ข้อเปรียบเทียบ
มติ ครม. 21 พ.ย. 49
มติ ครม. 29 พ.ค. 50
เส้นเสียง
กรณีที่มีการขึ้น-ลงของเครื่องบินเต็มขีดความสามารถสูงสุดของทางวิ่งที่ 1 และทางวิ่งที่ 2 (76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง)
ประกาศเส้นเสียงกรณีที่ใช้ทางวิ่งที่ 1 และ 2 เต็มความสามารถสูงสุดของจำนวน 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง เฉพาะการบินลงที่ปลายทางวิ่งฝั่งตะวันตกด้านทิศเหนือ ร้อยละ 80 ของเที่ยวบินทั้งหมด และการบินลงที่ปลายทางวิ่งฝั่งตะวันออกด้านทิศเหนือ ร้อยละ 20 ของเที่ยวบินทั้งหมด
พื้นที่ NEF
มากกว่า 40
เจรจาซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กรณีเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่ประสงค์จะขาย ต้องสนับสนุนและปรับปรุง หรือติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ ลดผลกระทบด้านเสียง เจรจาซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กรณีเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ประสงค์จะขาย ต้องสนับสนุนและปรับปรุง หรือติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ ลดผลกระทบด้านเสียง
พื้นที่ NEF 30 - 40
เจรจาจ่ายค่าปรับปรุงอาคารสิ่งปลูกสร้าง หากเจ้าของสิ่งปลูกสร้างไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ให้เจรจา ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ให้สนับสนุนการปรับปรุงอาคารและสิ่งปลูกสร้างโดยทำการตรวจวัดระดับเสียงรบกวน หากพบว่าโครงการทำให้มีระดับเสียงรบกวนเกิน 10 เดซิเบล (เอ)
ทั้งนี้การที่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 ได้ประกาศเส้นเสียงกรณีที่ใช้ทางวิ่งที่ 1 และ 2 เต็มความสามารถสูงสุดของจำนวน 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง เฉพาะการบินลงที่ปลายทางวิ่งฝั่งตะวันตกด้านทิศเหนือ ร้อยละ 80 ของเที่ยวบินทั้งหมด และการบินลงที่ปลายทางวิ่งฝั่งตะวันออกด้านทิศเหนือ ร้อยละ 20 ของเที่ยวบินทั้งหมด นั้น เนื่องมาจากว่าเป็นสถานการณ์การบินจริงของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะที่การกำหนดให้เครื่องบินขึ้น-ลงจำนวน 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมงพร้อมกันทั้งสองทางวิ่งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 นั้นไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย เพราะจะทำให้จำนวนเที่ยวบินต่อชั่วโมงสูงกว่าขีดความสามารถในการรองรับของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สำหรับเรื่องการชดเชยผลกระทบด้านเสียงในพื้นที่ระดับ NEF 30-40 ที่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 กำหนดให้ทอท.สนับสนุนการปรับปรุงอาคารเพื่อลดผลกระทบด้านเสียงแก่อาคารที่ตรวจวัดเสียงรบกวนได้เกิน 10 เดซิเบล นั้น ก็สอดคล้องกับมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รวมทั้งเป็นข้อกำหนดที่ใช้กับท่าอากาศยานสากลทั่วโลกตามแนวทางขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ( International Civil Aviation Organization : ICAO ) ซึ่งได้กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ระดับ NEF 30-40 เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดๆที่จะต้องให้ซื้อที่ดินและอาคารเช่นเดียวกับระดับ NEF มากกว่า 40 ที่ผลกระทบสูงกว่า ดังนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 จึงเป็นมาตรการแก้ไขผลกระทบที่เหมาะสมเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
หลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดได้เรียกผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อพิจารณาข้อมูลเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2552 ศาลปกครองสูงสุดจึงได้พิจารณายกฟ้องกรณีประชาชนฟ้องขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550
นายสมชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตาม ทอท. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้พยายามเร่งรัดการดำเนินการชดเชยผลกระทบตามหลักเกณฑ์ของมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2548 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด