สวก. โชว์ผลวิจัยล่าสุดโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพป้อนเกษตรกรยุคใหม่ ยกระดับการแข่งขันสู่สากล

พุธ ๐๑ กรกฎาคม ๒๐๐๙ ๑๖:๓๙
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) จับมือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) โชว์ผลงานการออกแบบโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแนวใหม่ ป้อนภาคเกษตร หวังลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้เกษตรกรไทย ยกระดับการแข่งขันสู่ตลาดโลก

ดร.นภาวรรณ นพรัตน์นราภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร เปิดเผยหลังจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(องค์การมหาชน)และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เพื่อนำไปถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและเกษตรกรไทยทั่วประเทศว่า โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพดังกล่าว เป็นการพัฒนางานวิจัยกระบวนการผลิตปุ๋ย โดยออกแบบการใช้วัสดุอุปกรณ์ให้มีความทันสมัยและปลอดภัยด้วยระบบอัตโนมัติ อาทิ ใบพลิกกลับกองปุ๋ย ระบบเครน และระบบการทำงานที่มีมาตรฐานทำให้สามารถผลิตปุ๋ยได้มากกว่า 1200 ตันต่อปี และลดระยะเวลาการหมักได้มากกว่ากระบวนการทั่วไป 3-4 เท่า ร่วมกับการใช้ร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมต่อกระบวนการผลิตโดยใช้โรงงานผลิตปุ๋ย

“ที่ผ่านมาเกษตรกรไทยส่วนใหญ่ประสบปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมีที่อยู่ในระดับสูง ในปี 2546- 2547 ประเทศไทยมีการนำเข้าปุ๋ยเคมีมากถึง 3.94 ล้านตัน มูลค่า 34,006 ล้านบาท (ส่วนหนึ่งเป็นปุ๋ยยูเรีย 1.7 ล้านตัน มูลค่า 14,061 ล้านบาท) และช่วงปี 2551 ที่ผ่านมาทำให้มูลค่าการนำเข้าปุ๋ยเคมีอาจมีค่าเป็น 2 เท่า จากปัญหาดังกล่าว ปี 2549 รัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบในการดำเนินโครงการ ”หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงปุ๋ย” กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 800 อำเภอ แต่ยังขาดวิทยาการด้านการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผลผลิตที่ได้อาจไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นการลดต้นทุนการผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากเกษตรกรไทยสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญของวัตถุดิบทางการเกษตร และหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแทน ก็จะทำให้ภาคเกษตรและเกษตรกรไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้” ดร.นภาวรรณ กล่าว

ความสำเร็จจากการวิจัยและพัฒนาดังกล่าวได้ถ่ายทอดสู่มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นหน่วยงานในการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่ชุมชนและสังคมการเกษตรของประเทศไทยได้อย่างกว้างขวาง โดยสวก. และ มทส. มุ่งหวังการดำเนินงานแบบร่วมแสวงหาหน่วยงานระดับชุมชนให้เข้ามารับถ่ายทอดเทคโนโลยีและนำไปสู่การผลิตใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิตและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ด้านศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่า งานวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงระบบการวิจัยให้สามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ของสังคมอย่างแท้จริง การขออนุญาตใช้สิทธิตามสิทธิบัตร จาก สวก. ครั้งนี้ จะทำให้ มทส. เป็นต้นแบบและเป็นศูนย์กลางการพัฒนางานวิจัยด้านการพัฒนาปัจจัยภาคการผลิตการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ ผ่านการรับรองจากผลการวิจัยของบุคลากรคุณภาพของมหาวิทยาลัย นำไปสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้และเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการอย่างดีเยี่ยม โครงการวิจัยที่ สวก.ให้การสนับสนุนถือเป็นโครงการวิจัยที่มีประโยชน์และสร้างแนวทางใหม่สู่การผลิตภาคการเกษตรที่ดีต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 579 7435 ต่อ 134,139 คุณยุวดี บุญมีรอด , คุณณัฐฐิญา กงภูธร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ ก.พ. รฟท. จัดรถไฟส่งผู้ชุมนุมขบวนคนจนเมืองเพื่อสิทธิที่อยู่อาศัย เครือข่ายสลัม 4 ภาค กลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ
๒๑ ก.พ. BCPG เผยผลการดำเนินงานปี 2567 กำไรสุทธิกว่า 1,800 ล้านบาท เติบโต 65% จากปีก่อน พร้อมประกาศจ่ายเงินปันผลครึ่งปีหลัง
๒๑ ก.พ. เกรท นำทีมศิษย์เก่า ฟอส-แบงค์ ฉลองครบรอบ 40 ปี ม.รังสิต เปิดตัว คริส หอวัง กับบทบาท ครูผู้ฮีลใจนักศึกษา แห่งสถาบัน
๒๑ ก.พ. ธนาคารกรุงเทพ ประกาศจ่ายเงินปันผล หุ้นละ 8.50 บาท สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2567
๒๑ ก.พ. GULF เคาะแล้ว! อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้อายุ 4-10 ปี ที่ 3.00 - 3.55% ต่อปี พร้อมเสนอขายประชาชนทั่วไป 27-28 ก.พ. และ 3 มี.ค.68 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 10
๒๑ ก.พ. Selena Gomez, benny blanco, Gracie Abrams ส่งเพลงสนุกๆ โดนใจ Gen-Z Call Me When You Break Up การรวมตัวของอเวนเจอร์วงการเพลงป็อปที่ทุกคนรอคอย!
๒๑ ก.พ. MBK Care อาสาทำดี ปันน้ำใจสู่สังคม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ ปีที่ 7 ส่งมอบความสุขเพื่อผู้พิการทางสายตา พร้อมสิ่งของอุปโภคบริโภค
๒๑ ก.พ. บางจากฯ ปรับโครงสร้างธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของกลุ่มบริษัทบางจาก
๒๑ ก.พ. สวยทุกลุค ชมพู่ - อารยา ถ่ายทอดไลฟ์สไตล์ของสาว GUESS ในแคมเปญคอลเลกชัน Spring Summer 2025 สีสันแห่งฤดูกาลใหม่
๒๑ ก.พ. วช. เปิดศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตร ต้นแบบการยกระดับประสิทธิภาพภาคการเกษตรของจังหวัดกาฬสินธุ์ ณ