งานเสวนา “ฟ้าผ่า ข้อเท็จจริงที่ควรรู้”

พฤหัส ๒๕ มิถุนายน ๒๐๐๙ ๑๒:๑๓
ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. ร่วมกับ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กทช. จัดงานเสวนา “ฟ้าผ่า ข้อเท็จจริงที่ควรรู้” ในวันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2552 เวลา 09.30 - 12.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการจำลองสภาวะฟ้าผ่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เพื่อร่วมกันไขข้องข้องใจทุกประการที่เกี่ยวกับฟ้าผ่า อันจะนำไปสู่ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องสำหรับประชาชน

ประเด็นที่น่าสนใจ !!!

? ภัยธรรมชาติ ฟ้าผ่า เกิดขึ้นได้อย่างไร

? แหวน ตะกรุด โลหะ เป็นสื่อล่อฟ้าจริงหรือ

พร้อมวิเคราะห์ข่าวทุกกรณีที่เกี่ยวกับโลหะล่อฟ้า

? โทรศัพท์มือถือ เหนี่ยวนำฟ้าผ่าได้หรือไม่

? ทำไมฟ้าผ่าในพื้นที่ชานเมืองมากกว่ากทม.

? จากสถานีตรวจวัดฟ้าผ่าของกฟผ.พบภูมิภาคใดเสี่ยงฟ้าผ่ามากที่สุด

? ฟ้าผ่าเกิดได้บ่อยในช่วงใด แล้ว 2-3 ปีมานี้มีสถิติฟ้าผ่าเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ ?

? ไม่สามารถปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บจากฟ้าผ่า เพราะมีประจุไฟฟ้าในตัวจริงหรือ

? มีข้อปฏิบัติอย่างไร ป้องกันตัวจากฟ้าผ่า

พร้อมร่วมกันพิสูจน์ให้เห็นกับตากับ

ครั้งแรก!! “ปฏิบัติการจำลองสภาวะฟ้าผ่ากับโทรศัพท์มือถือ” ด้วย 3 การทดลอง คือ

1.ทดลองกับมือถือที่ปิดเครื่องอยู่

2. ทดลองกับมือถือ ที่เปิดเครื่องอยู่

3. ทดลองกับมือถือ ที่เปิดเครื่องและตั้งค่ารับสายอัตโนมัติไว้

เวทีเสวนา “ฟ้าผ่า ข้อเท็จจริงที่ควรรู้” วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2552 เวลา 09.00 — 12.30 น. ณ ห้องจำลองฟ้าผ่า อาคารปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูง (ด้านหลังศาลาพระเกี้ยว) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สกทช.)

09.00-09.30 น. ลงทะเบียน

09.30-09.45 น. รายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน โดย จุมพล เหมะคีรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย

กล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดย รศ.ดร.ชุมพล อันตรเสน หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

09.45 -11.30 น. เสวนา “ฟ้าผ่า ข้อเท็จจริงที่ควรรู้”

ผู้ร่วมเสวนา

ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการ MTEC สวทช.

สรรเสริญ ทรงเผ่า สถาบันนวัตกรรม TOT

กิตติ เพ็ชรสันทัด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ชูเกียรติ ไทยจรัสเสถียร นักอุตุนิยมวิทยา

ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคใน

กิจการโทรคมนาคม

ผู้ดำเนินรายการเสวนา

คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้จัดรายการ FM 96.5 คลื่นความคิด

11.30 — 12.30 น. ชมการสาธิต “ปฏิบัติการจำลองฟ้าผ่า พิสูจน์โลหะ/โทรศัพท์มือถือ และสัญญาณโทรศัพท์มือถือ..เป็นสื่อล่อ จริงหรือไม่!! ” ณ ห้องจำลองฟ้าผ่า โดย ดร.คมสัน เพ็ชรรักษ์ หัวหน้าห้องจำลองฟ้าผ่า คณะวิศวกรรมศาสตร์

หมายเหตุ เพื่อความสะดวก โปรดเดินทางมาร่วมประชุมโดยใช้รถโดยสารสาธารณะ

ทั้งนี้เข้าทางประตูคณะบัญชีฯจะใกล้ที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ