กรุงเทพมหานครร่วมกับไมโครซอฟท์กระจายการเรียนรู้สู่นักเรียน ในโครงการด้านการศึกษา “Microsoft Education Alliance”

ศุกร์ ๑๗ กรกฎาคม ๒๐๐๙ ๐๙:๔๒
นำเสนอ “Microsoft MultiPoint” ซอฟต์แวร์มหัศจรรย์เพื่อการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม และ “Microsoft Accessibility” ลดช่องว่างการเรียนรู้สำหรับนักเรียนพิการ เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาใน 435 โรงเรียนทั่วกรุงเทพฯ

กรุงเทพมหานครฯ ร่วมกับบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามในบันทึกความร่วมมือในโครงการ “Microsoft Education Alliance” เพื่อความร่วมมือด้านการศึกษา ขยายโอกาสการเรียนรู้อย่างไม่มีขีดจำกัดสำหรับครูและนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 435 แห่ง โดยการนำเทคโนโลยีมาบูรณาการเข้ากับการศึกษา ได้แก่ โปรแกรม Microsoft MultiPoint และโปรแกรม Microsoft Accessibility พร้อมนำร่องเปิดอบรมครูในการใช้สื่อการเรียนรู้ในเดือนกันยายนศกนี้

ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครฯ กล่าวว่า “กรุงเทพมหานครฯ มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยเราพยายามที่จะจัดสรรให้ประชาชนและชุมชนได้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งความรู้และข้อมูลให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในส่วนของการศึกษาในระบบนั้น เราเน้นในเรื่องของการพัฒนาในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน การจัดระบบการศึกษา การพัฒนาครูและนักเรียน รวมไปถึงการนำสื่อการสอนรูปแบบใหม่มาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในเรื่องการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสร้างความกระตือรือร้นด้านการศึกษาของครูและนักเรียน ในฐานะที่ไมโครซอฟท์เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี กรุงเทพมหานครฯ จึงมองเห็นว่าไมโครซอฟท์จะสามารถนำความเชี่ยวชาญมาสนับสนุนในส่วนนี้ได้ จึงร่วมลงนามในโครงการ “Education Alliance” ในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพทางการศึกษาให้กับครูและนักเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครฯ โดยความร่วมมือดังกล่าว จะมีการนำเทคโนโลยีที่น่าสนใจของไมโครซอฟท์มาใช้กับการศึกษา ได้แก่ การนำ Microsoft MultiPoint มาพัฒนาการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียนสำหรับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครฯ เป็นครั้งแรก โดยนำมาบูรณาการกับการเรียนการสอนใน 8 กลุ่มสาระวิชา อาทิ วิชาคณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้นำหลักสูตร Microsoft Accessibility มาใช้ เพื่อขยายโอกาสการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกันทั้งครู นักเรียนปรกติ และนักเรียนพิเศษในโรงเรียนเรียนเด็กพิการร่วม สังกัดกรุงเทพมหานครฯ ซึ่งที่ผ่านมานักเรียนพิเศษ เช่น นักเรียนที่พิการทางสายตา พิการทางร่างกายอื่นๆ อาจจะไม่ได้รับความเท่าเทียมกันในการเรียนรู้ แต่ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนามากขึ้น การเรียนรู้ หรือการฝึกทักษะต่างๆ ก็ควรเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อีกทั้ง เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์อย่างทั่วถึง”

นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ไมโครซอฟท์ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาพัฒนาการศึกษา เนื่องจากการศึกษาคือรากฐานของการพัฒนาด้านอื่นๆ และเทคโนโลยีสามารถสร้างโอกาสและขยายผลการเรียนรู้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด เราจึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และนำเทคโนโลยีเข้าไปสนับสนุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายใน ด้านการปฏิรูปการศึกษา หรือ Transforming Education โดยมุ่งส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับการเรียนการสอน ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่ได้ผลยิ่งขึ้น มีการแบ่งปันประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีระหว่างชุมชนครูและนักเรียน นอกจากนี้ ยังเน้นในเรื่องของการขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังผู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษาและชุมชนผ่านศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี ซึ่งการนำเทคโนโลยีไปเอื้อให้เกิดการเรียนรู้เหล่านี้ จะต่อยอดไปยัง เป้าหมายอื่นๆ ได้แก่ การรู้จักใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ การพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมขั้นสูงให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนแข็งแกร่ง และสามารถสร้างงานสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งความร่วมมือกับกรุงเทพมหานครฯ ในครั้งนี้เป็นการขยายผลไปยังครูและนักเรียนในโรงเรียนภายใต้สังกัดกรุงเทพมหานครถึง 435 โรงเรียน ในฐานะที่เป็นผู้นำและที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยี ไมโครซอฟท์พร้อมที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการพัฒนา และยกระดับการศึกษาไทยให้ก้าวหน้าเพราะการศึกษาเปรียบเสมือนต้นน้ำของระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน ประเทศที่การศึกษาได้รับการพัฒนานั้นมักจะมีระบบเศรษฐกิจที่เจริญมั่นคง หากวันนี้เราสามารถนำเทคโนโลยีมายกระดับการศึกษาในประเทศได้ เราจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับนานาชาติและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างแน่นอน”

สำหรับการสนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการศึกษาในโครงการความร่วมมือ Microsoft Education Alliance ประกอบด้วย

1. Microsoft MultiPoint Program

โปรแกรมดังกล่าวพัฒนาโดยแผนกวิจัยของไมโครซอฟท์ ที่มีจุดประสงค์เพื่อขยายโอกาสในการเรียนรู้เทคโนโลยีแก่ผู้ที่มีข้อจำกัด โปรแกรมไมโครซอฟท์มัลติพอยท์ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องสามารถรองรับการใช้งานของนักเรียนได้จำนวน 3-50 คนพร้อมๆ กัน โดยนักเรียนแต่ละคนสามารถใช้เม้าส์ของตัวเองควบคุมเคอร์เซอร์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษบนหน้าจอและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันทั้งหมด โปรแกรมนี้ไม่เพียงแต่ให้ทางออกสำหรับข้อจำกัดด้านงบประมาณ แต่ยังสร้างประสบการณ์เรียนรู้ที่สร้างสรรค์และเน้นการส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วม และสามารถดึงความสนใจของนักเรียนทุกคนได้โดยไม่จำกัดโอกาสใช้คอมพิวเตอร์อยู่ที่นักเรียนคนใดคนหนึ่งเท่านั้น โครงการที่พัฒนาขึ้นจากศูนย์วิจัยของไมโครซอฟท์นี้ ได้นำร่องในประเทศไทยเป็นประเทศแรก และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ปัจจุบัน มีการใช้งานโปรแกรมนี้ใน 500 โรงเรียนทั่วประเทศ และหลังจากวันนี้จะมีโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครอีก 435 โรงเรียนใช้งานโปรแกรม Microsoft MultiPoint ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ ให้ทั่วถึงยิ่งขึ้นไปอีก

2. Microsoft ICT Accessibility

หลักสูตรที่แนะนำโปรแกรมสนับสนุนการใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับผู้พิการที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหวหรือ การมองเห็น โดยจะสนับสนุนการทำงานของพวกเขาเหล่านั้น ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะว่าต้องเป็นผู้พิการทางสายตา หรือร่างกายเท่านั้น สำหรับผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ หรือบกพร่องทางด้านสายตา หรืออาจจะแขนหักก็สามารถเรียนรู้ที่จะใช้โปรแกรมนี้ช่วยในการทำงานหรือสื่อสารกับผู้อื่นได้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้พิการที่มีปัญหาทางสายตาหรือ ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวได้มีโอกาสใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป และลดช่องว่างในการเรียนรู้

สำหรับการนำเทคโนโลยีด้านการศึกษาไปสนับสนุนการเรียนการสอนนั้น จะมีการจัดฝึกอบรมครูในการใช้โปรแกรม Microsoft MulitPoint ให้กับครูสังกัดกรุงเทพมหานครฯ ในระดับประถมศึกษาทั้งหมด 435 โรงเรียน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 145 โรงเรียน เริ่มอบรมรอบแรกในวันที่ 10-11 กันยายน 2552 รอบที่ 2 ในวันที่ 15-16 กันยายน และรอบที่ 3 ในวันที่ 17-18 กันยายน 2552

ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์

บริษัท ไมโครซอฟท์ (Nasdaq “MSFT”) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2518 เป็นผู้นำระดับโลกด้านบริการซอฟต์แวร์ และโซลูชั่นที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของผู้ใช้และองค์กรธุรกิจ

บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2536 บริษัทฯ เสนอซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลกที่ใช้งานง่ายและเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้คนไทย ตลอดจนแพลตฟอร์มที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจพัฒนาโซลูชั่นที่ตรงตามความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถรองรับได้ตั้งแต่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คไปจนถึงเครื่องขนาดใหญ่ระดับเมนเฟรม เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) http://www.microsoft.com/thailand.

ไมโครซอฟท์เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ ไมโครซอฟท์ คอร์ป ประเทศสหรัฐอเมริกา และ/หรือ ประเทศอื่นๆ ชื่อบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวถึงในเอกสารชุดนี้อาจจะเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของนั้นๆ

หมายเหตุ: หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไมโครซอฟท์ สามารถดูได้ที่ http://www.microsoft.com/presspass/ ในส่วนของหน้าข้อมูลบริษัท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

คุณศุภาดา ชัยวงษ์

ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย

โทรศัพท์: 0-2627-3501 ต่อ 209

โทรสาร: 0-2627-3510

Email: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version