โรโบคัพฮิวแมนนอยด์

พุธ ๑๗ มิถุนายน ๒๐๐๙ ๑๒:๓๐
บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะจัด “การแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ชิงแชมป์ประเทศไทย 2552 (Thailand Humanoid Soccer Competition 2009)” เป็นครั้งแรกในประเทศไทย การแข่งขันหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ เป็นการแข่งขันหุ่นยนต์ที่ได้รับการออกแบบโดยมีต้นแบบมาจากร่างกายมนุษย์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์มีลำตัวพร้อมหัว สองแขน และสองขา ซึ่งในการแข่งขันครั้งนี้นิสิตนักศึกษาต้องประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่มีขนาด 30 - 60 ซม. สำหรับรุ่น Kid size 2 ตัว โดยโจทย์ในการแข่งขันครั้งนี้คือ จำนวนการยิงประตูฟุตบอลที่หุ่นยนต์แต่ละทีมทำได้และหุ่นยนต์ต้องมีความสามารถในการเตะฟุตบอลเข้าประตูด้วย เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ชิงแชมป์ ประเทศไทย 2552 คณะผู้จัดการแข่งขันขอเสนอบทความที่เรียบเรียงโดยรองศาสตราจารย์ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านหุ่นยนต์ให้ท่านพิจารณา

ปีนี้เด็กไทยจะไปเข้าร่วม RoboCup Humanoid League ณ ประเทศออสเตรียระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน ? 5 กรกฎาคม 2552 ผมขอกล่าวถึงรายละเอียดของหุ่นยนต์และระบบต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นทีมฟุตบอลหุ่นยนต์ Team KMUTT นักวิจัยของฟีโบ้นำโดย ดร.ถวิดา มณีวรรณ์ และ ดร. ปาษาณ กุลวานิช ได้พัฒนาชุดนักเตะฮิวแมนนอยด์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งเป็นปีแรกที่ฟีโบ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้เข้าร่วมแข่งขัน ปัจจุบันทุกระบบได้รับการพัฒนาจนมีขีดความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทีมระดับแนวหน้าของโลก คณะกรรมการจัดการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ RoboCup มีความพยายามที่จะผลักดันเทคโนโลยีหุ่นยนต์ของโลกให้มีความก้าวหน้า ในแต่ละปีจึงมีการเปลี่ยนแปลงกฎการแข่งขันเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ทีมได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กฎใหม่ของ RoboCup Humanoid League ที่เปลี่ยนไปมีดังนี้

? บังคับให้มีผู้เล่นหุ่นยนต์เพิ่มจากทีมละ 2 ตัวเป็นทีมละ 3 ตัวเพื่อเน้นการเล่นแบบเป็นทีมมากขึ้นส่งเสริมการ พัฒนาซอฟท์แวร์การทำงานร่วมกันของหุ่นยนต ์

? ขนาดสนามใหญ่ขึ้น จากเดิมคือ 4.5เมตร X 3.5เมตร เป็น 6.0เมตร X 4.0เมตร เพื่อรองรับจำนวนผู้เล่นหุ่นยนต ์ในสนามที่มากขึ้นและเน้นการออกแบบระบบขับเคลื่อนของหุ่นยนต์ที่มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน

? เปลี่ยนน้ำหนักและขนาดจากลูกบอลพลาสติกเบาเป็นลูกเทนนิสเพื่อลดการทำประตูจากระยะไกลและเน้นการครองลูกให้มากขึ้นเพื่อเน้นการออกแบบระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับการเข้าทำประตู

ความสามารถของทีมในปี 2552 มีดังนี้คือ การเดินสองขาอย่างมีเสถียรภาพและรวดเร็ว ความสามารถในการลุกกลับมา เดินได้หลังจากล้ม ระบบการมองเห็นที่สามารถปรับตัวได้กับสภาวะแสงที่เปลี่ยนแปลง ระบบการมองเห็นที่สามารถ แยกแยะวัตถุได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ระบบการมองเห็นที่สามารถเห็นได้ไกลมากขึ้น รวมไปถึงระบบการเล่นแบบทีมที่แก้ปัญหาการแย่งกันเล่นระหว่างผู้เล่นพวกเดียวกันเอง

หุ่นยนต ์KM?1/KM?2/KM?3/KM?4

หุ่นยนต์ฮิวมานอยด ์KM?series เป็นความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานหุ่นยนต์ในทีมให้เหมือนกันเพื่อความสะดวกในการออกแบบโปรแกรมและการซ่อมบำรุง หุ่นยนต์ในสายพันธุ ์KM ทั้ง 4 ตัว(หุ่นยนต ์3 ตัวมีไว้สำหรับแข่ง อีก 1 ตัวเป็นตัวสำรอง) เป็นสมาชิกใหม่ของทีมฟุตบอล

หุ่นยนต ์Team KMUTT เป็นหุ่นยนต์ฮิวมานอยด์อัตโนมัติขนาดเล็กรุ่นที่ 5 ของ FIBO (รุ่นที่1?Prototype01/รุ่นที่2?ใจดี/รุ่นที่3?ใจด ีupgrade/รุ่นที่4?จี๊ด?กาละแม?พอดี/รุ่นที่5?KM?1?2?3?4) ความสามารถพื้นฐานเช่น ความสามารถในการมองหาวัตถุความสามารถในการลุกขึ้นยืนจากการล้ม ความสามารถในการเดินหลากรูปแบบยังคงไว้เหมือนกับหุ่นยนต์รุ่นที่4 โดยที่ข้อด้อยหลายประการจากการแข่งขันในปีที่ผ่านมาได้ถูกนำมาพิจารณาและปรับปรุงการ ออกแบบหุ่นยนต์รุ่นใหม่ให้มีสมรรถนะดียิ่งขึ้นดังนี้

? ระบบการมองเห็น: ยกระดับกล้องเป็นรุ่น QuickcamPro 9000 ซึ่งมีจำนวนพิกเซิลมากกว่ารวมไปถึงมีความเร็วในการจับภาพสูงกว่าเดิม

? ระบบการประมวลผล: เปลี่ยนจากระบบปฏิบัติการ Window XP embedded มาเป็นระบบปฏิบัติการ LINUX ระบบประมวลผลนี้จะใช ้PC?104 เป็นตัวฮารด์แวร์ในการคำนวณ ความยืดหยุ่นในการรองรับฮาร์ดแวร ์ที่จะนำมาเชื่อมต่อกับหุ่นยนต์มีมากขึ้น นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังช่วยให้การเขียนชุดคำสั่งเป็นไปได้อย่าง สะดวกรวดเร็วและเป็นระบบรวมไปถึงการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหุ่นยนต์ก็สามารถทำได้ง่ายกว่า ระบบปฏิบัติการแบบเดิม

? ระบบการเดินและระบบทางกล: จากประสบการณ์การแข่งขันเข่าจะเป็นจุดที่รับน้ำหนักมากที่สุดระหว่างการ เดินและมีผลทำให้มอเตอร์เข่าชำรุดง่าย ดังนั้นเราจึงเปลี่ยนขนาดมอเตอร์ให้สามารถทนต่อแรงบิดได้มากขึ้นเพื่อ การเดินที่มีเสถียรภาพ นอกจากนี้เรายังออกแบบขาของหุ่นยนต์แบบใหม่เพื่อช่วยให้การลุกจากท่าล้มทำได ้สะดวกยิ่งขึ้นโดยใช้พลังงานน้อยลง

ชิปประมวลผลสำหรับระบบ การมองเห็นและระบบ เชื่อมโยงต่างๆ

Advantech ? โปรเซสเซอร์: Geode LX-800สำหรับบอร์ด PCM3353 (PC-104 format) ? ความเร็วในการประมวลผล: 500 เมกกะเฮิร์ตซ ์? ระบบปฏิบัติการ: LINUX

ชิปประมวลผลสำหรับการ ควบคุมมอเตอร ์

Philips LPC-2138 ? โปรเซสเซอร์: ARM7 TDMI-S ? ความเร็วในการประมวลผล: 60เมกกะเฮิร์ตซ ์

ชื่อ M-1/KM-2/KM-3/KM-4

ความสูง 49 เซ็นติเมตร

น้ำหนัก 3 กิโลกรัม

ความเร็วในการเดินเฉลี่ย ~0.25 เมตรต่อวินาท ี

จำนวนองศาอิสระ 22

มอเตอร ์

ดิจิตอลเซอร์โวมอเตอร ์รุ่น Robotis Dynamixel RX-28/RX-64 ? แรงบิด 33 กิโลกรัม-เซ็นติเมตร(ที่แรงดันไฟฟ้า14.8โวลท์) ? ความเร็วเชิงมุม 0.126 วินาที/60 องศา

เซนเซอร ์

กล้อง

Logitech Quickcam Pro9000? ความเร็วการจับภาพ 15 เฟรมต่อวินาที(ขณะประมวลผลด้วย Machine Vision Software)? ความละเอียดของภาพ 320 X 640 พิกเซล

เซนเซอร์วัดความเอียง (Tilt Sensor)

Analog Device ADXL202? ความเร่ง +/- 2g

ไจโรเซนเซอร ์(Rate Gyro)

Silicon Sensing Systems CRS03-02

ความเร็วในการตรวจวัด: +/- 100 deg/sec

เข็มทิศอีเล็คทรอนิกส ์MagneticCompass

Daventech ? ความละเอียดในการตรวจจับ: 0.1 องศา

การเดินของหุ่นยนต์รุ่นที่ 5 มีพื้นฐานมาจากการสงวนค่าของโมเมนตัมเชิงมุม (Conservation of angular momentum) กล่าวคือระบบมีความสามารถ ในการสร้างสมดุลในการเดินให้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยพิจารณาจากสภาพความเร็วในการหมุนของจุดศูนย์กลางมวลของหุ่นยนต์ณเวลาจริง ข้อมูลจากไจโร (Gyro sensor)ในรูปของความเร็วเชิงมุมของจุดศูนย์กลางมวลจะถูกป้อนกลับไปให้ระบบประมวลผลใช้ในการรักษาสมดุล 100 ครั้งใน 1 วินาท ี(100 เฮิร์ตซ์) หุ่นยนต์จึงมีความสมดุลในการเดินสูงและล้มยากกว่าหุ่นยนต์รุ่นเก่า อย่างไรก็ตามเมื่อมีเหตุทำให้หุ่นยนต์ล้มอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ระบบประมวลผลจะช่วยปรับให้หุ่นยนต์กลับลุกขึ้นมา ยืนได้เองโดยอัตโนมัติโดยใช้ข้อมูลจากตัวตรวจวัดความเอียง (Tilt Sensor)

ระบบการมองเห็นของหุ่นยนต์ใช้หลักการของการหาค่าสีต่างๆในสภาพแวดล้อมของหุ่นยนต์

มีระบบ Wireless Local Area Network (WLAN) ช่วยในการสื่อสารระหว่างหุ่นยนต์ในทีมสามารถสร้างการ เล่นเป็นระบบทีม ซึ่งเป็นประโยชน์ในสถานการณ์ต่อไปนี้

? หุ่นยนต์ทุกตัวในทีมจะไม่เข้าไปแย่งลูกบอลพร้อมๆกันแต่จะให้ตัวที่อยู่ใกล้ลูกที่สุดวิ่งเข้าหาบอล

? หุ่นทุกตัวในทีมจะทราบตำแหน่งของบอลในสนามถึงแม้หุ่นบางตัวจะไม่เห็นบอลด้วยตัวเองทำให ้สามารถรักษาตำแหน่งการยืนหรือเคลื่อนที่ในสนามได้อย่างเหมาะสม

? ขนาดสนามที่มีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้ต้องใช้หุ่นยนต์ทุกตัวให้เต็มที่เนื่องจากหุ่นเพียงตัวใดตัวหนึ่งไม ่สามารถที่จะทำหน้าที่ได้เต็มสนาม

วารสาร International Robotics and Autonomous Systems, USA มีกำหนดการออก Special Issue: Humanoid Soccer Robot. ทางกองบรรณาธิการขอให้ผมตรวจทานและให้ความเห็นบทความวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจมาก บทความฉบับนี้กล่าวถึงวิธีการต่างๆที่จะทำให้หุ่นยนต์สามารถเล่นฟุตบอลกับมนุษย์ตามที่ทาง Robocup Federation ประกาศไว้ว่าภายในปี 2050 จะมีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมหุ่นยนต์กับทีมแชมป์โลก ผมหวังว่าคณะกรรมการฟีฟ่าต้องออกกฏเกณฑ์ให้เข้มงวดกว่า Worldcup ครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้วผมจึงมั่นใจว่าก่อนปี 2050 เราคงมีเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์และหุ่นยนต์เล่นบอล์กันได้ด้วยดี

นักวิจัยได้เสนอวิธีการปฎิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ (physical human-robot interaction) เพื่อให้หุ่นยนต์และมนุษย์สามารถเล่นฟุตบอลด้วยกันได้อย่างปลอดภัยแม้จำเป็นต้องมีการปะทะ (Impact)ในเกมส์ก็ตาม แนวความคิด “คนไม่เจ็บและหุ่นยนต์ไม่พัง” นี้ ฟังดูง่ายแต่ทำจริงค่อนข้างยากเพราะแข้งเราคงทนทานสู้แข้งโลหะของหุ่นยนต์ไม่ได้ ทางออกทางหนึ่งคือการใช้ข้อต่อที่ยืดหยุ่นได้ (elastic joint) เป็นต้นกำลังขับ (actuator) แม้ว่าระบบการขับเคลื่อนที่ใช้ข้อต่อยืดหยุ่นดังกล่าวสามารถรองรับการ Impact ได้ดีขึ้น ในแง่ของการควบคุมเรายังจำเป็นต้องควบคุมแรงอันเกิดจากการสัมผัสและปะทะกันระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์หรือระหว่างหุ่นยนต์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก ระบบควบคุมแบบ Impedance Control ที่เราประยุกต์ใช้ในหุ่นยนต์อุตสาหกรรมงานประกอบละเอียด ปัญหาวิจัยที่ต้องค้นหาคือเราควรปรับค่า Impedance อย่างไรให้เหมาะสมกับลักษณะการสัมผัสดังกล่าว นักวิจัยกลุ่มนี้จึงได้ออกแบบขาหุ่นยนต์ข้อต่อยืดหยุ่นที่มีโปรแกรมควบคุมค่า Impedance อย่าง Real Time. มีโปรแกรมอย่างเดียวไม่พอเราต้องศึกษาลักษณะของการปะทะด้วย อาทิเช่น การปะทะจนเกิดการล้มเช่นการสไลด์หรือมีการขัดขากันเกิดขึ้นซึ่ง ถ้าผู้เล่นมีความเร็วในการวิ่งมากเท่าใดก็จะทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บรุนแรงได้ง่ายขึ้น และถ้าเป็นหุ่นยนต์จะเกิดการเสียหายขึ้น เพื่อช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้หุ่นยนต์จะต้องมี Soft covering

หากเกิดการปะทะกันขึ้นเนื่องจาก ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายวิ่งมาชนกันในขณะที่แต่ละฝ่ายวิ่งเข้าหาบอล หรือ กระโดดขึ้นเพื่อที่จะเล่นบอลกลางอากาศ น้ำหนักของหุ่นยนต์มีส่วนสำคัญที่ทำให้หุ่นยนต์หรือคนที่เข้ามาปะทะด้วยเกิดการบาดเจ็บหรือเสียหายเกิดขึ้น ดังนั้นน้ำหนักของหุ่นยนต์จะต้องมีขนาดใกล้เคียงกับผู้เล่นที่เป็นมนุษย์ด้วย ซึ่งน้ำหนักเฉลี่ยที่ของนักฟุตบอลอยู่ที่ 75.91+/-6.38 กิโลกรัม นอกจากนั้นพื้นผิวของตัวหุ่นยนต์จะต้องไม่มีลักษณะที่คมหรือมีการปกปิดตามมุมไว้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ผมชมการถ่ายทอดการแข่งขัน Worldcup ครับ ทีพบเห็นประจำคือเกิดแขนและขาชนกับลำตัวของผู้เล่นอีกฝั่งหนึ่ง เช่น ข้อศอกกระแทกเข้าที่หน้าคู่ต่อสู้ หรือขาหรือเท้าของผู้เล่นทั้งสองชนกัน ซึ่งในกรณีที่เกิดข้อศอกกระแทกนั้น สามารถลดการบาดเจ็บได้โดยใช้วัสดุครอบที่ศอกของหุ่นยนต์เพื่อลดการบาดเจ็บ หรือในกรณีขาชนกัน หรือขาชนกับศีรษะนั้น สามารถทำได้โดยจำกัดความเร็วในการเตะของหุ่นยนต์หรือตรวจสอบว่ามีส่วนหนึ่งส่วนใดของมนุษย์อยู่ใกล้ๆหรือไม่? จากสถิติการบาดเจ็บที่ศีรษะของผู้เล่นนั้น 41% มาจากข้อศอก แขน หรือมือของผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ในส่วนนี้จะทำการวิเคราะห์ว่าทำไมอันตรายจากข้อศอกถึงทำให้เกิดอันตรายที่ร้ายแรงได้ โดยทำการ model ระบบระหว่างข้อศอกและศีรษะมนุษย์ โดยเลือกน้ำหนักของ ศีรษะที่ 4 กิโลกรัม และมี stiffness ประมาณ 105 นิวตัน/เมตร ซึ่ง model นี้ทำให้เกิดแรงที่ปะทะประมาณ 660 นิวตัน ดังนั้นถ้ามีการเกิดการปะทะด้วยศอกเกิดขึ้นจึงทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย ซึ่งในกรณีของหุ่นยนต์นั้นสามารถลดแรงปะทะได้ด้วยการทำ collision detection เพื่อลดแรง impact ที่เกิดขึ้น ซึ่งจากการทำ Simulation พบว่าสามารถลดแรงกระแทกเหลือเพียง 150 นิวตัน เท่านั้น

การถูกลูกบอลพุ่งชนนั้นเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้โดยเฉพาะถูกชนที่ศีรษะ ซึ่งทางผู้วิจัยได้ทำการทดลองหาค่าความเร็วของบอลที่พุ่งชนและเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะนั้น พบว่าความเร็วของลูกฟุตบอลที่เกิดขึ้นจากเตะของมนุษย์นั้นไม่เป็นอันตรายถึงขั้นบาดเจ็บรุนแรงขึ้นแต่ถ้าเพิ่มความเร็วในการเตะเพิ่มขึ้นอีก 50 % จะทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ดังนั้นในการกำหนดความเร็วในการเตะของหุ่นยนต์จะต้องถูกควบคุมไว้ไม่ให้แรงเกินไป

ทีมนักวิจัยจึงได้ออกแบบข้อต่อของหุ่นยนต์ให้มีความสามารถในการปรับแต่งความแข็งของข้อต่อ ( Variable Stiffness) แบบวงจรป้อนกลับเรียลไทม์(Real Time Closed System) สมองกลส่งสัณญาณแปรเปลี่ยนค่าความอ่อนตัว(compliance)ในข้อต่อหุ่นยนต์นี้ก็คล้ายๆกับการที่สมองมนุษย์สั่งการเกร็งกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นนั่นเอง ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์ทำงานต่างได้คล่องแคล่วและอย่างปลอดภัย ในขณะที่ระบบควบคุมแบบป้อนกลับในหุ่นยนต์ ช่วยลดแรงกระแทกแระทั้นจากภายนอกที่อาจทำให้ข้อต่อพังเสียหายจากเกิดการ overload ขึ้นได้

การทดลองขั้นต้นเริ่มขึ้นด้วยการติดตั้งข้อต่อประเภทปรับความแข็งได้ (VS Joint) บนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมยี่ห้อ KUKA KR500 โดยให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ตามแนวราบที่ปลายแขนหุ่นยนต์ด้วยความเร็วคงที่ 3.7 เมตรต่อวินาที ผลการทดลองเป็นไปตามทฏษฏีคือเมื่อค่าความแข็งต่ำ แรงบิด(Torque)ที่ได้จากการเตะจะมีค่าน้อยและข้อต่อ มีการยืดตัวมาก ซึ่งผลกระทบที่จะทำให้มอเตอร์และเกียร์ในตัวหุ่นยนต์เกิดการเสียหายและสึกหรอน้อย ในทางกลับกันเมื่อตั้งค่า VS-Joint ให้มีค่า ความแข็งมากขึ้น จะทำให้ได้ แรงบิดสูงและเกิดการยืดตัวน้อย น้อย แต่ก็ทำให้มอเตอร์และเกียร์เกิดความเสียหายได้มาก

ยังมีข้อต่ออีกประเภทที่ประโยชน์จากความยืดหยุ่น (Elastics) ของยาง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของหุ่นยนต์ ซึ่งข้อต่อดังกล่าวนั้นมีหน้าที่เก็บและปลดปล่อยพลังงานได้ในเวลาที่ต้องการ คุณลักษณะนี้ช่วยลดพลังงานโดยรวมทั้งหมดของระบบ

ณ.จุดที่มีความเร็วเท่ากัน ผมจำได้ว่าทีมหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ของฟีโบ้ เคยใช้ประโยชน์จากหนังยางรัดถุงกาแฟเพื่อทำหน้าที่ช่วงจังหวะดึงขากลับมาให้ครบรอบของการเดิน ทำให้เปลืองพลังงานน้อยลง หรืออีกนัยหนึ่งเพิ่มพลังงานที่ประหยัดได้จากการใช้ยางดึงกลับ ไปใช้ช่วงก้าวเดินหน้า ก้เป็นการทำให้หุ่นยนต์เดินได้เร็วขึ้นโดยการใช้พลังงานเท่าเดิม ทั้งนี้เพราะการสูญเสียพลังงานนั้นน้อยลง

ข้อสังเกตุสำคัญอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับพลังงานศักย์และพลังงานจลน์คือ ในการแข่งขัน Humanoid Robocup ส่วนใหญ่หุ่นยนต์จะใช้ข้อต่อเป็นมอเตอร์ของบริษัท robotis รุ่น RX64 ซึ่งสามารถให้แรงบิดได้ 6.4 นิวตัน-เมตร และความเร็วสูงสุดได้ 360 ซึ่งผลที่ได้จากการเตะบอลนั้นทำให้บอลสามารถเคลื่อนที่ได้ ด้วยความเร็วสูงสุด 2 เมตรต่อวินาที และไม่ทำให้บอลลอยขึ้นมาเหนือพื้นได้

ส่วนในการแข่งขัน Robocup middle size แม้หุ่นยนต์จะใช้ล้อในการเคลื่อนที่ แต่ใช้ตัวเตะที่มีลักษณะก้านคล้ายขาเตะซึ่งมีความยืดหยุ่น ซึ่งสามารถเตะบอลได้ด้วยความเร็วสูงสุด 10 เมตรต่อวินาที และสามารถเตะบอลให้ลอยข้ามคู่ต่อสู้ไปได้

จากข้อมูลในการเล่นฟุตบอลของมนุษย์ ในการเตะนั้นสามารถเหวี่ยงขาเตะได้ด้วยความเร็วสูงสุด 1375 องศาต่อวินาที และสามารถทำแรงบิดในการเตะได้ 280 นิวตัน-เมตร ซึ่งมากกว่าหุ่นยนต์ที่ผู้วิจัยได้ทำการทดลองถึง 6 เท่าโดยหุ่นยนต์ที่ใช้สามารถทำความเร็วของลูกบอลได้ 4.5 เมตรต่อวินาที

ผู้วิจัยยังได้ทำการทดลองให้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม KUKA KR500 เตะฟุตบอล โดยหุ่นยนต์มี payload 500 กิโลกรัม ซึ่งผลปรากฏว่าหุ่นยนต์สามารถทำลูกบอลวิ่งได้ด้วยความเร็ว 3.7 เมตรต่อวินาทีและทำให้ลูกบอลลอยขึ้นไปตกด้านหน้าไกล 2 เมตร ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าการเพิ่ม payload ไม่ได้มีผลที่สำคัญทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการเตะได้เลย

ในการเตะบอลนั้นความเร็วที่ปลายเท้าและลักษณะการเตะมีความสำคัญมากดังนั้นเนื่องจากระบบกลไกของ VS-Joint นั้นสามารถปรับค่า elasticity ได้พร้อมทั้งอุปกรณ์ถูกติดตั้งไว้บนชุดมอเตอร์ขับเคลื่อน ดังนั้นการเคลื่อนที่และ ความเร็วที่ปลายเท้าจะประกอบไปด้วยการเคลื่อนที่ของชุดขับและการปรับเปลี่ยนค่า elasticity ของ VS-Joint ซึ่ง มอเตอร์ขับเคลื่อนสามารถทำความเร็วได้ 200 องศาต่อวินาที และ VS-Joint สามารถทำความเร็วได้ 490 องศาต่อวินาที โดยผลที่ได้จาการรวมกันของ trajectory ของชิ้นส่วนทั้งสองทำให้สามารถเตะลูกบอลได้ด้วยความเร็ว 6.65 เมตรต่อวินาที การเตะด้วยหลังเท้าเป็นการเตะที่ทำให้มีความเร็วลูกบอลสูงที่สุดในการทดลองซึ่งสามารถทำได้ 7.5 เมตรต่อวินาที ในขณะที่การเตะด้วยปลายเท้า ความเร็วของลูกบอลที่ได้จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของลูกบอลที่ถูกเตะ คือช่วงกลางลูก ด้านบน หรือด้านล่าง การเตะลูกให้โด่ง เหมือนกับการเตะด้วยปลายเท้าแต่ตำแหน่งที่เตะจะอยู่ด้านล่างของลูกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งจากการทดลองสามารถทำให้ลูกบอลลอยขึ้นได้ 0.82 เมตร และตกไกลออกไป 0.6 เมตร การแตะลูกบอลที่ลอยอยู่โดยที่ข้อเท้าทำมุม 45 องศา จากการทดลองพบว่าการเตะแบบนี้จะมีความเร็วในของลูกบอลน้อยที่สุดแต่สามารถทำให้ลูกลอยตกไปไกลได้ประมาณ 4-6 เมตรแล้วแต่ลักษณะของลูกบอล

ผมคาดว่างานวิจัยเพื่อทำให้หุ่นยนต์สามารถทำงานหรือเล่นฟุตบอลกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัยนั้น คงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปีการแข่งขันจริง ค.ศ. 2050 แนวความคิดเรื่องการปรับค่าความอ่อนตัว (Compliance) ในบทความนี้อาจไม่ได้ถูกนำไปใช้จริงเลยก็เป็นได้หากมีการค้นพบวิธีการที่ดีกว่า แต่ผมก็มั่นใจว่าวิธีการที่ดีกว่านั้นส่วนหนึ่งจะถูกศึกษาและคิดค้นจากเยาวชนไทยนี่เอง....ทำไมผมจึงมั่นใจเช่นนั้น ก็เพราะว่า ประวัติศาสตร์ได้จารึกแล้วว่าในปีที่แล้วเชื้อชาติไทยคือแชมป์หุ่นยนต์โลก (Rescue and Soccer) ครับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version