ทช.เตรียมโชว์ผลงานวิชาการทางทะเลและชายฝั่ง ในการสัมมนาวิชาการประจำปี 2552

จันทร์ ๒๙ มิถุนายน ๒๐๐๙ ๑๓:๔๓
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระดมองค์ความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งด้านสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา สัตว์ทะเลหายาก และการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อนำเสนอในการสัมมนาทางวิชาการกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประจำปี 2552

นายวรรณเกียรติ ทับทิมแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีภารกิจหลักในการสงวนรักษา อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งของประเทศ มีการดำเนินการวิจัยและศึกษาสถานภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนกลยุทธิ์การทำงานให้สอดคล้องกับสภาพการในปัจจุบันที่เน้นการทำงานเชิงรุก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งในด้านการวางแผนและปฏิบัติ เพื่อป้องกันสถานการณ์วิกฤตอันอาจจะเกิดขึ้นได้ ปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว คือข้อมูลทางด้านวิชาการ เพื่อใช้สนับสนุนการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและสถานการณ์ การตัดสินใจในการดำเนินการและการกำหนดมาตรการต่าง ๆ

ผลงานทางวิชาการของ ทช. มีเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าและมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัย กรมฯ จึงจะจัดการสัมมนาทางวิชาการกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประจำปี 2552 ขึ้น ในระหว่างวันที่ 23-25 สิงหาคม 2552 ณ ภูผาผึ้งรีสอร์ท อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี

การสัมมนาครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้นักวิชาการและเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้รับทราบความเป็นไป และความก้าวหน้าของการศึกษาทางด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง รวมไปถึงได้แลกเปลี่ยนความรู้ ปัญหา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการเพิ่มเติมองค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยจะมีการนำเสนอผลงานวิจัยของบุคลากรทางทะเลและชายฝั่ง 4 สาขา ได้แก่ สมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา สัตว์ทะเลหายาก และการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ การนำเสนอบทความสมทบ รวมทั้งสิ้น 25 ผลงานวิจัย นอกจากนี้ยังมีการบรรยายสรุปผลตัวชี้วัดของ ทช.และการบรรยายพิเศษ “Marine Invasive Species : problems , threats, and proposed management actions” โดย ผศ.ดร.ปิติวงษ์ ตันติโชดก จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

“ผลงานทางวิชาการต่าง ๆ ที่จะนำมาเผยแพร่และแลกเปลี่ยนนั้น ล้วนแต่เป็นผลงานที่มีประโยชน์และเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่นำมาสนับสนุนการวิเคราะห์ประเด็นปัญหา เพื่อใช้ในการดำเนินงาน การวางแผนพัฒนา การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ รวมไปถึงการกำหนดมาตรการต่าง ๆ ของกรมฯ ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการป้องกันสถานการณ์วิกฤติที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งของประเทศต่อไปในอนาคต” นายวรรณเกียรติ กล่าว

กลุ่มสื่อสารองค์กร www.dmcr.go.th

โทรศัพท์/โทรสาร ๐ — ๒๑๔๑ — ๑๓๐๐

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ