การจัดอันดับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ฉบับที่ 12 ของกรีนพีซ: บริษัทผู้ผลิตกลับคำเรื่องการลดใช้สารพิษในผลิตภัณฑ์

ศุกร์ ๐๓ กรกฎาคม ๒๐๐๙ ๐๙:๐๗
ฮิวเล็ตต์-แพคการ์ด เดล และเลอโนโว ถูกลดคะแนนเนื่องจากไม่ทำตามข้อตกลงที่จะลดสารพิษอันตรายในผลิตภัณฑ์

คู่มือการจัดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ฉบับล่าสุดของกรีนพีซ (1) ระบุสามบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ฮิวเล็ตต์-แพคการ์ด เดล และเลอโนโว ยังคงไม่สามารถเพิ่มคะแนนจากการจัดอันดับครั้งก่อน เนื่องจากผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 รายนี้ไม่ปฏิบัติตามคำมั่นอย่างแท้จริงที่เคยให้ไว้ว่าจะทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนปราศจากพลาสติกพีวีซี (PVC) และสารหน่วงไฟประเภทโบรมีน (Brominated Flame Retardants-BFRs) ให้ได้ภายในปีนี้ (2)

เอชพี ได้รับเสียงเตือนจากภาคประชาชนให้ลดการใช้สารพิษในผลิตภัณฑ์ โดยนักกิจกรรมของกรีนพีซได้ส่งซากคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคที่มีสารเคมีอันตรายเป็นส่วนประกอบ ไปยังสำนักงานใหญ่ของบริษัทเอชพีที่ประเทศจีนวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา และเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม นักกิจกรรมกรีนพีซได้นำรูปภาพปัญหามลพิษในเอเชียและแอฟริกาที่เกิดจากสารพิษจากซากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เมื่อนำไปทิ้ง รีไซเคิล หรือกำจัดทำลาย ไปจัดแสดงหน้าสำนักงานใหญ่ของเอชพีที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ กรีนพีซจะจับตามองและพยายามกดดันเอชพีต่อไป รวมถึงผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายอื่นๆให้ปฏิบัติตามคำมั่นในการลดสารพิษในผลิตภัณฑ์ของตนให้ได้มากที่สุด

“กรีนพีซให้ความสำคัญกับการให้คำมั่นของผู้ผลิตแต่ละราย และถือว่าแต่ละบริษัทควรแสดงความรับผิดชอบต่อคำมั่นสัญญานั้น โดยที่ไม่กลับคำ หรืออ้างเหตุผลว่าไม่สามารถยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายอย่างพีวีซี และสารหน่วงไฟประเภทโบรมีน (BFRs) ในคอมพิวเตอร์ได้ในขณะนี้” นายทอม ดาวแดล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซสากลกล่าว

เอชพีถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 14 ซึ่งถอยห่างแบรนด์คอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่พัฒนาไปไกล เนื่องจากเอชพีได้ผิดคำมั่นที่จะยุติการใช้สารพีวีซีและสารหน่วงไฟประเภทโบรมีน (BFRs) ในผลิตภัณฑ์ประเภทคอมพิวเตอร์ (ยกเว้นผลิตภัณฑ์จำพวกเซอร์เวอร์และปริ้นท์เตอร์) โดยเลื่อนจากปี 2552 ไปเป็นปี 2554 แม้แต่ปัจจุบันเอชพียังไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ลดปริมาณการใช้สารเคมีอันตรายเหล่านี้ในท้องตลาด (3)

แอลจีอี โตชิบา และโมโตโรล่า ขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 4, 5 และ 6 ตามลำดับ โซนี ตกจากอันดับที่ 5 เป็นอันดับที่ 12 เนื่องจากยังล้าหลังบริษัทอื่นๆในเรื่องการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ เลอโนโวยังคงรั้งท้ายเนื่องจากยังไม่มีคำมั่นสัญญาที่แน่นอนในการยุติการสารเคมีอันตรายอย่างถาวรในทุกผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของแอปเปิ้ลที่เพิ่งออกมาล่าสุดก็ปราศจากพีวีซีและสารหน่วงไฟประเภทโบรมีน (BFRs) แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการยุติการใช้สารเคมีอันตรายประเภทดังกล่าวมีความเป็นไปได้และมีทางเลือกอื่นๆ ที่จะทำได้ (4) เช่นเดียวกันกับ เดล เลอโนโว และเอเซอร์ ได้นำหน้าเอชพีในการมีผลิตภัณฑ์บางรุ่นที่ปราศจากหรือใช้พีวีซีและสารหน่วงไฟประเภทโบรมีนในปริมาณน้อยขายในท้องตลาด นอกจากนี้ เดลยังได้แข่งกับแอปเปิ้ลในการประกาศว่าตนเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในขณะนี้ (5)

“เป็นเรื่องน่าขันที่บางผู้ผลิต เช่น เดล ยังคงหมกมุ่นอยู่กับการโฆษณาสู้กับแอปเปิ้ล ขณะที่แอปเปิ้ลได้เน้นพัฒนาการลดใช้สารเคมีอันตรายในผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง ทั้งนี้ ผู้ผลิตรายอื่นๆควรทุ่มเทไปยังการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้แซงหน้าแอปเปิ้ลในประเด็นด้านการลดใช้สารเคมีอันตรายมากกว่าเน้นการโฆษณา” นายดาวแดลกล่าว

กรีนพีซเรียกร้องให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดปริมาณการใช้สารหน่วงไฟประเภทโบรมีน (BFRs) และพีวีซีในทุกผลิตภัณฑ์ เนื่องจากสารเคมีดังกล่าวเป็นสารพิษซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงการกำจัดทำลาย การยุติการใช้สารเคมีอันตรายจะทำให้สามารถรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ได้อย่างปลอดภัย

หมายเหตุ

1. การจัดอันดับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สีเขียวฉบับที่ 12 สามารถศึกษาได้ที่http://www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports

2. พีวีซี (PVC) สามารถปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบในระดับสูงต่อสิ่งมีชีวิต การปนเปื้อนสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่กระบวนการผลิต การใช้ผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการกำจัด ซึ่งเมื่อพีวีซีโดนความร้อน จะเปลี่ยนรูปเป็นไดออกซิน (Dioxin) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่รุนแรงที่สุด สารหน่วงไฟประเภทโบรมีน (BFRs) ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและสะสมในสิ่งแวดล้อมรวมถึงสิ่งมีชีวิตอย่างสัตว์และมนุษย์ และสามารถกระจายออกจากผลิตภัณฑ์ได้ในระหว่างการใช้งาน ส่งผลให้ตกค้างอยู่ในฝุ่นละอองทั่วไป ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์ หลังจากการเพิ่มขึ้นของขยะอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พบว่ามีคนงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการกำจัดทำลายหรือรีไซเคิลต้องประสบปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการยุติการใช้สารพิษอันตราย จึงเป็นทางออกของปัญหาที่ต้นเหตุ นอกจากนี้ยังทำให้การรีไซเคิลสามารถทำได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

http://www.greenpeace.org/international/campaigns/toxics/electronics/what-s-in-electronic-devices/bfr-pvc-toxic

3. http://www.hp.com/hpinfo/globalcitizenship/environment/productdesign/materialuse.html

“เนื่องจากยังมีทางเลือกที่สามารถทำได้ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพหรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และไม่ส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เราจึงจะยุติการใช้สารหน่วงไฟประเภทโบรมีน(BFRs) และพีวีซี ในผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ภายในปี 2554”

4. http://www.apple.com/environment/

5. http://greeninc.blogs.nytimes.com/2009/06/19/dell-calls-green-macbook-ads-misleading/

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ

ทอม ดาวแดล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซสากล โทร +31 (0) 6212 96892

พลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โทร 081-658-9432

วิริยา กิ่งวัชระพงศ์ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน โทร 089-487-0678

www.greenpeace.or.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version