวมแล้วประมาณ 15,300 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552) โดยบริษัทฯจะดำเนินการให้มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยทำการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนอัตโนมัติของกองทุนดังกล่าวทั้งจำนวนของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายไปยังกองทุนเปิดทหารไทยธนบดีในวันทำการก่อนวันสิ้นสุดอายุโครงการ ผู้ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ส่วนลูกค้าสัมพันธ์ บลจ.ทหารไทย โทร.1725 หรือผ่านช่องทางการขายของบริษัท ได้แก่ธนาคารทหารไทยทุกสาขาทั่วประเทศ ตัวแทนการสนับสนุนการขาย และบริการต่างๆ ของบริษัท อาทิ ระบบ FundLink Online ผ่าน Internet, ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ (Fundlink IVR) หรือ FundLink ATM
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
PRdd ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
ลัคคณา บุษบา
โทร.02-953-8633, 02-953-8723