ผลสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของผู้บริหาร นักธุรกิจอุตสาหกรรม นักศึกษาและประชาชนโดยทั่วไปต่อการพัฒนารัฐวิสาหกิจ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจและนโยบายรัฐวิสาหกิจ

พฤหัส ๑๖ กรกฎาคม ๒๐๐๙ ๑๔:๓๓
ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ได้แถลงถึง ผลสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของผู้บริหาร นักธุรกิจอุตสาหกรรม นักศึกษาและประชาชนโดยทั่วไปต่อการพัฒนารัฐวิสาหกิจ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจและนโยบายรัฐวิสาหกิจ ว่า การสำรวจความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวทำขึ้นระหว่างวันที่ 9 ก.ค. — 15 ก.ค. 52 หลังการชุมนุมหยุดงานประท้วงของสหภาพการรถไฟแห่งประเทศไทยต่อการปรับโครงสร้าง รฟท หลังการเรียกร้องค่าครองชีพของพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยทำการสุ่มตัวอย่างประชากรจำนวน 1,402 คน เป็นชาย 686 คน (48.93%) เป็นหญิง 716 (51.07%)

จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามพบว่า บุคคลที่มีระดับรายได้สูง มีสถานภาพการทำงานที่ดี และ มีการศึกษาสูง มีแนวโน้มสนับสนุนให้มีการปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ แปรรูปและปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ยังมีบุคคลจำนวนไม่น้อยยังคงมองว่า การแปรรูป คือ การขายสมบัติของชาติ โดยไม่ได้เข้าใจความหมายที่แท้จริง นอกจากนี้ ยังมีการเข้าใจสับสนและให้คำนิยาม การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ

คนจำนวนไม่น้อยยังไม่มั่นใจว่า กระบวนการพัฒนารัฐวิสาหกิจจะดำเนินการด้วยความโปร่งใสและยึดหลักธรรมภิบาล ขณะที่ประชากรจำนวนไม่น้อยเช่นเดียวกันมั่นใจอย่างมีเงื่อนไขว่า สามารถพัฒนารัฐวิสาหกิจให้ดีขึ้นได้ แปรรูปโดยผลประโยชน์ตกกับคนส่วนใหญ่ ประเทศชาติ รัฐวิสาหกิจนั้นๆรวมทั้งพนักงาน แต่เป็นการมีความมั่นใจอย่างมีเงื่อนไข คือ มีรัฐบาลที่ดีโปร่งใส มีรัฐมนตรีคลังและรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงที่ยึดถือผลประโยชน์ของส่วนรวมและมีวิสัยทัศน์ พนักงานและสหภาพแรงงานมีเหตุมีผล มีคุณภาพและเข้มแข็ง รวมทั้ง คุณภาพของคณะกรรมการ (บอร์ด) และผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจนั้นๆด้วย เป็นต้น

ดร. อนุสรณ์ ได้แถลงผลว่า

จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 1,402 คน

เพศชาย 686 คน คิดเป็น 48.63%

เพศหญิง 716 คน คิดเป็น 51.07%

สรุปผลสำรวจสถานการณ์รัฐวิสาหกิจ

1. ท่านเข้าใจความหมายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างไร

- ขายรัฐวิสาหกิจ 10.06%

- ให้สัมปทานแก่เอกชนเข้าร่วมพัฒนา 15.55%

- ตั้งเป็นบริษัทลูกขึ้นมาใหม่ 1.64%

- นำเข้าจดทะเบียนในตลาดฯ 13.41%

2. ท่านคิดว่าแนวทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจควรจะทำอย่างไร

- แปรรูป 16.69%

- ปฏิรูปโดยไม่ต้องแปรรูป 14.55%

- แปรรูปและปฏิรูป 37.16%

- ปรับปรุงประสิทธิภาพ 31.60%

3. ท่านคิดว่าสาเหตุใดที่ทำให้รัฐวิสาหกิจไทยขาดทุน

- สิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานและกรรมการมากเกินไป 10.84%

- การบริหารงานไร้ประสิทธิภาพ 27.10%

- ทุจริตคอร์รัปชั่น 37.16๔

- นักการเมืองแทรกแซง 24.89%

4. ท่านคิดว่ารัฐวิสาหกิจใดบ้างที่ขาดทุนมาก 3 อันดับแรก

- ขสมก 44.79%

- การบินไทย 36.16%

- องค์การโทรศัพท์ 9.27%

5. แนวทางในการพัฒนารัฐวิสาหกิจที่ขาดทุน ควรทำอย่างไร

- ขายรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 9.49%

- ให้สัมปทานแก่เอกชนเข้าร่วมพัฒนา 45.51%

- ตั้งเป็นบริษัทลูกขึ้นมาใหม่ 23.82%

- ขายรัฐวิสาหกิจบางส่วน 17.62%

6. ท่านคิดว่ารัฐวิสาหกิจใดบริการดีที่สุดและมีความโปร่งใสมากที่สุด (ระบุ 3 อันดับแรก)

กฟผ = 34.88% ปตท = 26.68% อื่นๆ = 32.67%

7. ท่านคิดว่ารัฐวิสาหกิจใดต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพมากที่สุด (ระบุ 3 อันดับแรก)

รฟท = 48.79% ขสมก = 24.11% อื่นๆ = 25.46%

8. ท่านคิดว่ารัฐวิสาหกิจที่มีการแปรรูปแล้วให้บริการดีหรือไม่

พอใช้ = 33.59% ดีขึ้น = 21.18% เล็กน้อย = 11.63% ไม่แน่ใจ = 15.12%

9. ท่านคิดว่ารัฐวิสาหกิจใดมีภาพลักษณ์ว่าทุจริตมากที่สุด (ระบุ 3 อันดับแรก)

องค์การคลังสินค้า = 27.10%

การท่าอากาศยาน = 21.40%

รฟท = 19.90%

10. ท่านคิดว่าเราควรมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มีกำไรหรือไม่

ควร = 61.13% ไม่ควร = 38.87%

11. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนทั่วไปหรือไม่

ไม่มี = 13.77% มีผลกระทบ = 68.76%

12. ท่านคิดว่าก่อนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่งผลกระทบต่อพนักงานในรัฐวิสาหกิจหรือไม่

ไม่มี = 18.54% มีผลกระทบ = 81.46%

13. ท่านคิดว่าก่อนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ควรมีการทำประชามติหรือไม่

ควร = 58.92% ไม่ควร = 33.95%

14. ท่านคิดว่ารัฐวิสาหกิจที่มีลักษณะเป็นธุรกิจผูกขาดควรมีการแปรรูปหรือไม่

ไม่ควร = 39.51% ควร = 32.24% ไม่แน่ใจ = 28.25%

ดร. อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า การปฏิรูปและผ่าตัดนี้ ต้องตั้งมั่นอยู่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม ไม่ใช่ช่องทางของการหาประโยชน์ส่วนตนจากการแอบอ้างว่า ต้องมีการเปลี่ยนแปลง

ปัญหาเชิงโครงสร้างไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง หรือ สังคม ต้องอาศัยบทบาทภาครัฐเข้ามาจัดการ

ปัญหาเชิงโครงสร้างต้องอาศัยอำนาจการเมืองอาศัยรัฐบาลแน่นอน หากใช้กลไกตลาดปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจะใช้เวลายาวนาน ผู้คนที่เดือดร้อนจะทนไม่ไหว

นโยบายสาธารณะที่มุ่งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รัฐวิสาหกิจ สังคม ระบบราชการเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นในเบื้องต้น

ขณะที่การก่อหนี้สาธารณะเพื่อนำมาชดเชยงบประมาณขาดดุลมีความจำเป็นสำหรับสถานการณ์เฉพาะหน้า แต่อาจสร้างปัญหาฐานะการคลังในอีก ๓-๔ ปีข้างหน้าได้

การเก็บภาษีเพิ่ม หรือ ลดการใช้จ่าย ไม่อาจกระทำได้ในภาวะที่เศรษฐกิจหดตัวเช่นนี้

หันมาดูแหล่งรายได้สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง ก็คือ ผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจบางแห่งก็พอช่วยบรรเทาปัญหาลงได้บ้าง รายได้โดยรวมของรัฐวิสาหกิจเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ อยู่ที่ ๓.๐๕ ล้านล้านบาท

ด้วยขนาดของมูลค่าทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินทั้งระบบอยู่ที่ ๓.๒๘๘ ล้านล้านบาท มูลค่าทรัพย์สินของกลุ่มสถาบันการเงินรัฐวิสาหกิจอยู่ที่ ๓.๓๓ ล้านล้านบาท

ด้วยมูลค่าทรัพย์สินระดับนี้ รายได้เข้ารัฐจึงควรดีกว่านี้มาก หากเราเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน เพิ่มธรรมาภิบาล และ ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจครั้งใหญ่ ซึ่งอาจจะแปรรูปหรือไม่แปรรูปก็ได้

ผลการสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นประชาชนครั้งนี้เป็นการตอกย้ำและสะท้อนอย่างชัดเจนว่า คนส่วนใหญ่ต้องการการเปลี่ยนแปลง ต้องการการปฏิรูป รวมทั้งต้องการให้เกิดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่จำเป็นต้องทำเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมและประชาชนผู้ใช้บริการ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

คณะเศรษฐศาสตร์ และศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต

โทรศัพท์ 02-997-2222 ต่อ 1238, 1239 และ 1251 ติดต่อ คุณนุชนารถ, คุณอุไร, คุณจุฑาทิพ

www.rsu.ac.th/eco

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version