ปภ. ระดมความคิดเห็นร่างแผนหลักการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ๕๓ - ๕๗

พฤหัส ๐๒ กรกฎาคม ๒๐๐๙ ๑๖:๐๒
นายศรีสมบัติ พรประสิทธิ์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประธานการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นต่อร่างแผนหลักการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ กล่าวว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะอนุกรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการจัดทำแผนการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ได้ดำเนินการยกร่างแผนหลักการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๓ — ๒๕๕๗ และเพื่อให้เจ้าหน้าที่หน่วยงาน องค์กรเครือข่าย ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้เสนอความคิดเห็นต่อร่างแผนหลักฯ ดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้จัดประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นต่อร่างแผนหลักการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๓ — ๒๕๕๗ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ณ ห้องกรุงธนบอลล์รูม โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร โดยมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน องค์กรเครือข่ายภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมจำนวน ๑๒๐ คน สำหรับร่างแผนหลักการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓ — ๒๕๕๗ เป็นแผนที่กำหนดหลักการป้องกันและลดความเสี่ยงจากอุบัติภัย เพื่อให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนใช้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติ เน้นการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้กับประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว หมู่บ้าน ชุมชน และสังคม ด้วยการ ให้ความรู้ ปลูกจิตสำนึก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความสูญเสียและความเสียหายจากอุบัติภัยต่างๆ ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการป้องกันอุบัติภัย เน้นหนักการป้องกัน โดยปลูกจิตสำนึกสังคมให้ตระหนักถึงอันตรายและความสูญเสีย ตลอดจนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอุบัติภัย ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยี การจัดทำมาตรฐาน และการปรับปรุงสภาพแวดล้อม โดยสนับสนุนให้หน่วยงานศึกษาเทคโนโลยีและเครื่องมือต่างๆ ในการลดความรุนแรงจากอุบัติภัย นำบทเรียนสถานการณ์ภัยพิบัติในอดีตมาพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานความปลอดภัย สร้างเครือข่ายการวิจัยด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ยุทธศาสตร์การกำกับ ตรวจสอบ เฝ้าระวังและเตือนภัย กวดขันให้มีการตรวจตราสถานประกอบการ และพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมส่งเสริมให้มีการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารด้านอุบัติภัยทุกประเภท และสร้างระบบเตือนภัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และทั่วถึงในทุกพื้นที่ รวมถึงพัฒนากระบวนการแจ้งเหตุที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายอย่างชัดเจน ยุทธศาสตร์การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการป้องกันอุบัติภัยมากขึ้น และกระตุ้นให้ชุมชนระดมทรัพยากรในการป้องกันและลดอุบัติภัย ยุทธศาสตร์การบังคับใช้และปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมาย พิจารณาทบทวน แก้ไข และพัฒนากฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเพื่อความปลอดภัยให้มีเอกภาพ และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ กำหนดนโยบายป้องกันภัยพิบัติแบบบูรณาการ พัฒนาปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการแผนงาน แผนงบประมาณ และแผนบุคลากรให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะนำข้อมูลที่ได้จากการระดมความคิดเห็นมาปรับร่างแผนฯ ดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการจัดทำแผนการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบ พร้อมนำไปจัดทำเป็นแผนหลักการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติของประเทศไทยต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO